เรื่องเล่าจาก...การอบรมฟื้นฟูวิชาการวิสัญญีพยาบาล ครั้งที่ 42 (2)


เวทีนี้นอกจากจะเป็นเพียงวิชาการ ช่วงการอภิปรายซักถามจึงเป็นเวทีพี่น้องสำหรับวิสัญญีแพทย์และวิสัญญีพยาบาลที่จะได้รับทราบความในใจของกันและกันอีกด้วย... เรียกว่า ได้เปิดอกคุย...

ผู้เขียนได้เข้าอบรมฟื้นฟูวิชาการวิสัญญีพยาบาล ครั้งที่ 42 ซึ่งจัดโดยราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย วันที่ 23 - 27 สิงหาคม 2553 ณ ห้องประชุมเฉลิม พรมมาส ตึก อปร. คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การบรรยายเป็นการทบทวนเนื้อหาทางทฤษฎีวิชาการทางวิสัญญีวิทยาในเรื่องของการระงับความรู้สึกผู้ป่วยกลุ่มโรคต่างๆ โดยเฉพาะการเน้นย้ำความรู้ใหม่ๆที่บางส่วนมีการปรับเปลี่ยนไป

อาจารย์ผู้บรรยายพยายามดึงประเด็นสำคัญที่มีจากประสบการณ์จริงในทางปฏิบัติมาเล่าสู่กันฟังเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานพึงระมัดระวัง ซึ่งมีประโยชน์ต่อวิสัญญีพยาบาลในการได้ทบทวนความเหมาะสมของการปฏิบัติงานที่ตนทำอยู่ในทุกๆวัน

ทีมวิสัญญีบางโรงพยาบาลมีทั้งวิสัญญีแพทย์และวิสัญญีพยาบาล แต่บางโรงพยาบาลมีเพียงวิสัญญีพยาบาลซึ่งต้องให้บริการภายใต้การกำกับดูแลของศัลยแพทย์หรือแพทย์สาขาอื่น ซึ่งก็คือความเสี่ยงที่อาจเกิดข้อผิดพลาดได้หากมีการประเมินที่ไม่ครอบคลุม ขาดหลักวิชาการที่ถูกต้องและทันสมัยรองรับ ขาดผู้ชำนาญกว่าเป็นที่ปรึกษา รวมทั้งอาจขาดทักษะบางอย่างที่ได้จากการปฏิบัติบ่อยๆเพราะขาดโอกาส เช่นโรงพยาบาลที่มีการผ่าตัดน้อยอาจทำให้วิสัญญีพยาบาลขาดทักษะของการใส่ท่อช่วยหายใจ

เวทีนี้นอกจากจะเป็นเพียงวิชาการ ช่วงการอภิปรายซักถามจึงเป็นเวทีพี่น้องสำหรับวิสัญญีแพทย์และวิสัญญีพยาบาลที่จะได้รับทราบความในใจของกันและกันอีกด้วย... เรียกว่า ได้เปิดอกคุย...

ผู้เขียนได้อ่านหนังสือแจก เรื่อง

“สบาย สบาย... ไร้กังวลกับการให้ Sedation and Analgesia(S/A)” ด้วย แนวทางปฏิบัติทางคลินิกในการให้ S/A โดยผู้ที่มิใช่วิสัญญีแพทย์

ซึ่งเขียนโดยศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงเพลินจิตต์ ศิริวันสาณฑ์ ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมการควบคุมดูแลเกี่ยวกับการผลิตและการใช้บุคลากรในการให้บริการทางวิสัญญีวิทยาแก่ประชาชนของกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2550 – ปัจจุบัน

ในหน้า (5) จากผู้เขียน  อ่านแล้วสะดุดใจ ขอนำมาบันทึกเก็บเป็นอุทาหรณ์...เตือนตน

                                        จากผู้เขียน

          การจัดทำแนวทางปฏิบัติทางคลินิกเกี่ยวกับการให้ Sedation-Analgesia(S/A) ผู้เขียนมุ่งหวังให้เป็นคู่มือแก่แพทย์ทั่วไปและพยาบาลที่จำเป็นต้องร่วมมือกันให้ S/A แก่ผู้ป่วย ซึ่งปัจจุบันเป็นที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง เพราะผู้ใช้เห็นว่าใช้ง่ายได้ผลเป็นที่พึงพอใจทั้งผู้ป่วยและผู้ให้ยาโดยที่ไม่ค่อยจะคำนึงถึงหรือคาดถึง อันตรายแฝงที่จะเกิดได้จากพฤติกรรมการให้ยา  เมื่อมีการใช้ยาบ่อยขึ้นก็พบอันตรายบ่อยขึ้น และอันตรายนั้นก็ถึงกับทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้

          แนวทางปฏิบัตินี้น่าจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการให้ยา S/A ให้รัดกุม และระมัดระวังยิ่งขึ้น หลังจากที่ได้เรียนรู้ลักษณะการออกฤทธิ์ของยาและอันตรายแฝงที่อาจเกิดขึ้น

         แนวทางปฏิบัตินี้น่าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง สำหรับแพทย์จบใหม่ ซึ่งในขณะเรียนมีเนื้อหาวิชาแพทย์มากมาย โอกาสที่จะได้เรียนรู้ยา S/A น้อยมาก แต่เมื่อจบไปปฏิบัติงานกลับต้องใช้ยากลุ่มนี้แทบทุกวัน (ยานอนหลับ ยาระงับปวด : Sedative, Hypnotic, Narcotics หรือ opioids)

         แนวทางปฏิบัตินี้น่าจะเป็นประโยชน์ สำหรับพยาบาลวิชาชีพ ซึ่งเป็นผู้ให้ยาแก่ผู้ป่วยโดนตรงจากคำสั่งแพทย์ ทั้งๆที่พฤติกรรมการให้บางวิธี (ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ) ก็มิได้มีกฎหมายรองรับ เพียงแต่อนุโลมกันเองว่าให้ทำได้เพราะขาดแคลนบุคลากร อย่างน้อยแนวทางปฏิบัตินี้ก็จะช่วยประกอบการพิจารณาตัดสินใจให้ยาอย่างถูกต้อง มั่นใจ เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยและสวัสดิภาพของผู้ให้

         หลังจากการปฏิบัติงานอย่างถูกต้องจนมีประสบการณ์ดี พยาบาลก็จะเป็นหลักที่ดีแก่แพทย์จบใหม่ ซึ่งหมุนเวียนเปลี่ยนกันมาทำงานทุกปี ความปลอดภัยของผู้ป่วยก็จะดีขึ้นด้วย

         แนวทางปฏิบัติเล่มนี้ ถ้าเกิดประโยชน์ ลดอันตรายต่อผู้ป่วยอันเป็นกุศลจากผลกรรมดี ผู้เขียน ขอมอบแก่แพทย์-พยาบาล ผู้นำไปปฏิบัติจนผู้ป่วยปลอดภัย

 

                                                               เพลินจิตต์ ศิริวันสาณฑ์ 

                                                                    กรกฏาคม 2552 

 

"ของฝากจาก สวนลุมพินี"

หมายเลขบันทึก: 388159เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2010 23:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

* น้องๆ มาฟ้องว่า เจ๊...วิ่งไปวิ่งมา ถ่ายรูปไม่รู้เหน็ดเหนื่อย จริงแมะ

ฮาๆๆๆ....แม่กระดังงา

ไม่ยักกะรู้ว่าแม่กระดังงาส่งน้องมาคุมประพฤติพี่

น้องคนไหนหนอ...(เป็นยายน้องขี้ฟ้อง...) ต้องจับมาตีก้น...อิอิ ^_^

คิดถึงพวกเราเสมอจ้า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท