กระบวนการ Dialogue


สานเสวนา หรือ สุนทรียสนทนา ฟังกันอย่างลึกซึ้ง ด้วยความเมตตา ด้วยการเอาใจเขามาใส่ใจ

กิจกรรมที่ดีนำสู่การเรียนอย่างลึกซึ้ง ประทับใจ หลังจากทำความรู้จักจิตตปัญญาศึกษาแล้ว ครูโรงเรียนเชียงกลมวิทยาได้มีโอกาสทำกิจกรรมี่เรียกว่า กระบวนการ Dialogue

จิตตปัญญาศึกษาโดยผ่านกระบวนการ Dialogue

     กระบวนการ Dialogue (สานเสวนา หรือ สุนทรียสนทนา) เป็นการฟังกันอย่างลึกซึ้ง ด้วยยความเมตตา ด้วยการเอาใจเขามาใส่ใจเรา ด้วยการไม่ตัดสินไว้ก่อน เพื่อการเรียนรู้ร่วมกัน และเพื่อให้นักศึกษาได้ “ตระหนักรู้” และ “มีสติ” ให้มี “การไตร่ตรองและพิจารณาอย่างใคร่ครวญ” คำถามที่นักศึกษาต้องให้ความสำคัญ คือ ให้ทุกคนสังเกต และสะท้อน “สภาวะจิต” ของตนขณะเรียนสิ่งที่ต่างจากความเชื่อของตนว่ารู้สึกอย่างไร เพื่อตั้งสติก่อนใช้การให้คุณค่าของตนตัดสินผู้อื่น
     โดยกิจกรรมกำหนดให้ครูแบ่งกลุ่ม ๆ ละ 5 คน ให้เล่าความคิดแรกในอดีตเมื่อเรียนจบและปัจจุบันเมื่อมาเป็นครูแล้ว ทุกคนในกลุ่มต่างเล่าความรู้สึกด้วยความตั้งใจ เป็นกิจกรรมที่นำไปใช้ในห้องเรียนได้ดีเยี่ยม ในส่วนตัวได้นำไปใช้ในการเรียนการสอนแล้ว
สร้างประสบการณ์ การยอมรับกัน และทำให้นักเรียนได้ทบทวนตัวเองได้เป็นอย่างดี 
     ตรงตามความคิดผู้รู้ที่ได้กล่าวถึง กระบวนการ Dialogue ไว้ว่า การฝึกให้มีความสามารถในการวิเคราะห์วิจารณ์ที่ได้รับมอบหมายนี้ เท่ากับได้ผ่านการทำงานภายนอก (Outer Work) ขณะเดียวกันก็ได้ฝึกงานภายใน (Inner Work) หลาย ๆ ประการ กล่าวโดยสรุป คือ การศึกษาโดยวิธีการแบบจิตตปัญญาศึกษาสามารถจัดให้เกิดขึ้นได้อย่างเป็น “ปกติ” และ เป็น “ตามธรรมชาติ” ในวิชาต่างๆ ด้วยการพัฒนาการเรียนที่เน้นทั้งความรู้ที่เป็น “ฐานหัว” “ฐานกาย” “ฐานใจ” ไปพร้อมๆ กันนั่นเอง (http://www.ce.mahidol.ac.th/blog/viewblog.php?aid=6&s=parichart)

หมายเลขบันทึก: 392460เขียนเมื่อ 9 กันยายน 2010 16:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • ได้ลองใช้ dialogue กับนักเรียนบ้างหรือยังครับ
  • ขอบคุณครับ
  • เอามาฝากครับ
  • เอาไปใช้กับพยาบาลและคุณหมอมาครับ
  • http://gotoknow.org/blog/yahoo/319953?page=1
  • http://portal.in.th/kha-ku/pages/6363/
  • มาเขียนบ่อยๆๆนะครับ
  • อยากทราบว่าอาจารย์สอนหนังสืออย่างไร
  • คุณขจิต เป็นผู้ที่คร่ำหวอดใน gotoknow มายาวนานและขยันอ่าน ขยันให้กำลังใจ
  • โปรดทำตามที่ท่านแนะนำ แล้วท่านจะเป้นที่รู้จักใน social network นี้มากยิ่งขึ้น

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำค่ะ

ได้ทดลองใช้กับนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

จะเล่าวิธีการและสิ่งที่ได้รับต่อไปนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท