คุณค่าแห่งชีวิต


ถามว่าผิดไหมที่ผู้บริหารปิดสนามหลวงเพื่อปรับปรุง ไม่ผิดกฎหมายตามที่เขาอ้าง พรบ.รักษาความสะอาด เพราะเขามองที่วัตถุ แต่ถ้าเขามองทางด้านความเป็นพลเมือง มันคือการละเมิดสิทธิพลเมือง แต่ในสังคมที่เป็น 2 มาตรฐานเช่นนี้ คนจน และยิ่งจนแบบสุดขอบ เป็นที่รังเกียจของคนในสังคมบางส่วนแล้วด้วย เสียงของเขายิ่งไม่มีความหมายใด ๆ ต่อให้ตะโกนดังแค่ไหนก็เป็นเพียงสายลม

คุณค่าแห่งชีวิต

เมื่อพูดถึงสนามหลวง หรือสวนสาธารณะในที่ต่าง  ๆ สิ่งแรกที่นึกถึง คือ ผู้ที่ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ มากกว่า วัตถุสิ่งของ (ซึ่งอยู่ในความคิดของผู้บริหารบางจำพวกที่คิดว่าตัวเองสูงกว่าผุ้อื่น ไม่เคยมาเดินดิน ไม่เคยจน) มันยิงตรอกยำว่า ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ (Homeless) คนเหล่านี้ เป็นคนข้างล่างที่ถูกกดทับจากสังคมศักดินา  ไม่ได้รับความเป็นธรรมทางสังคม ซึ่งเห็นได้จากการที่ผู้บริหารกทม. ปิดสนามหลวงปรับปรุง นึกถึงสภาพของวัตถุมากกว่าการบริหารคนหรือดูแลพลเมืองในเมืองของท่าน เพราะปิดมาเดือนกว่า การเปลี่ยนแปลงใด ๆ ยังไม่พบเห็น แต่ประชาชนหลาย ๆ คนที่ดำรงชีวิต ทำมาหากินต้องลำบากขึ้น ต้องลงมาเดินริมฟุตบาท เสี่ยงต่อการถูกรถเฉียว จนมีนักศึกษา ในมหาลัยบริเวณนั้นกล่าวไว้ว่า “สนามหลวง เหมือนโดนขมขืน”

ถามว่าผิดไหมที่ผู้บริหารปิดสนามหลวงเพื่อปรับปรุง ไม่ผิดกฎหมายตามที่เขาอ้าง พรบ.รักษาความสะอาด เพราะเขามองที่วัตถุ แต่ถ้าเขามองทางด้านความเป็นพลเมือง มันคือการละเมิดสิทธิพลเมือง แต่ในสังคมที่เป็น 2 มาตรฐานเช่นนี้ คนจน และยิ่งจนแบบสุดขอบ เป็นที่รังเกียจของคนในสังคมบางส่วนแล้วด้วย เสียงของเขายิ่งไม่มีความหมายใด ๆ ต่อให้ตะโกนดังแค่ไหนก็เป็นเพียงสายลม ที่ไม่สะเทือนคนเหล่านั้น และยิ่งที่แย่มากกว่านั้น เมื่อปรับปรุงเสร็จ สนามหลวงจะเป็นเช่นไร และคนที่เคยบาดเจ็บจากสังคม คนที่ผิดหวัง หมดสิ้นเนื้อประดาตัว จะมีสิทธิมาใช้ไหม เมื่อ เขาเคยพูดว่า “ขอสนามหลวงคืนให้กับคนกรุงเทพฯได้ใช้สอย” แล้วคนเหล่านี้ไม่มีสิทธิได้ใช้ใช่ไหม

การที่รัฐบาลมองข้ามอะไรบางอย่างไป คนจนเหล่านี้ รัฐบาลจะต้องเข้ามาแก้ไขปัญหา เพราะความรู้สึกของคนข้างล่างที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม โดยเฉพาะ คนที่ ชีวิตไม่มีคุณค่า เพื่อนญาติพี่น้องไม่มีใครต้อนรับอย่างคนไร้บ้าน

ถ้ามองถึง วันนี้ แม้ว่าจะมีการเลือกตั้ง บุคคลและกลุ่มบุคคล เพื่อเป็น "ผู้แทนราษฎร"
เรามาลองย้อนกลับไปดูกันไหมว่า "ผู้แทน" เคยได้มีกระทู้ถามในสภากันอย่างไรในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับกรณีของผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ บ้างหรือไม่ คนเหล่านี้ถูกลืม หรือไม่เคยมีการถามถึง คุณภาพชีวิต การเป็นอยู่ การดูแล การเข้ามาช่วยเหลือ และไม่เคยมองเห็นว่าคนเหล่านี้เขามีตัวตน อาจจะเพียงเพราะเขาไม่สามารถเป็นฐานเสียงได้  แต่รู้ไหมว่าเขาพร้อมจะเข้าร่วมทุกเมื่อ เมื่อเขาสามารถแสดงตัวตนของเขาได้

นี่เป็นสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นใน เมืองที่ขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองของที่เท่ากัน ที่สังคมบางส่วนพยายามบอกกล่าว แต่ในความเป็นจริงมันไม่เคยมีให้คนเหล่านี้ การขับรถผ่านคนเหล่านี้ มองไม่เห็นเขาบ้าง ขับชนเขาบ้างแล้วจากไป หรือบางทีก็เลื่อนกระจกมามองดูเหมือนเขาเป็นตัวประหลาดอะไรสักอย่าง

หากเรายังเหยียบย่ำ ลดค่าความเป็นมนุษย์ของผู้อื่น เพียงเพราะเขาไม่เหมือนกับเรา ปล่อยปละ ละเลย เพิกเฉย ด้วยคิดว่าไม่ใช่หน้าที่ และปล่อยให้ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะเหล่านั้นกลายเป็นเพียง “ขยะ” ที่รอการเก็บกวาดจากสังคม สุดท้าย เราคงไม่เหลือความเป็น มนุษย์ เช่นเดียวกัน

 

อัจฉรา สรวารี /เขียนและเรียบเรียง

หมายเลขบันทึก: 388497เขียนเมื่อ 27 สิงหาคม 2010 11:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 03:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

การเพิกเฉยเนี่ย หมายถึงการเหยียบย่ำเหรอครับ

การเพิกเฉย ก็คือการปล่อยให้คนอื่นเหยียบย่ำ โดยไม่ร้องเตือน จึงไม่ต่างอะไร กับการเหยียบย่ำด้วยตัวเอง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท