แผนการสอนปฏิบัตินาฏศิลป์ไทย


ฟ้อนเงี้ยว

    นี่เป็นตัวอย่างที่เราเขียนในการใช้แผนการสอนปฏิบัตินาฏศิลป์ไทย ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕

หน่วยที่ ๒ การแสดงนาฏศิลป์ไทย

สาระการเรียนรู้ที่ ๑           ฟ้อน

จุดประสงค์การเรียนรู้

     ๑. นักเรียนสามารถอธิบายที่มาของการแสดงเพลงฟ้อนเงี้ยวได้ (มฐ.ศ ๓.๑.๕)

     ๒. นักเรียนสามารถปฏิบัติการแสดงนาฏศิลป์ไทยในชุดการแสดงฟ้อนเงี้ยวได้  (มฐ.ศ ๓.๑.๓)

การจัดกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้

ชั่วโมงที่ ๑

     ๑.  ครูนำบัตรคำ  ฟ้อนเงี้ยว  มาติดไว้บนกระดาน แล้วใช้คำถามเพื่อให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นดังนี้

      * นักเรียนเคยชมการแสดงฟ้อนเงี้ยวหรือไม่ (เคย/ไม่เคย)

      * นักเรียนรู้สึกอย่างไรเมื่อได้ชมการแสดงฟ้อนเงี้ยว(ตัวอย่างคำตอบ มีความสุข)

      * นักเรียนต้องการฝึกฟ้อนเงี้ยวหรือไม่ (ต้องการ/ไม่ต้องการ)

     ๒. ครูให้นักเรียนศึกษาประวัติความเป็นมา  การแต่งกาย  และเนื้อร้องในเพลงฟ้อนเงี้ยว  จากสื่อการสอนโปรแกรม PowerPoint จากนั้นครูให้นักเรียนบันทึกความรู้ลงสมุด

     ๓. ครูเปิดแถบบันทึกภาพเพลงฟ้อนเงี้ยว ให้นักเรียนดู แล้วให้นักเรียนสังเกตท่ารำประกอบ

     ๔. ครูนำแผนภูมิเพลงฟ้อนเงี้ยว มาติดไว้บนกระดาน แล้วให้นักเรียนอ่านพร้อมกัน ๑ รอบ

     ๕. ครูเปิดเพลงฟ้อนเงี้ยว ให้นักเรียนฟัง ๑ รอบ จากนั้นครูฝึกให้นักเรียนร้องเพลงฟ้อนเงี้ยว ทีละท่อนจนจบเพลง และทุกคนสามารถร้องได้ถูกต้องพร้อมเพรียงกัน

     ๖. ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็น ๖ กลุ่ม แล้วให้นักเรียนแต่ละกลุ่มไปฝึกร้องเพลงฟ้อนเงี้ยว จนสามารถร้องได้อย่างถูกต้องและพร้อมเพรียงกัน โดยมีครูคอยให้คำแนะนำ

     ๗. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปและทบทวนพร้อมกัน

 ชั่วโมงที่ ๒

     ๑. ครูให้นักเรียนทบทวนการร้องเพลงฟ้อนเงี้ยว พร้อมกัน

     ๒. ครูอธิบายและสาธิตท่ารำประกอบเพลงฟ้อนเงี้ยว ท่อน ๑ (ตามใบความรู้ที่ ๑) ให้นักเรียนดูทีละท่า และให้นักเรียนฝึกปฏิบัติตามให้ถูกต้อง

     ๓. ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็น ๖ กลุ่ม (กลุ่มเดิม) แล้วให้นักเรียนแต่ละกลุ่มไปฝึกปฏิบัติท่ารำประกอบเพลงฟ้อนเงี้ยว  ท่อน ๑ จนสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้องสวยงามและพร้อมเพรียงกัน โดยมีครูคอยให้คำแนะนำ

     ๔. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปและทบทวนพร้อมกัน

ชั่วโมงที่ ๓

      ๑. ครูให้นักเรียนทบทวนท่ารำประกอบเพลงฟ้อนเงี้ยว  ท่อน ๑ พร้อมกัน

      ๒. ครูอธิบายและสาธิตท่ารำประกอบเพลงฟ้อนเงี้ยว  ท่อน ๒ (ตามใบความรูที่ ๑)ให้นักเรียนดูทีละท่า และให้นักเรียนฝึกปฏิบัติตามให้ถูกต้อง

      ๓. ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็น ๖ กลุ่ม (กลุ่มเดิม) แล้วให้นักเรียนแต่ละกลุ่มไปฝึกปฏิบัติท่ารำประกอบเพลงฟ้อนเงี้ยว ท่อน ๑ - ๒ จนสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง สวยงามและพร้อมเพรียงกัน  โดยมีครูคอยให้คำแนะนำ

      ๔. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปและทบทวนพร้อมกัน

ชั่วโมงที่ ๔

       ๑. ครูให้นักเรียนทบทวนท่ารำเพลงฟ้อนเงี้ยว พร้อมกัน

       ๒. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม  ฝึกซ้อมท่ารำเพลงฟ้อนเงี้ยว  เพื่อแสดงให้เพื่อนกลุ่มอื่นๆ ดู

       ๓. ครูให้นักเรียนนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียนทีละกลุ่มจนครบทุกกลุ่ม โดยครูบันทึกผลการนำเสนอ

       ๔. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ดังนี้ การแสดงฟ้อนเงี้ยวเป็นการแสดงนาฏศิลป์ไทยที่เป็นเอกลักษณ์แสดงถึงความเป็นไทยที่มีความงดงามและมีคุณค่าจึงเป็นสิ่งที่ควรสืบสานและอนุรักษ์ไว้ให้คนรุ่นหลังได้ชม

     หมายเหตุ    ใบความรู้ที่๑ จะประกอบไปด้วยรายละเอียดประวัติเพลงฟ้อนเงี้ยวที่เรานำเสนอให้นักเรียนดูจากโปรแกรม PowerPoint  เนื้อเพลง และการอธิบายท่ารำประกอบเพลงฟ้อนเงี้ยว

      เพื่อนท่านใดมีความคิดเห็น หรือตัวอย่างการทำแผนการสอนอื่นๆ ช่วยบอกกันบ้างนะ เพื่อพัฒนาการสอนของเราให้ดียิ่งขึ้นต่อๆไป ขอบคุณค่ะ

หมายเลขบันทึก: 393420เขียนเมื่อ 12 กันยายน 2010 11:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท