เรียนรู้พหุวัฒนธรรม (Multi cultural) กับสาวสวยสุภาพร


เรียนรู้พหุวัฒนธรรม (Multi cultural) กับสาวสวยสุภาพร

 วัฒนธรรม แต่ละท้องถิ่นย่อมมีความแตกต่างกันตามแต่สภาพของท้องถิ่น มนุษย์มีเครื่องมือ วิธีการที่หลากหลายเพื่อใช้เพื่อแลกเปลี่ยนเชิงวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน เช่น การกิน ภาษา ท่าทาง กิจกรรมทางสังคม ขนบธรรมเนียม ประเพณี ฯลฯ  เช่นเดียวกับ เรือยาว ประเทศไทยมีประเพณีแข่งเรือยาวที่สืบทอดต่อกันมานานหลายชั่วอายุคน  การแข่งขันเรือยาว ในปัจจุบันของประเทศไทยมีอยู่หลายรายการดังจะเห็นได้จากแต่ละภูมิภาคซึ่งก็จัดโปรแกรมแข่งขันโดยเฉพาะหลังออกพรรษา เดือน 12 ของทุกปี ก็จะเริ่มแข่งขันกัน มีทั้งถ่ายทอดทางรายการโทรทัศน์ (ทีวีไทย) ตอนนี้ก็ไฮเทคถ่ายทอดทางอินเทอร์เน็ตด้วย (www.thailongboat.com)

วันนี้หลังจากเสร็จสิ้นจากภารกิจ (ฌาปนกิจ ญาติผู้ใหญ่)  ผมก็ไม่พลาดที่จะแวะไปกราบหลวงลุง และเยี่ยมชมเรือยาว ที่วัดอุลย์สามัคคี วันนี้ที่วัดมีเรือยาวลำใหม่ ชื่อ "สาวสวยสุภาพร" เป็นเรือยาว ที่เพิ่งต่อเสร็จ ขนาด 45 ฝีพาย ตอนนี้ยังไม่ได้ทำพิธีกรรมใดเลย ยังคงจอดไว้ที่วัด เคียงคู่กับ เจ้าแม่เพชรคำใหล เรือรุ่นพี่ (อ่านเพิ่มเติม จากลุ่มน้ำหลังสวนถึงลุ่มน้ำชี : นางสาวเพชรคำใหล) หลังออกพรรษาปีนี้ หลวงพี่เล่าให้ฟังว่า สาวสวยสุพาพร คงได้ประเดิมสนามแรกที่ท่าน้ำบ้านผักกาดหญ้า จากนั้นประมาณเดือนตุลาคม ก็จะข้ามจังหวัดไปร่วมแข่งขันกันที่บ้านท่าตูม จ.มหาสารคาม

 

 

ปรากฏการณ์เชิงสังคมที่เห็นตามมาจากการแข่งขันเรือยาว ก็คือ มิตรภาพ ความสามัคคีของชุมชนสู่สังคมทุกระดับ การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมเป็นพื้นฐานหรือวิถีชีวิตของคนไทยแต่ละภูมิภาคที่จำเป็นต้องพึ่งพาน้ำ จาก "แม่น้ำ" เพื่อการดำรงชีวิต โดยมี เรือยาว เป็นสัญลักษณ์ถ่ายทอดกระบวนการขับเคลื่อนความเป็นวัฒนธรรมไทยมาจนถึงทุกวันนี้และในอนาคตที่ยั่งยืน (ภายใต้กระแสทุนที่ไหลบ่าเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้)


๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๓

หมายเลขบันทึก: 388511เขียนเมื่อ 27 สิงหาคม 2010 12:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท