พนิดา เจริญสุขมั่งมี
พนิดา เจริญสุขมั่งมี พนิดา เจริญสุขมั่งมี

ใบงานที่ 1


เทคโนโลยี สารสนเทศ

ใบงานที่ 1

อธิบายความหมายของคำสำคัญดังต่อไปนี้ พร้อมกับยกตัวอย่าง

(ศึกษากรณีศึกษาการจัดนวัตกรรมและสารสนเทศในสถาบันการศึกษา)

 

  • การจัดการ/การบริหาร

“การจัดการ” (Management) จะเน้นการปฏิบัติการให้เป็นไปตามนโยบาย (แผนที่วางไว้) ซึ่งนิยมใช้ในการจัดการธุรกิจ (Business management) ส่วนคำว่า “ผู้จัดการ” (Manager) จะหมายถึงบุคคลในองค์กรซึ่งทำหน้าที่รับผิดชอบต่อกิจกรรมในการบริหารทรัพยากรและกิจการงานอื่นๆ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ขององค์กร

การบริหาร คือกลุ่มของกิจกรรม ประกอบด้วย การวางแผน (Planning) การจัดองค์กร (Organizing) การสั่งการ (Leading/Directing) หรือการอำนวย และการควบคุม (Controlling) ซึ่งจะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับทรัพยากรขององค์กร (6 M’s) เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์และด้วยจุดมุ่งหมายสำคัญในการบรรลุความสำเร็จตามเป้าหมายขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลครบถ้วน

การบริหารจัดการ  คือ ความสามารถในการบริหารกระบวนการ (Process) อย่างเป็นระบบ เป็นการกำหนดเป้าหมายและทิศทางการจัดการขององค์กรนั้น ซึ่งต้องมีการวางแผน กำหนดการ และจัดการทรัพยากรภายในองค์กร เพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ ขององค์กรนั้นๆ อย่างประสิทธิภาพและประสิทธิผล   หมายถึงการตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง (Right decision) และมีการปฏิบัติการสำเร็จตามแผนที่กำหนดไว้ ดังนั้นผลสำเร็จของการบริหารจัดการจึงจำเป็นต้องมีทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผล ควบคู่กัน

ในอีกแนวหนึ่งอาจกล่าวได้ว่าการบริหารจัดการ หมายถึง กระบวนการของการมุ่งสู่เป้าหมายขององค์กรจากการทำงานร่วมกัน โดยใช้บุคคลและทรัพยากรอื่นๆ (Certo, 2000, p.555) หรือเป็นกระบวนการออกแบบและรักษาสภาพแวดล้อมที่บุคคลทำงานร่วมกันในกลุ่มให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะเป็นกระบวนการของกิจกรรมที่ต่อเนื่องและประสานงานกัน ดังนั้นจึงจำเป็นที่ผู้บริหารต้องเข้ามาช่วยเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายขององค์กร แผนภาพของระบบการบริหารมีดังนี้

 กระบวนการการบริหารจัดการ (Management Process) หมายถึง กระบวนการเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายขององค์กร ซึ่งกระบวนการการบริหารจัดการนี้สามารถแสดงให้เห็นถึงความเกี่ยวเนื่องกันได้อย่างมี ปฏิสัมพันธ์สอดคล้องและต่อเนื่อง  ซึ่งประกอบด้วย 4 กิจกรรม หลัก คือ

1) การวางแผน (Planning) เป็นสิ่งที่องค์กรต้องการเปลี่ยนแปลงในอนาคต การวางแผนเป็นสะพานเชื่อมระหว่างเหตุการณ์ปัจจุบันและอนาคตซึ่งทำได้โดยการให้บรรลุเป้าหมายผลลัพธ์ที่ต้องการ การวางแผนจึงต้องอาศัยการกำหนดกลยุทธ์ที่ประสิทธิภาพ แม้ว่าพื้นฐานของการจัดการโดยทั่วไปเป็นงานของผู้บริหารการวางแผนเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการปฏิบัติตามกลยุทธ์ให้ประสบความสำเร็จและการประเมินกลยุทธ์ เพราะว่า การจัดการองค์กร การจูงใจ การจัดบุคคลเข้าทำงาน และกิจกรรมควบคุม ขึ้นกับการวางแผน กระบวนการวางแผนจะต้องประกอบด้วยผู้บริหารและพนักงานภายในองค์กร

การวางแผนจะช่วยให้องค์กรกำหนดข้อดีจากโอกาสภายนอกและทำให้เกิดผลกระทบจากอุปสรรคภายนอกต่ำสุด โดยต้องมองเหตุการณ์ในอดีตและปัจจุบันเพื่อคาดคะเนเหตุการณ์ที่จะเกิดขั้นในอนาคต การวางแผน ประกอบด้วย การพัฒนาภารกิจ (Mission) การคาดคะเนเหตุการณ์ปัจจุบัน เหตุการณ์อนาคต และแนวโน้ม การกำหนดวัตถุประสงค์ และการเลือกกลยุทธ์ที่ใช้

การวางแผนจะช่วยให้ธุรกิจปรับตัวสู่การเปลี่ยนแปลงของตลาดและสามารถกำหนดเป้าหมายได้ การบริหารเชิงกลยุทธ์นั้นต้องการให้องค์กรติดตามในลักษณะเชิงรุก (Proactive) มากกว่าที่จะเป็นเชิงรับ (Reactive) องค์กรที่ประสบความสำเร็จจะต้องควบคุมอนาคตขององค์กรมากกว่าที่จะรอรับผลจากอิทธิพลสภาพแวดล้อมภายนอกและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น การตัดสินใจ (Decision Making) ถือเป็นส่วนหนึ่งของการวางแผน การปรับตัวเป็นสิ่งจำเป็นเพราะว่ามีการเปลี่ยนแปลงของตลาด เศรษฐกิจ และคู่แข่งขันทั่วโลก จุดเริ่มต้นของความสำเร็จที่ดีของธุรกิจคือการวางแผนที่เหมาะสม เห็นผลได้จริง ยืดหยุ่น มีประสิทธิผล และทรงประสิทธิภาพ

2) การจัดการองค์กร (Organizing) จุดมุ่งหมายของการจัดการองค์กรคือ การใช้ความพยายามทุกกรณีโดยการกำหนดงานและความสำคัญของอำนาจหน้าที่ การจัดการองค์กร หมายถึง การพิจารณาถึงสิ่งที่ต้องการทำและผู้ที่จะทำรายงานมีตัวอย่างในประวัติศาสตร์ของธุรกิจที่มีการจัดองค์กรที่ดี สามารถประสบความสำเร็จในการแข่งขันและสามารถเอาชนะคู่แข่งขันได้ ธุรกิจที่มีการจัดองค์กรที่ดีสามารถจูงใจผู้บริหารและพนักงานให้มองเห็นความสำคัญของความสำเร็จขององค์กร

การกำหนดลักษณะเฉพาะของงาน (Work Specialization) โดยการแบ่งงานประกอบด้วยงานที่กำหนดออกมาเป็นแผนก การจัดแผนก และการมอบอำนาจหน้าที่ (Delegating Authority) การแยกงานออกเป็นงานย่อยตามการพัฒนารายละเอียดของงาน (Job Description) และคุณสมบัติของงงาน (Job Specification) เครื่องมือเหล่านี้มีความชัดเจนสำหรับผู้บริหารและพนักงาน ซึ่งต้องการทราบลักษณะของงาน

การกำหนดแผนกในโครงสร้างขององค์กร (Organization Structure) ขนาดของการควบคุม (Span of Control) และสายการบังคับบัญชา (Chain of Command) การเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ต้องการการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้าง เพราะตำแหน่งใหม่ๆ ที่สร้างขึ้นหรือลดลงหรือรวมกัน โครงสร้างองค์กรจะต้องระบุถึงวิธีการใช้ทรัพยากรและวิธีการซึ่งวัตถุประสงค์มีการกำหนดขึ้นในธุรกิจ การสนับสนุนทรัพยากรและกำหนดวัตถุประสงค์ตามสภาพทางภูมิศาสตร์จะแตกต่างจากโครงสร้างด้านผลิตภัณฑ์หรือลูกค้า

รูปแบบทั่วไปของการจัดแผนกคือ ตามหน้าที่ (Functional) ตามฝ่าย (Divisional) ตามหน่วยธุรกิจเชิงกลยุทธ์ (Strategic business unit) และด้านแมททริกซ์ (Matrix)

3) การนำหรือการสั่งการ (Leading/Directing) เป็นการใช้อิทธิพลเพื่อจูงใจพนักงานให้ปฏิบัติงานและนำไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายที่ระบุไว้ หรือเป็นกระบวนการจัดการให้สมาชิกในองค์กรทำงานร่วมกันได้ด้วยวิธีการต่างๆ เพราะทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งที่ซับซ้อนและเข้าใจถ่องแท้ได้ยาก การนำหรือการสั่งการจึงต้องใช้ความสามารถหลายเรื่องควบคู่กันไป อาทิ ภาวะความเป็นผู้นำของผู้บริหาร การจูงใจ การติดต่อสื่อสารในองค์กร และการทำงานเป็นทีม เป็นต้น หน้าที่ในการนำหรือสั่งการนี้ มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าหน้าที่อื่น เพราะผู้บริหารต้องแสดงบทบาทของผู้สั่งการอย่างมีคุณภาพ ถ้าไม่เช่นนั้น แผนงานที่วางไว้ตลอดจนทรัพยากรที่จัดเตรียมไว้อาจไม่เกิดประสิทธิผล ถ้าผู้บริหารดำเนินกิจกรรมด้านการสั่งการไม่ดีพอ ดังนั้น การสั่งการจึงเป็นเรื่องของความรู้ความชำนาญ ประสบการณ์ และความสามารถที่จะชักจูงให้พนักงานร่วมกันปฏิบัติงานไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ให้องค์กรประสบความสำเร็จตามต้องการ

4) การควบคุม (Controlling) การใช้ทรัพยากรต่างๆ ขององค์กร ถือว่าเป็นกระบวนการตรวจสอบ หรือติดตามผลและประเมินการปฏิบัติงานในกิจกรรมต่างๆ ของพนักงาน เพื่อรักษาให้องค์กรดำเนินไปในทิศทางสู่เป้าหมายอย่างถูกต้องตามวัตถุประสงค์หลักขององค์กร ในเวลาที่กำหนดไว้ องค์กรหรือธุรกิจที่ประสบความล้มเหลวอาจเกิดจากการขาดการควบคุม หรือมีการควบคุมที่ไร้ประสิทธิภาพ และหลายแห่งเกิดจากความไม่ใส่ใจในเรื่องของการควบคุม ละเลยเพิกเฉย หรือในทางกลับกันคือมีการควบคุมมากจนเกิดความผิดพลาดขององค์กรเอง การควบคุมจึงเป็นหน้าที่หลักทางการบริหารที่มีความสำคัญ ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบกระบวนการทางการบริหาร

ตัวอย่างเช่น  การใช้ ICT ส่งเสริมการบริหารและการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา   ในยุคปัจจุบันเชื่อมั่นว่าหน่วยงานสถานศึกษาหลายแห่งได้นำสื่อเทคโนโลยีและ นวัตกรรมใหม่ๆเข้ามาใช้ในการบริหารจัดการและนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มากขึ้น  ได้จัดให้มีกิจกรรมการเรียนรู้   สู่โลกกว้างผ่านระบบ TV.Conference ร่วมกับสถานศึกษาในประเทศญี่ปุ่น    การใช้เว็บจัดการความรู้ของสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคมหรือที่รู้จักกันดีในนามเว็บ Gotoknow  นับได้ว่าเป็นคลังความรู้อันทรงพลังที่ผู้บริหาร ครูอาจารย์ นักการศึกษาและผู้เกี่ยวข้องสามารถจะเข้าถึงข้อมูล ข่าวสาร ผลงานและได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ ความรู้อย่างกว้างขวาง 

 

  •  นวัตกรรม

in+novare (latin) กลายเป็น+ทำให้ใหม่ 

Make changes...new  methods, ideas, or products

“นวัตกรรม” หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย

“นวัตกรรม” (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ ”การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม” แนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จากแนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรม เช่น ผลงานของ Joseph Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก นวัตกรรมยังหมายถึงความสามารถในการเรียนรู้และนำไปปฏิบัติให้เกิดผลได้จริงอีกด้วย (พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ , Xaap.com)

คำว่า “นวัตกรรม” เป็นคำที่ค่อนข้างจะใหม่ในวงการศึกษาของไทย คำนี้ เป็นศัพท์บัญญัติของคณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มาจากภาษาอังกฤษว่า Innovation มาจากคำกริยาว่า innovate แปลว่า ทำใหม่ เปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งใหม่ ในภาษาไทยเดิมใช้คำว่า “นวกรรม” ต่อมาพบว่าคำนี้มีความหมายคลาดเคลื่อน จึงเปลี่ยนมาใช้คำว่า นวัตกรรม (อ่านว่า นะ วัด ตะ กำ) หมายถึงการนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจากวิธีการที่ทำอยู่เดิม เพื่อให้ใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น ดังนั้นไม่ว่าวงการหรือกิจการใด ๆ ก็ตาม เมื่อมีการนำเอาความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงงานให้ดีขึ้นกว่าเดิมก็เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรม ของวงการนั้น ๆ เช่นในวงการศึกษานำเอามาใช้ ก็เรียกว่า “นวัตกรรมการศึกษา” (Educational Innovation) สำหรับผู้ที่กระทำ หรือนำความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ มาใช้นี้ เรียกว่าเป็น “นวัตกร” (Innovator) (boonpan edt01.htm)

 ดังนั้น นวัตกรรม คือ  การทำสิ่งต่างๆด้วยวิธีใหม่ๆ และยังอาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางความคิด การผลิต กระบวนการ หรือองค์กร ไม่ว่าการเปลี่ยนนั้นจะเกิดขึ้นจากการปฏิวัติ  การเปลี่ยนอย่างถอนรากถอนโคน หรือการพัฒนาต่อยอด ทั้งนี้ มักมีการแยกแยะความแตกต่างอย่างชัดเจน ระหว่างการประดิษฐ์คิดค้น ความคิดริเริ่ม และนวัตกรรม อันหมายถึงความคิดริเริ่มที่นำมาประยุกต์ใช้อย่างสัมฤทธิ์ผล

นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ

ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย

ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)

ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์

    ปัจจุบันมีการนำนวัตกรรมมาใช้ในสถาบันการศึกษามากมาย เรามักเรียกว่าเป็น นวัตกรรมการเรียนการสอน  คือ เป็นการใช้วิธีระบบในการปรับปรุงและคิดค้นพัฒนาวิธีสอนแบบใหม่ๆ ที่สามารถตอบสนองการเรียน รายบุคคล  การสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  การเรียนแบบมีส่วนร่วม  การเรียนรู้แบบ   แก้ปัญหาการพัฒนาวิธีสอนจำเป็นต้องอาศัยวิธีการและเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาจัดการและสนับสนุนการเรียนการสอน

ตัวอย่าง   นวัตกรรมที่ใช้ในการเรียนการสอน  ได้แก่  การสอนแบบศูนย์การเรียน การใช้กระบวนการ กลุ่มสัมพันธ์  การสอนแบบเรียนรู้ร่วมกัน  และการเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต  การวิจัยในชั้นเรียน ฯลฯ 

  •  เทคโนโลยีการศึกษา

ศาสตร์ ที่ว่าด้วยวิธีการ หรือ การใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในการแก้ปัญหาในการจัดการศึกษา   หรือการปฏิบัติทางการจัดการศึกษาอย่างเป็นระบบ ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน

เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology) ตามรูปศัพท์ เทคโน (วิธีการ) + โลยี(วิทยา) หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นเทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุมองค์ประกอบ 3 ประการ คือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ (boonpan edt01.htm) 

สภาเทคโนโลยีทางการศึกษานานาชาติได้ให้คำจำกัดความของ เทคโนโลยีทางการศึกษา ว่าเป็นการพัฒนาและประยุกต์ระบบเทคนิคและอุปกรณ์ ให้สามารถนำมาใช้ในสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม เพื่อแก้ปัญหาในการจัดการศึกษา   หรือการปฏิบัติทางการจัดการศึกษาอย่างเป็นระบบ ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน ช่วยสร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้ของคนให้ดียิ่งขึ้น  โดย(boonpan edt01.htm)

เทคโนโลยีการศึกษามีความสำคัญและมีความจำเป็นที่เด่นชัดในปัจจุบันนี้ คือ การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ มาใช้ในกระบวนการศึกษาด้วยเหตุผลสำคัญดังต่อไปนี้

1. ความเจริญอย่างรวดเร็วทางด้านวิชาการต่างๆ ของโลก วิทยาการใหม่ ๆ และสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ ได้ถูกค้นคิดประดิษฐ์ขึ้นมาใช้ในสังคมมากมายเป็นทวีคูณ ซึ่งมีผลโดยตรงต่อการเปลี่ยนแปลงและปรับตัวทางด้านหลักสูตรการเรียนการสอนของสถานศึกษา และส่งผลเป็นลูกโซ่ต่อไปถึงปัญหาการเรียนการสอน การเลือกโปรแกรมและการทำความเข้าใจกับเนื้อหาสาระใหม่ๆ ของนักเรียน ความรุนแรงและความสลับซับซ้อนของปัญหาเหล่านี้มีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปริมาณเนื้อหาวิชาการใหม่ ๆ มีมากมายเกินความสามารถของผู้เกี่ยวข้อง จะเลือกบันทึกจดจำและนำเสนอในลักษณะเดิมได้ จึงมีความจำเป็นต้องใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมกับสถานการณ์เข้ามาช่วย เช่น การเสนอข้อมูลทางวิชาการโดยเทปบันทึกเสียง เทปบันทึกภาพ ไมโครฟอร์ม และแผ่นเลเซอร์ การแนะแนวการเรียนโดยระบบคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

2. การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคม ซึ่งเป็นผลกระทบมาจากพัฒนาการทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีดังกล่าวมาแล้ว มีผลกระทบโดยตรงต่อการดำรงชีวิต การปรับตัว และพัฒนาการของนักเรียน การแนะแนวส่วนตัวและสังคมแก่นักเรียน จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมกับสถานการณ์นั้น ๆ จึงจะสามารถให้บริการครอบคลุมถึงปัญหาต่าง ๆ ได้

   3. ลักษณะสังคมสารสนเทศหรือสังคมข้อมูลข่าวสาร ซึ่งเป็นผลมาจากพัฒนาการทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีโทรคมนาคม ทำให้ข่าวสารทุกรูปแบบ คือ เสียง ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว กราฟฟิก และข้อมูลคอมพิวเตอร์สามารถถ่ายทอดและส่งถึงกันได้อย่างรวดเร็วทุกมุมโลก สังคมในปัจจุบันและอนาคตจะเป็นสังคมที่ท่วมท้นด้วยกระแสข้อมูลและข่าวสาร

ปัจจุบันมีการเรียนการสอนในโรงเรียนมีการนำคอมพิวเตอร์และเครื่องมือประกอบช่วยในการเรียนรู้มากขึ้น  เช่น วีดิทัศน์ เครื่องฉายภาพ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คอมพิวเตอร์ช่วยจัดการศึกษา จัดตารางสอน คำนวณระดับคะแนน จัดชั้นเรียน ทำรายงานเพื่อให้ผู้บริหารได้ทราบถึงปัญหาและการแก้ปัญหาในโรงเรียน 

  •  ข้อมูล

ข้อมูล  คือ  ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคน สัตว์ สิ่งของ และสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัวเรา รวมถึงการกระทำของสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นด้วย ข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ประเภท  คือ แบบช้อความหรือข้อมูลเชิงคุณภาพ  และตัวเลขคือข้อมูลเชิงปริมาณ

ข้อมูลสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาโรงเรียนได้  คือ  ทุกโรงเรียนจะมีศูนย์ข้อมูลของตนเองเพื่อรวบรวมข้อมูลหลายอย่าง เช่น ผลการสอบปลายภาค ผลการสอบระหว่างภาค ผลการสอบ O-Net, A-Net หรือ ผลการประเมินของหน่วยงานภายนอกระดับจังหวัดหรือระดับเขต แต่มีการนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ประโยชน์ในการบริหารและการเรียนการสอนน้อย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าครูไม่ตระหนักว่า โรงเรียนมีข้อมูล หรือครูขาดทักษะในการแปลความหมายข้อมูล หรือการเก็บข้อมูลบางประการใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้ คะแนนจากผลการสอบนักเรียนก็เพื่อเลื่อนชั้น แต่ไม่มีการนำมาวิเคราะห์หาจุดแข็งจุดอ่อนของนักเรียน หรือผลการสอนของครู แล้วเปลี่ยนเป็นวิธีการสอนเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านั้น ครูอาจจะขาดทักษะการเก็บรวบรวมข้อมูล หรือไม่มีบุคลากรเพียงพอที่จะเก็บข้อมูลเป็นเวลาหลายปีติดต่อกัน อย่างไรก็ตาม โรงเรียนควรจะมีคลังข้อมูลของตน เขตการศึกษาควรมีศูนย์ข้อมูลของตนรวบรวมข้อมูลทุกโรงเรียนในเขต เพื่อให้โรงเรียนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ในการเปรียบเทียบและเรียนรู้จากกันและกัน      

  •  สารสนเทศ

      สารสนเทศ  (information) เป็นผลลัพธ์ของการประมวลผล การจัดดำเนินการ ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว เช่น ข้อมูลจากการขาย ข้อมูลนักเรียน หากมีการจัดเก็บไว้อย่างเป็นระบบจะทำให้การตรวจสอบเป็นไปได้โดยง่ายและถูกต้อง แต่เมื่อไรที่นำข้อมูลมาประมวลผลจะได้ผลที่เรียกว่า “สารสนเทศ”

สารสนเทศสามารถหมายถึงคุณภาพของข้อความจากผู้ส่งไปหาผู้รับ สารสนเทศจะประกอบไปด้วย ขนาดและเหตุการณ์ของสารสนเทศนั้น สารสนเทศสามารถแทนข้อมูลที่มีความถูกต้องและความแม่นยำหรือไม่มีก็ได้ ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้งข้อเท็จจริงหรือข้อโกหกหรือเป็นเพียงเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้น สารสนเทศจะเกิดขึ้นเมื่อมีผู้ส่งข้อความและผู้รับข้อความอย่างน้อยฝ่ายละหนึ่งคนซึ่งทำให้เกิดการสื่อสารของข้อความและเข้าใจในข้อความเกิดขึ้น ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับ ความหมาย ความรู้ คำสั่ง การสื่อสาร การแสดงออก และการกระตุ้นภายใน การส่งข้อความที่มีลักษณะเป็นสารสนเทศ ในขณะเดียวกันการบกวนการสื่อสารสารสนเทศก็ถือเป็นสารสนเทศเช่นเดียวกัน 

  •  ระบบสารสนเทศ

ระบบสารสนเทศ  เป็นระบบที่มีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการรวบรวม จัดเก็บ (input) โดยมีส่วนเก็บข้อมูล (storage) ผ่านกระบวนการจัดการ (processing) กับข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลนั้น กลายเป็นสารสนเทศที่ดี สามารถนำไปใช้ในการประกอบการตัดสินใจได้ในเวลาอันรวดเร็วและถูกต้อง (output)

การนำ ระบบสารสนเทศมาใช้ในสถาบันการศึกษา  เช่น  ระบบสารสนเทศสำหรับโรงเรียนขนาดเล็กและขนาดกลาง (mySchoolMIS-Plus)  เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปประสิทธิภาพสูงที่ถูกออกแบบและพัฒนามาเพื่อสร้างระบบสารสนเทศในโรงเรียน โดยสามารถเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ประเมินผลและให้สารสนเทศสำหรับผู้บริหารโรงเรียน สามารถรองรับการประเมินคุณภาพฯ และตอบสนองยุทธศาสตร์ของ สพฐ.ได้ ด้วยข้อมูลที่ครอบคลุมอย่างรอบด้าน ทั้งในปัจจุบันและย้อนหลังถึง 5 ปี ข้อมูลสภาพแวดล้อมและแนวโน้มต่าง ๆ ผลงานดีเด่นในด้านต่าง ๆ ของนักเรียน ครูและโรงเรียน ข้อมูลกรรมการสถานศึกษาและผู้มีอุปการะคุณ ข้อมูลอาคารสถานที่ พัสดุครุภัณฑ์ แผนงาน งบประมาณ ข้อมูลประวัตินักเรียนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการอ่าน-เขียน น้ำหนักส่วนสูงและภาวะทางโภชนาการ ทุนการศึกษา ข้อมูลประวัติครูและบุคลากรทางการศึกษา สาขาวิชาที่จบ ตำแหน่งเงินเดือน วิทยะฐานะ ผลงานทางวิชาการ ความดีความชอบ ฯลฯ 

  •  ระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา

            ระบบที่มีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการรวบรวม จัดเก็บ (input) โดยมีส่วนเก็บข้อมูล (storage) ผ่านกระบวนการจัดการ (processing) กับข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลนั้น กลายเป็นสารสนเทศที่ดี สามารถ    นำไปใช้ในการประกอบการตัดสินใจได้ในเวลาอันรวดเร็วและถูกต้อง (output) เพื่อประโยชน์ในการจัด การศึกษา  ยกตัวอย่างเช่น

           1.ระบบสารสนเทศทางการศึกษาสำหรับสถานศึกษา  (EIS1)  เป็นระบบสำหรับกรอกข้อมูลของสถานศึกษาทุกสังกัดตามแบบ รศ.รค. เพื่อประมวลผลส่งให้กับหน่วยงานระดับสูงขึ้นไป

2.ระบบบริหารสถานศึกษา  (EIS2) เป็นระบบที่ใช้ในงานบริหารของสถานศึกษา             

 3.ระบบสารสนเทศทางการศึกษาสำหรับหน่วยงานระดับอำเภอ  (EIS3)  เป็นระบบสำหรับกรอกข้อมูลของอำเภอตามแบบ รศภ. เพื่อประมวลผลส่งให้กับหน่วยงานระดับสูงขึ้นไป              

4.ระบบสารสนเทศทางการศึกษาสำหรับหน่วยงานระดับจังหวัด  (EIS4)  เป็นระบบสำหรับรวบรวมข้อมูลสารสนเทศของอำเภอที่อยู่ในจังหวัดนั้นๆ และประมวลผลข้อมูลเพื่อส่งต่อให้กับหน่วยงานเขตและกระทรวงศึกษาธิการ               

5.ระบบสารสนเทศทางการศึกษาสำหรับหน่วยงานระดับเขตการศึกษา  (EIS5)  เป็นระบบสำหรับรวบรวมข้อมูลสารสนเทศของจังหวัดที่อยู่ในเขตการศึกษานั้นๆ และประมวลผลข้อมูลเพื่อส่งต่อให้กับกระทรวงศึกษาธิการ               

6.ระบบสารสนเทศทางการศึกษาสำหรับหน่วยงานระดับกระทรวงศึกษาธิการ  (EIS6)  เป็นระบบสำหรับรวบรวมข้อมูลสารสนเทศของจังหวัด และประมวลผลข้อมูลในภาพรวมของกระทรวงศึกษาธิการ

7.ระบบประมวลผลข้อมูล  (EIS7)  เป็นระบบสำหรับประมวลผลข้อมูลสารสนเทศของกระทรวงศึกษาธิการเพื่อเผยแพร่ออกสู่ Homepage MOENet 

  •  การสื่อสาร

            การสื่อสาร  คือ  การแลกเปลี่ยนข้อมูล และสารสนเทศในแบบต่าง ๆ  โดยผ่านช่องทางสื่อสาร เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกันการอยู่ร่วมกับคนอื่น เราจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ทั้งทางกายภาพ เช่น การแบ่งเบาภาระงาน ซึ่งช่วยให้เราใช้แรงน้อยลง และการเกื้อกูลกันทางจินตภาพ การอยู่ร่วมกันในสังคม ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ ย่อมทำให้เกิดความรู้สึกอบอุ่นใจ สนุกสนาน รู้สึกปลอดภัย โดยเฉพาะในปัจจุบัน ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นยุคโลกาภิวัตน์ เป็นยุคข้อมูลข่าวสาร โลกไม่มีพรมแดนขีดกั้น โดยมีเครื่องมือสื่อสารที่ทันสมัยรับส่งข่าวสารได้อย่างรวดเร็วผู้มีข้อมูลข่าวสารกว้างไกลย่อมได้เปรียบ ในทุกๆด้าน มนุษย์ในยุคโลกไร้พรมแดนจึงต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถทางภาษา และการสื่อสารที่ดี 

  •  เครือข่าย

       เครือข่าย หรือที่มักเรียกติดปากว่า เน็ตเวิร์ก (network) ก็คือ กลุ่มของคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สื่อสารชนิดต่าง ๆ ที่นำมาเชื่อมต่อกันเพื่อให้ผู้ใช้ในเครือข่าย สามารถติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูล และใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ร่วมกันในเครือข่ายได้ ตัวอย่างของเครือข่ายที่เราคุ้นเคย ได้แก่ เครือข่ายของโทรศัพท์ เครือข่ายดาวเทียม เครือข่ายวิทยุ หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยช่องทางที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกัน เรียกว่า ช่องสัญญาณ (communication channel) การเชื่อมต่อเครือข่ายโดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ / คอมพิวเตอร์ จึงมีประโยชน์เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสาร หรือถ่ายโอนข้อมูล เป็นสำคัญ โดยการสร้างระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (computer network) ก็คือการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป มาเชื่อมต่อกันด้วยสายเคเบิล โดยมี Adapter Card และ Software ช่วยในการทำงานของระบบเครือข่าย ปัจจุบันขนาดของเครือข่ายมีตั้งแต่ขนาดเล็กที่เชื่อมต่อกันด้วยคอมพิวเตอร์เพียงสองสามเครื่อง เพื่อใช้งานในบ้านหรือในบริษัทเล็ก ๆ ไปจนถึงเครือข่ายระดับโลกที่ครอบคลุมไปเกือบทุกประเทศ ปัจจุบันเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดก็คือ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ปัจจุบันมีการนำความรู้เกี่ยวกับเรื่องเครือข่ายในมาใช้ในการศึกษา คือ  Classnet   เป็นการใช้ความรู้เรื่องเครือข่ายในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ โดย เฉพาะเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีหลักการ ดังนี้ เน้น “ผู้เรียน” และ “การเรียน” มากกว่าผู้สอนและการสอน โดยผู้สอนมีบทบาทเป็นผู้อำนวยความสะดวก(Facilitator) และ ผู้นำร่องความรู้(Knowledge navigator) ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการออกแบบการเรียนการสอนและการประเมินผล (Decentralized) มีการเรียนการสอนที่เน้นที่ผู้เรียน โดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน การกำหนดวิธีการวัดและการประเมิน การเรียนการสอนจะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการสืบเสาะหาความรู้(Exploration) จากฐานความรู้ต่างๆ ที่มีอยู่อย่างมากมาย และดำเนินการอภิปรายหาข้อสรุป ไม่ใช่ทำตามคำสั่งหรือข้อกำหนดของผู้สอนแต่ฝ่ายเดียว กิจกรรมต่างๆ ต้องออกแบบโดยยึดปัญหาหรือสถานการณ์เป็นหลัก (Problem-issues) ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนได้พัฒนากระบวนการคิดขั้นสูง จัดกิจกรรมการเรียนแบบร่วมแรงร่วมใจ (Cooperative learning) เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางสังคม และความสามารถทางสติปัญญา ที่นำไปสู่การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ให้ผู้เรียนมีอิสระในการเรียนอย่างสนุก ไม่เป็นทางการ (Playful and informal) โดยผู้สอนสามารถตรวจสอบและติดตามผลการเรียนของผู้เรียนได้โดยผ่านระบบการตรวจงาน ทำให้ผู้เรียนไม่เครียดและทราบผลการประเมิน ทันที ผู้สอนเป็นผู้ให้คำแนะนำและช่วยเหลือ การเรียนการสอนจึงสนองต่อผู้เรียนเป็นรายบุคคล ไม่ยึดกรอบที่ตายตัว แต่ยืดหยุ่นตามผู้เรียนแต่ละคน ภายใต้ประสบการณ์ที่แตกต่างกัน และมีระบบที่ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนได้ด้วยตนเอง นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ ทำให้สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ 

  •  เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที (IT ย่อจาก information technology) หมายถึงเทคโนโลยีสำหรับการประมวลผลสารสนเทศ ซึ่งครอบคลุมถึงการรับ-ส่ง การแปลง การจัดเก็บ การประมวลผล และการค้นคืนสารสนเทศ ในการประยุกต์ การบริการ และพื้นฐานทางเทคโนโลยี สามารถแบ่งกลุ่มย่อยเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ คอมพิวเตอร์, การสื่อสาร และข้อมูลแบบมัลติมีเดีย ซึ่งในแต่ละกลุ่มนี้ยังแบ่งเป็นกลุ่มย่อยๆ ได้อีกมากมาย องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนนี้ ยังต้องอาศัยการทำงานร่วมกัน ยกตัวอย่างเช่น เครื่องเซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์ (คอมพิวเตอร์) เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบเครือข่าย (การสื่อสาร) โดยมีการส่งข้อมูลต่างๆ ไปยังเครื่องลูก (ข้อมูลแบบมัลติมีเดีย)

การสื่อสาร คือกระบวนการสำหรับแลกเปลี่ยนส

หมายเลขบันทึก: 393230เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2010 22:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 13:16 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท