อ.ผัก
อาจารย์ พท. ศุภฤกษ์ ภมรรัตนปัญญา

โลกาภิวัฒน์ ตอนที่ ๔


โลกาภิวัฒน์ ตอนที่ ๔

ฝ่ายสนับสนุนวัฒนธรรม (วัฒนธรรมนิยม)

                                                                      
                                                                                 
 เศรษฐกิจ
ผู้สนับสนุนการค้าเสรีอ้างว่า การเพิ่มความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจรวมทั้งโอกาส โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา ได้ช่วยส่งเสริมให้เสรีภาพของพลเมืองดีขึ้นและนำไปสู่การกระจายทรัพยากรที่ดีขึ้น ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์เรื่อง “ข้อได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ” ( comparative advantage) ชี้ให้เห็นว่าการค้าเสรีนำมาซึ่งประสิทธิภาพในการกระจายทรัพยากรที่ทุกประเทศได้รับประโยชน์จากการค้า ซึ่งโดยทั่วไปจะทำให้ราคาสินค้าลดลง มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น ผลผลิตสูงขึ้นและมาตรฐานการดำรงชีวิตในประเทศกำลังพัฒนาดีขึ้น
Cquote1.svg

 

หนึ่งในคำเหน็บแนมที่มีต่อความสำเร็จของจีนและอินเดียเมื่อเร็วๆ นี้ คือการกลัวว่า..... ความสำเร็จของสองประเทศนี้เกิดขึ้นได้ด้วยค่าใช้จ่ายของอเมริกา ความกลัวนี้ โดยพื้นฐานแล้วนับว่าผิดและยังอันตรายมากด้วย ที่ว่าผิดก็เนื่องจากโลกไม่ได้ดิ้นรนกระเสือกกระสนแบบมีแพ้มีชนะ..... แต่เป็นโอกาสในเชิงบวกแก่ทั้งสองฝ่ายมากกว่าเนื่องจากการปรับปรุงทางเทคโนโลยีและทักษะที่เกิดขึ้นจะช่วยยกระดับมาตรฐานการดำรงชีวิตของโลกโดยรวม

Cquote2.svg
Jeffrey D. Sachs
ฝ่ายอิสรนิยม ( Libertarians) และฝ่ายสนับสนุนระบบทุนแบบเสรีนิยม ( laissez-faire capitalism]) กล่าวว่าระดับที่สูงขึ้นของเสรีภาพทางการเมืองและเสรีภาพทางเศรษฐกิจในระบบประชาธิปไตยในประเทศกำลังพัฒนาจบลงได้ในตัวเองและสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจได้ในระดับสูงกว่า พวกเขามองโลกาภิวัตน์ว่าเป็นการกระจายตัวของเสรีภาพและระบบทุนนิยม [7]
ฝ่ายสนับสนุนโลกาภิวัตน์แบบประชาธิปไตยในบางครั้งถูกเรียกว่า “pro-globalists” หรือนักโลกาภิวัตน์พวกนี้เชื่อว่าโลกาภิวัตน์ช่วงแรกซึ่งเน้นการตลาดควรตามาด้วยขั้นการสร้างสถาบันทางการเมืองรับโลกที่เป็นตัวแทนประชากรโลก ที่แตกต่างกับโลกาภิวัตน์อื่นๆ ตรงที่ไม่มีการบ่งชี้คตินิยมหรืออุดมการณ์ใดๆ ล่วงหน้าเป็นการนำทาง แต่จะปล่อยในประชาคมโลกเลือกเอาเองผ่านกระบวนการประชาธิปไตย [ต้องการอ้างอิง].
บางคน เช่นสมาชิกวุฒิสภาแคนาดาคือ ดักลาส โรช มองโลกาภิวัตน์อย่างง่ายๆ ว่าเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้และได้เรียกร้องให้มีการจัดตั้งสถาบัน เช่น สภาสหประชาติ ที่ได้สมาชิกมาจากการเลือกตั้งโดยตรงเพื่อทำหน้าที่ดูแลสมาชิกสมัชชาสหประชาติซึ่งไม่ได้มาจากการเลือกตั้วโดยตรง
ฝ่ายสนุสนุนโลกาภิวัตน์อ้างเหตุผลสนับสนุนว่า ขบวนการต่อต้านโลกาภิวัตน์ใช้หลักฐานเล็กๆ น้อยๆ หรือเกร็ด[ต้องการอ้างอิง] มาใช้ในการปกป้องมุมมองของตนในขณะที่สถิติที่เป็นที่ยอมรับทั่วโลกสนับสนุนโลกาภิวัตน์:
  • จากปี พ.ศ. 2524พ.ศ. 2543 ตามตัวเลขของธนาคารโลก จำนวนประชากรที่มีรายได้ $1 เหรียญสหรัฐฯ หรือน้อยกว่าในภาพรวม ลดจาก 1.5 พันล้านคนมาเหลือ 1.1 พันล้านคน ในขณะที่ประชากรโลกเพิ่มขึ้น หากคิดเป็นร้อยละจะเท่ากับลดจากร้อยละ 40 ลงเหลือร้อยละ 20 ของจำนวนประชากร
ด้วยการยกระดับทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นเป็นอย่างมากและรวดเร็วได้ทำให้กำแพงที่ขวางกั้นการค้าและการลงทุนลดลงเป็นอย่างมากด้วย แต่กระนั้น นักวิจารณ์บางคนก็ยังอ้างเหตุผลว่า ควรนำตัวแปรที่มีรายละเอียดมากกว่านี้มาวัดความยากจนแทนการใช้เพียงตัวเลขธนาคารโลก
  • อัตราร้อยละของประชากรที่ดำรงชีวิตด้วยรายได้น้อยกว่า 2 เหรียญสหรัฐฯ ก็ได้ลดลงมากในพื้นที่ที่ถูกอิทธิพลของโลกาภิวัตน์ ในขณะที่พื้นที่อื่นยังคงเดิม ในเอเซียตะวันออกรวมทั้งจีน ตัวเลขลดลงถึงร้อยละ 50.1 เทียบกับการเพิ่มจากเดิมร้อยละ 2.2 พื้นที่แอฟริกาแถบใต้ซะฮารา
  • ความไม่เท่าเทียมของรายได้ ( Income inequality) ของโลกโดยรวมนับได้ว่าลดลง จากข้อมูลและประเด็นที่มี พบว่ามีความไม่ต้องตรงกันในความเห็นเกี่ยวกับอัตราการลดลงของความยากจนขั้นต่ำสุด ความไม่เท่าเทียมของรายได้ของประชากรโลกโดยรวมกำลังลดลง ดังหมายเหตุข้างล่าง ก็ยังมีความไม่ลงรอยในประเด็นนี้อยู่ การวิเคราะห์ของนักเศรษฐศาสตร์ชื่อ ซาเวียร์ ซารา-ไอ-มาร์ติน (Xavier Sala-i-Martin) เมื่อ พ.ศ. 2550 ยกเหตุผลว่าไม่ถูกต้อง ความไม่เท่าเทียมในรายได้ของประชากรโลกโดยรวมได้ลดลง แต่ไม่ว่าใครจะถูกหรือไม่ถูกในเรื่องแนวโน้มที่ผ่านมาของความไม่เท่าเทียมของรายได้ก็ตาม ก็ยังมีให้ยกเหตุผลโต้แย้งว่าการปรับปรุงหรือขจัดความจากจนโดยรวมมีความสำคัญมากกว่าความมากน้อยของช่องว่างของความไม่เท่าเทียมของรายได้
  • พยากรณ์ชีพ ( Life expectancy) หรืออายุขัยเฉลี่ยของประชากรใน)เทศกำลัลงพัฒนาได้เพิ่มเป็น 2 เท่านับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมาและช่องว่างของความแตกต่างกำลังลดลงเรื่อยๆ แม้ในแอฟริกาแถบใต้ซะฮารา ภูมิภาคที่พัฒนาน้อยที่สุดในโลก อายุขัยเฉลี่ยประชากรเพิ่มจากเมื่อ 30 ปีก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 มาเป็น 50 ปีก่อนที่การระบาดของโรคเอดส์ และโรคอื่นๆ จะดึงตัวเลขลงเหลือ 47 ปี ภาวะการตายของทารก ( Infant mortality) ได้ลดลงในทุกภูมิภาคที่กำลังพัฒนาในโลก
  • ประชาธิปไตย ได้เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจนจากจำนวนประเทศที่มีการเลือกตั้งทั่วไปในโลกที่เกือบนับไม่ได้เลยใน พ.ศ. 2443 มาเป็นร้อยละ 62.5 ในปี พ.ศ. 2543
  • คตินิยมสิทธิ์สตรี (Feminism) ได้มีความก้าวหน้าขึ้นในพื้นที่เช่นบังคลาเทศด้วยการจัดให้สตรีมีงานทำและได้รับความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
  • สัดส่วนของประชากรโลกที่อาศัยในประเทศที่มีอาหารต่อหัวน้อยกว่า 2,200 แคลอรี (9,200 กิโลจูล) ต่อวันได้ลดลงจากร้อยละ 56 ในช่วงประมาณ พ.ศ. 2508 มาเหลือร้อยละ 10 ในช่วงประมาณ พ.ศ. 2538
  • ระหว่าง พ.ศ. 2493 และ พ.ศ. 2542 อัตราการรู้หนังสือของปราชากรโลกเพิ่มจากร้อยละ 52 มาเป็นร้อยละ 81 โดยสตรีกลับมีช่วงความแตกต่างที่มากกว่า โดยร้อยละของการรู้หนังสือของสตรีต่อบุรุษเพิ่มจากร้อยละ 52 ใน พ.ศ. 2513 มาเป็นร้อยละ 80 ใน พ.ศ. 2543
  • ร้อยละของการใช้แรงงานเด็กได้ลดจากร้อยละ 24 ใน พ.ศ. 2493 มาเหลือร้อยละ 10 ในปี พ.ศ. 2543
  • มีการเพิ่มในลักษณะแนวโน้มเดียวกันเกี่ยวกับการใช้ไฟฟ้า รถยนต์ วิทยุและโทรศัพท์ ต่อหัว รวมทั้งการเพิ่มสัดส่วนประชากรที่มีน้ำสะอาดบริโภค [18]
  • ในหนังสือชื่อ “การปรับปรุงสภาพของโลก” (The Improving State of the World) ได้พบหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้และพบว่ามาตรการที่ใช้ได้ช่วยยกระดับและปรับปรุงคุณภาพชีวิตของมนุษย์ให้ดีขึ้นและว่าโลกาภิวัตน์มีส่วนช่วยอธิบายในเรื่องนี้ และยังให้คำตอบกับเหตุผลโต้แย้งที่ว่าผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจะเป็นตัวกำหนดขีดจำกัด
แม้นักวิจารณ์จะบ่นว่าโลกาภิวัตน์เป็นต้นเหตุของการกลายเป็นตะวันตกก็ตาม รายงานของ ยูเนสโกเมื่อ พ.ศ. 2548 [19] แสดงให้เห็นว่าการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมเป็นปรากฏการณ์ร่วมกัน ใน พ.ศ. 2545 จีนเป็นประเทศส่งออกสินค้าวัฒนธรรมใหญ่ที่สุดในโลกรองจากสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา ระหว่าง พ.ศ. 2537 และ พ.ศ. 2545 ทั้งอเมริกาเหนือและสหภาพยุโรปต่างมีอัตราการส่งออกวัฒนธรรมที่ลดลง ในขณะที่การส่งออกวัฒนธรรมของเอเซียเจริญเติบโตล้ำหน้าอเมริกาเหนือ
คำสำคัญ (Tags): #โลกาภิวัฒน์
หมายเลขบันทึก: 390807เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2010 15:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 03:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

มาอ่าน เรื่องราวได้ความคิด ความรู้เกี่ยวกับการค้า เสรี  ในยุคโลกาภิวัตน์

การค้าเสรีก็ดีอยู่หรอกคะ ให้โอกาสทุกคนได้ทำมาค้าขาย แต่คนที่มีเทคโนโลยี่ การติดต่อสื่อสารที่ทันสมัย และมีทุนย่อมได้เปรียบ ในการส่งผลิตผลตนเอง ออกสู่ตลาดโลก ส่วนโลกที่ยังไม่พัฒนา มีผลิตผลเช่นกัน แต่ถูกผู้ที่มีเครื่องมือ ความรู้เทคโนโลยี ที่ทันสมัยกว่า คว้าไปได้ขายก่อน

-ทำให้ ประเทศ ผู้ที่ด้อยโอกาส มีสินค้าจากประเทศอื่นเข้ามาตีราคา ขายไม่ได้ จึงทำเกิดสินค้าราคาตก จนถึงกับนำมาเททิ้ง ก็มี ตามที่มีข่าวประจำ

-เมื่อเกิดการค้าเสรี จะส่งผลกระทบ ผู้ที่ไม่มีเครื่องมือ และเมื่อเกิดเสรี ทำให้ราคาสินค้าถูกลง ก็ถูกลงในประเทศต่างๆๆ กระทบมาถึงราคาตก ประเทศตนเองขายไม่ออก เพราะต่างประเทศเข้ามาขาย ดันขายถูกกว่าเสียอีก

-บางครั้งการค้าเสรี ก็ดี เป็นทางเลือก บางทีก็ไม่ดี ราคาสินค้าตก แล้วก็สู้ราคาเขาไม่ได้เมื่อมันราคาตก และผู้ที่ลำบากที่สุดก็คือคน ที่เป็นชาวเกษตรกร ไม่คุ้มกับการลงทุน  ราคาจ้างแรงงานก็ถูกๆๆ มันจะเป็นกระจายความจนมากกว่า

-บางครั้งต้องสร้างกระแส ให้ไทยเป็นตลาดครัวโลก ก็อินเทรนอยู่ชั่วระยะหนึ่ง

-ขอบคุณมากนะคะ ที่เข้าไปเยี่ยมพี่สุคะ

สวัสดีครับพี่สุ

   ขอบคุณมากครับ ที่มาเยี่ยมชมครับ ภาพน่ารักดีนะครับ อิอิ

สวัสดีครับคุณหลวง แวะบ้านคุณหลวงได้ความรู้อย่างใหญ่หลวง

หลายเรื่องแล้วที่ได้รู้โดยไม่ต้องไปหาตำราอ่าน

ขอบคุณที่นำสาระงานมาฝากกัน

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท