มัทนา
มัทนา (พฤกษาพงษ์) เกษตระทัต

เรียนอะไรสอนอะไรในรายวิชา ทันตกรรมผู้สูงอายุ ที่ธรรมศาสตร์


มีการบ้านให้รวบรวมข้อมูลที่คณะได้ดำเนินการเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมให้ทันตบุคคลากรสามารถดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงวัยได้

โดยทางที่ประชุม (ที่ผู้เขียนไม่ได้ไปร่วมเพราะติิดภารกิจ) ได้กำหนดหัวข้อมาดังนี้

๑. ความสำคัญของเรื่อง/การดำเนินการที่ผ่านมา

เนื่องจากประเทศไทยได้ก้าวเข้าสูงสังคมผู้สูงวัย (Aging Society) แต่การเตรียมงานระดับชาติเพื่อดูแลประชากรกลุ่มนี้เพิ่งอยู่ในระยะแรกเริ่ม บุคลากรที่เกี่ยวข้องอาจยังนึกภาพไม่ออกว่า การดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงวัยนั้นต่างไปจากประชากรวัยอื่นๆอย่างไร หรือเมื่อได้สัมผัสกับปัญหาสุขภาพช่องปากที่มีความเกี่ยวโยงไปกับปัญหาทางร่างกาย จิตใจ และ สังคมของผู้ป่วยสูงวัยที่ซับซ้อนขึ้นแล้วไม่มีความมั่นใจว่าจะวางแผนการดูแลรักษาอย่างไร จากงานวิจัยในหลายประเทศพบว่า ทันตบุคคลากรจำนวนมากแสดงเจตคติทางลบกับผู้ป่วยสูงวัย บ้างก็ปฏิเสธไม่พร้อมทำการดูแลรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้เนื่องจากไม่คุ้นเคยกับความชราภาพ อุปสรรคในการเคลื่อนไหวโรคทางระบบเรื้อรัง รวมไปทั้งความยุ่งยากในประสานงานกับญาติหรือผู้ดูแลในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถตัดสินใจหรือสื่อสารเองได้ ทันตบุคคลากรแจ้งว่าส่วนหนึ่งของปัญหาคือการที่ไม่เคยได้รับการฝึกฝนหรือผ่านหลักสูตรทันตกรรมสำหรับผู้สูงวัยมาก่อน ดังนั้นการเตรียมความพร้อมให้ทันตบุคคลากรรวมทั้งบุคคลากรสาธารณสุขประเภทต่างๆ โดยเฉพาะ พยาบาล นั้นเป็นหน้าที่สำคัญของสถาบันอุดมศึกษา

คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้บรรจุรายวิชา ทันตกรรมผู้สูงอายุไว้ในหลักสูตรทันตแพทยศาสตร์บัณทิต ตั้งแต่ปีพศ. และได้ทำการประเมินและปรับปรุงเรื่องมา

๒. วัตถุประสงค์: บันทึกนี้เป็นการสรุปเนื้อหารายวิชาทันตกรรมผู้สูงอายุ และ ถอดบทเรียน โดยยึดแผนการสอนและประสบการณ์จากการเรียนการสอนในปีการศึกษา 2551 และ 2552 เป็นหลัก

๓. กลุ่มเป้าหมาย: นักศึกษาทันตแพทย์ชั้นปีที่ 4  ปีการศึกษา 2551 จำนวน 50 คน และ ปีการศึกษา 2552 จำนวน 70 คน

๔. วิธีการดำเนินงาน

รายวิชาทันตกรรมผู้สูงอายุ เป็นรายวิชา 2 หน่วยกิต จัดการเรียนการสอนแบบ block เป็นเวลา 2 สัปดาห์ในช่วงต้นเดือนมีนาคมก่อนปิดภาคเรียน

นักศึกษาได้ผ่านการเรียนการสอนในวิชา cycle of life () ในชั้นปีที่ 3 มาแล้ว ได้ผ่านการเรียนการสอนวิชาพื้นฐานทันตแพทยศาสตร์มาเกือบครบทุกวิชา เป้าหมายโดยรวมของรายวิชานี้คือการที่นักศึกษาสามารถที่จะดึงองค์ความรู้ที่ผ่านมาเพื่อนำมาใช้กับองค์ความรู้เฉพาะที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุได้ โดยเน้นที่จะให้นักศึกษาเข้าใจและผ่านประสบการณ์ที่จะเปลี่ยนเจตคติทางลบต่อผู้สูงวัย และประสานมุมมองทางสังคมศาสตร์ให้มีความพร้อมที่จะทำงานกับประชากรกลุ่มนี้ต่อไปได้ในอนาคต

วัตถุประสงค์ของรายวิชาตามที่ปรากฎในหลักสูตร ได้แก่

๕. งบประมาณ/เวลา

๖. ผลผลิต/ผลลัพธ์

๗. ความสอดคล้องนโยบายสาธารณสุข (รุนแรง/ปริมาณ/การแก้ปัญหา/เทคโนโลยี/ยาก/ง่าย/การกระจาย)

หมายเลขบันทึก: 392849เขียนเมื่อ 10 กันยายน 2010 22:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012 19:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท