แนวทางปฏิบัติ(guideline)เกี่ยวกับการให้บริการระงับความรู้สึกของวิสัญญีพยาบาล (1)


“...ถ้าเรามัวจ้องมองว่างานนี้ของแพทย์ งานนี้ของพยาบาล คนไข้ในบ้านเราคงลำบากเพราะเรายังขาดแคลนแพทย์อยู่มากโดยเฉพาะหมอดมยา... พอช่วยกันได้ก็ช่วยๆกันไปเถอะหนู...สงสารคนไข้”

เป็นที่ถกเถียงและคับข้องใจกันอยู่นานในวงการวิสัญญีพยาบาลว่าเราทำอะไรได้บ้าง มากน้อยเพียงใดเพราะหัตถการหลายๆอย่างสามารถกระทำได้เช่นเดียวกับวิสัญญีแพทย์ ในขณะที่ระดับความรุนแรงของผู้ป่วยที่มารับบริการมีหลายระดับ การตัดสินใจกระทำการบางอย่างจึงเกรงการเกินเลยขอบเขตของพยาบาลไป

การจัดฝึกอบรมวิชาวิสัญญีวิทยา 1 ปีจนได้รับประกาศนียบัตรวิสัญญีพยาบาลเป็นการศึกษาเพิ่มเติมจากพื้นฐานการพยาบาลศาสตร์ 4 ปี โดยผู้เข้าอบรมควรผ่านประสบการณ์การปฏิบัติงานพยาบาลพื้นฐานมาบ้าง  หากมีประสบการณ์การทำงานในไอซียูหรือแผนกฉุกเฉินก็จะเป็นข้อได้เปรียบในการเรียนรู้เพิ่มเติม

....การอบรมดังกล่าวเป็นวิชาการวิสัญญีวิทยาล้วนๆ ไม่มีบทเรียนด้านการพยาบาลแต่อย่างใด และผู้กำกับการฝึกอบรมคือราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย จึงไม่น่าแปลกใจที่หลายต่อหลายครั้งของการฟังบรรยายด้านวิสัญญีวิทยาที่เอื้อต่อการทำงานของวิสัญญีพยาบาลจึงไม่ได้รับการประเมินแต้มคะแนนพยาบาล (CNE)

มากกว่านั้นคือไม่มีการกำหนดข้อตกลงชัดเจนว่าบทบาทวิสัญญีพยาบาลสามารถปฏิบัติบริการอะไรได้บ้าง? มากน้อยเพียงใด?

และด้วยข้อจำกัดของความแตกต่างในบริบทที่วิสัญญีพยาบาลแต่ละคนสังกัด ทำให้เกิดความแตกต่างของศักยภาพของแต่ละคนภายหลังการทำงานมาระยะหนึ่ง

เหล่านี้เป็นความคับข้องใจที่ผู้เขียนมีมานาน เคยมีโอกาสได้ไต่ถามอาจารย์อาวุโสท่านหนึ่งซึ่งบรรยายถึงโอกาสความก้าวหน้าของวิชาชีพ ว่าความไม่ชัดเจนในการกำหนดบทบาททำให้วิสัญญีพยาบาลขาดความมั่นใจในการปฏิบัติงาน อาจปฏิบัติเกินเลยโดยไม่ตั้งใจ เราอยากเห็นความชัดเจนว่า วิสัญญีพยาบาลทำอะไรหรือไม่ควรทำอะไรบ้าง อะไรที่พึงต้องกระทำโดยแพทย์

คำตอบที่ผู้เขียนได้รับจากอาจารย์ท่านนั้นคือ

“...ถ้าเรามัวจ้องมองว่างานนี้ของแพทย์ งานนี้ของพยาบาล คนไข้ในบ้านเราคงลำบากเพราะเรายังขาดแคลนแพทย์อยู่มากโดยเฉพาะหมอดมยา... พอช่วยกันได้ก็ช่วยๆกันไปเถอะหนู...สงสารคนไข้”

จากวันนั้นทำให้ผู้เขียนเลิกถามหาคำตอบอีกต่อไป แต่ก็ยังลำบากใจในการตัดสินใจทำหัตถการบางอย่างที่ยังก้ำกึ่งอยู่ดี

สิ่งที่กำลังนำมาเล่าต่อไปนี้น่าจะเป็นคำตอบที่ดีพอที่จะเห็นแนวทางที่ชัดเจนขึ้นบ้างแม้ไม่ทั้งหมดในบทบาทวิสัญญีพยาบาลที่ควรกระทำอันเป็นการลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ทั้งต่อผู้ป่วยและต่อตนเอง

อย่างไรก็ตาม ในรายละเอียดหลายส่วนยังคงอยู่ในดุลยพินิจของผู้ปฏิบัติเองอีกมาก จึงพึงรอบคอบในการปฏิบัติการทุกครั้ง

(ติดตามรายละเอียดบันทึกถัดไป)

หมายเลขบันทึก: 389078เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2010 12:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

มาติดตามค่ะ"พี่ติ๋ว"

ประกาศสภาการพยาบาล

เรื่องขอบเขตและสมรรถนะผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง สาขาต่างๆ

รวมทั้งสาขาการพยาบาลด้านการให้ยาระงับความรู้สึกด้วย (หน้า 39-41)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท