การเบิกจ่ายค่าตอบแทน กับการเบิกค่าเวรคิดต่างกันอย่างไร ๘ กค ๕๔


การเบิกจ่ายค่าตอบแทน กับการเบิกค่าเวร

เป็นคำถามที่นำมาจากชมรมผู้บริหารการพยาบาล โรงพยาบาลชุมชน

การจ่ายค่าตอบแทนค่าเวรพยาบาลผลัดเวรบ่าย/ดึก


จากคำสั่งด่วนที่สุดที่สธ0201.042.1/ว100 วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2552

เรื่องหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการจ่ายเงินค่าตอบแทน หน้า5 ข้อ 3.2

สรุปใจความว่า พยาบาลที่ขึ้นเวรผลัดบ่าย/ดึกที่ไม่ใช่เวร OT

จะได้รับค่าผลัดเวรละ 240 บาท แต่ที่โรงพยาบาลของดิฉัน

(โรงพยาบาลชุมชน) ใช้เวรบ่าย/ดึกของพยาบาลมาเป็น OT

ทำให้ขาดการได้รับค่าอยู่เวรผลัดบ่าย/ดึก ทั้งที่เป็นเวรผลัดบ่าย/ดึก

ที่ต้องทำงานตามตารางที่ถูกจัดไว้ให้ในแต่ละเดือนอยู่แล้ว

ไม่ได้เป็นเวร OT เสริมเวรหรือ OT ทดแทนพยาบาลที่ลาป่วยหรือลากิจ

 ตอบคำถาม

การคิดว่าวันไหนเป็นวันที่ได้ค่าตอบแทนล่วงเวลาจำเป็นต้องคำนวณ

จากความต้องการวันทำการของพยาบาลในแต่ละเวร

และเมื่อคำนวณแล้วจะได้วันทำการที่พยาบาลต้องปฏิบัติงานลบวัน

ที่ต้องทำการจริง ส่วนที่เกินคือวันที่ได้OT แต่ไม่สามารถใช้เวรเช้าเป็นเวรOT

ทั้งหมดหากใช้วันที่ขึ้นบ่าย ดึก เป็นวันที่ขึ้นOT แล้วจะไม่สามารถนำมาคิด

เป็นเวรบ่าย ดึก ได้ค่ะ

แนวทางในการคำนวณการจ่ายค่าตอบแทนกรณีจัดเวรเป็นผลัด

พี่ได้นำเอกสารแนวทางการคิดมาให้ดูค่ะ

ในการพิจารณาเพื่อกำหนดเวรที่จัดเป็นผลัดเพื่อจ่ายค่าตอบแทน

เป็นเวรที่ได้รับค่าตอบแทนนอกเวลา ต้องคำนึงถึงระเบียบข้างต้นและระเบียบ

ที่เกี่ยวข้องในเรื่องการจ่ายค่าตอบแทนคือ “เงินตอบแทน” หมายความว่า

เงินที่จ่ายให้แก่ ข้าราชการที่ปฏิบัติงานตามหน้าที่ปกติ

โดยลักษณะงานส่วนใหญ่ต้องปฏิบัติงานในที่ตั้งสำนักงานและ

ได้ปฏิบัติงานนั้นนอกเวลาราชการในที่ตั้งสำนักงาน

หรือโดยลักษณะงานส่วนใหญ่ต้องปฏิบัติงานนอก ที่ตั้งสำนักงาน

และได้ปฏิบัติงานนั้นนอกเวลาราชการ นอกที่ตั้งสำนักงาน

และหรือโดยลักษณะงานปกติต้องปฏิบัติงานในลักษณะเป็นผลัดหรือกะและ

ได้ปฏิบัติงานนั้นนอกผลัดหรือกะของตน”


“การปฏิบัติงานเป็นผลัดหรือกะ หมายความว่า การปฏิบัติงานประจำตามหน้าที่ปกติ

ของ ข้าราชการในส่วนราชการนั้น ๆ ซึ่งจัดให้มีการปฏิบัติงานผลัดเปลี่ยนหมุนเวียน

กันตลอด 24 ชั่วโมง ช่วงเวลาที่ปฏิบัติงาน ดังกล่าวถือเป็นเวลาราชการปกติของ

ข้าราชการผู้นั้น ทั้งนี้ การปฏิบัติงานในผลัดหรือกะหนึ่ง ๆ

ต้องมีเวลาไม่น้อยกว่า 7 ชั่วโมง (ไม่รวมเวลาหยุดพัก)”


การเบิกจ่ายค่าตอบแทนนอกเวลาต้องถือปฏิบัติดังนี้


1. ต้องได้รับอนุมัติจากหัวหน้าส่วนราชการเจ้าของงบประมาณ

ให้ให้พิจารณาเฉพาะช่วงเวลาที่จำเป็น เพื่อประโยชน์ของทางราชการเป็นสำคัญ

ให้คำนึงถึงความเหมาะสมและสอดคล้องกับระบบและ

วิธีการงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน


2. กรณีที่มีราชการจำเป็นเร่งด่วนต้องปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ

ให้ดำเนินการขออนุมัติจากผู้มีอำนาจโดยไม่ชักช้า

และให้แจ้งเหตุแห่งความจำเป็นที่ไม่อาจขออนุมัติก่อนได้


3. ข้าราชการได้รับคำสั่งให้เดินทางไปราชการไม่มีสิทธิได้รับเงินตอบแทน

นอกเวลาราชการ เว้นแต่ ได้รับอนุมัติให้ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ

ก่อนการเดินทาง เมื่อการเดินทาง ไปราชการนั้นเสร็จสิ้นหรือเสร็จสิ้น

การฝึกอบรมในแต่ละวันและกลับถึงสำนักงานในวันเดียวกัน


4. การปฏิบัติงานนอกเวลาราชการหลายช่วงเวลาภายในวันเดียวกันให้นับเวลา

ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการทุกช่วงเวลารวมกัน เพื่อเบิกเงินตอบแทนสำหรับวันนั้น


5. การปฏิบัติงานนอกเวลาราชการที่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนอื่นของทางราชการ

สำหรับการปฏิบัติงานนั้นแล้ว ให้เบิกได้ทางเดียว


6. การกำหนดวันสำหรับการเบิกจ่ายค่าตอบแทนนอกเวลาราชการสำหรับผู้ปฏิบัติ

งานเป็นผลัด ให้กำหนดตามความจำเป็นและสัดส่วนของการขึ้นปฏิบัติงานจริง

ไม่สามารถกำหนดเฉพาะเวรใดเวรหนึ่งเป็นวันที่เบิกจ่ายค่าตอบแทนนอกเวลา

ราชการ ยกเว้นในการขึ้นปฏิบัติงานทั้งเดือนเป็นประเภทเดียวกันทั้งเดือน


ตัวอย่างการคำนวณเวรเพื่อการนำมากำหนดเป็นเวรรับค่าตอบแทนนอกเวลา


สมมุติ เดือน ตุลาคมใน งานผู้ป่วยใน


1. นำจำนวนวันทำการและวันหยุดมาเป็นพื้นฐานในการคำนวณจำนวนวันทำการ
มีวันทำการจำนวน 22 วัน มีวันหยุด 9 วัน
•มีเจ้าหน้าที่ลาพักร้อน 3 คน ( 5 วัน/4วัน/4วัน รวม 12 วัน)
•มีเจ้าหน้าที่ไปประชุม 2 คน คนละ 3 วัน รวม 6 วัน


2. จำนวนปริมาณงานมาเป็นพื้นฐานในการคำนวณความต้องการพยาบาลในแต่ละเวร
•ผลจากการคำนวณ FTE ในเดือนที่ผ่านมา ต้องการจำนวนพยาบาล และการกำหนดสัดส่วนของพยาบาลวิชาชีพ ต่อ ผู้ช่วยเหลือคนไข้
มีความต้องการพยาบาล เวรเช้า = 7 คน / เวร
เวรบ่าย = 3 คน / เวร
เวรดึก = 3 คน /เวร


3. ปริมาณเวรที่ต้องการในเดือน ตุลาคม
วันราชการ เวรเช้า = 22x 7 = 154 เวร
เวรบ่าย = 22x 3 = 66 เวร
เวรดึก = 2x3 = 66 เวร
รวมวันราชการ = 286 เวร
วันหยุดราชการ
เวรเช้า =9 x 5 = 45 เวร
เวรบ่าย =9x 3= 27 เวร
เวรดึก =9x2 = 18 เวร
รวมวันหยุด = 90 เวร
รวมเวรวันราชการและวันหยุด 376 เวร
รวม เวรเช้า = 199 เวร
เวรบ่าย = 93 เวร
เวรดึก = 84 เวร


4. จำนวนเจ้าหน้าที่ ที่มีในหน่วยงาน และจำนวนชั่วโมงการทำงานของเจ้าหน้าที่
•งานผู้ป่วยในมีเจ้าหน้าที่ 12 คน ( รวมหัวหน้างาน)
•เจ้าหน้าที่ 1 คนมีวันทำงาน 22 วันทำการ
•รวมวันทำการของเจ้าหน้าที่ในงานผู้ป่วยใน = 12 x 22 = 264 เวร


5. จำนวนเวรที่เจ้าหน้าที่ได้รับค่าล่วงเวลา เท่ากับ
รวมเวรวันราชการและวันหยุด 376 เวร
วันลาพักร้อนและวันที่เจ้าหน้าที่เข้าประชุม 17 เวร
รวมวันทำการของเจ้าหน้าที่ในงานผู้ป่วยใน = 12 x 22 = 264 เวร
OT = 376 – 264 = 112 เวร
สัดส่วน OT ในแต่ละเวร
เวรเช้า = 112 *199 /376 = 59.27 เวร
เวรบ่าย = 112*93/376 = 27.7 เวร
เวรดึก = 112*84/376 = 25 เวร
OT วันหยุดลาพักร้อน 12 เวรเป็น เวรเช้า = 6 เวร เวรบ่าย = 3 เวร เวรดึก = 3 เวร
OT เวรผู้เข้าร่วมประชุม 6 เวร เป็น เวรเช้า = 4 เวร เวรบ่าย = 2 เวร
สรุปOT
เวรเช้า = 59.27 + 6+4 = 69 เวร
เวรบ่าย = 27.7+ 3+2 = 33 เวร
เวรดึก = 25 +3 = 28 เวร

ขอรับความขอบคุณ จากพี่กรรณิการ์ โรงพยาบาลชัยบาาดาล

หมายเลขบันทึก: 388116เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2010 19:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กรกฎาคม 2014 15:07 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

อยากทราบคำจำกัดความของคำว่าพยาบาลเวรผลัดค่ะ ว่าต้องขึ้นเวรอย่างไรจึงถือว่าขึ้นเวรผลัด....ที่ รพ.ของดิฉัน คนที่เป็นหัวหน้าหอผู้ป่วยต่างๆ จะขึ้นเวรเช้าเกือบทุกวัน และบางวันก็มีขึ้นเวร บ่าย/ดึก บ้าง เดือนละ 6-7 เวร ( เวรที่ขึ้น เช้า= 20 เวร , บ่าย= 5 เวร ดึก=2 เวร) แบบนี้ถือว่าขึ้นเวรผลัดหรือเปล่าค่ะ.... เพราะเขาอ้างว่าเป็นการขึ้นเวรผลัดและเบิกทั้งค่าเวร และ OT โดยจะเบิก OT ในเวรที่เป็นเวรเช้า และเบิกค่าเวรในเวรที่ขึ้นบ่าย/ดึก อยากรู้ว่าเบิกแบบนี้ถูกต้องหรือไม่ เพราะไม่มีที่ รพ.ไหนทำแบบนี้เลยค่ะ ... คนที่ Fix เช้าแล้วต้องมาขึ้นเวร บ่าย/ดึก ที่ รพ.อื่นทำอยู่ก็เบิกเฉพาะค่า OT เท่านั้น...ขอความกรุณาตอบด้วยนะค่ะ ดิฉันไม่ทราบว่าจะหาคำตอบได้ที่ใด...ขอบคุณค่ะ

อันนี้ ต้องขออนุญาติให้ เรียนถามพี่กรรณิการ์ ปัญญาอมรวัฒน์ เลขาธืการสภาการพยาบาล ใน เวบ ชมรมผู้บริหารการพยาบาล

โรงพยาบาลชุมฃน น่าจะชัดเจนคะ

มาดี ฉัตรมาลัรีตน์

ยังไม่ไข้ใจวิธีคิดเวร O.T อยู่ดีค่ะ เพราะพวกหนูเป็นกลุ่มพยาบาลที่ขึ้นเวรบ่าย-ดึก เวลาคิดตามความเข้าใจของตัวเอง ก็จะนำเอาจำนวนเวรทั้งหมดที่ได้รับมอบหมาย-จำนวนวันหยุด เพราะฉะนั้นที่เหลือก็คือเวร OT. ใช่มั๊ยคะ ที่นี้คำถามตามมาก็คือ การตั้งเบิกเวร OT ที่รพ.คิดเพือทำเบิก จะนำเวรที่เป็นช/บ หรือ ช/ด มานับเป็นเวร OT โดยที่จะคิดเวรบ่าย หรือเวรดึกที่ขึ้นคู่กัน มานับเป็นเวร OT ทำให้พวกหนูไม่ได้รับค่าอาหารเวรบ่าย/ดึก ซึ่งเป็นเวรผลัด สำหรับการคิดเช่นนี้ถูกหรือไม่ เพราะพวกหนูไม่ได้ขึ้นเวรลอยเช้า แต่เป็นกลุ่มที่ขึ้นปฏิบัติงานผลัดบ่าย-ดึก นอนไม่เป็นเวลา กิจวัตรประจำวันก็ไม่ปกติเหมือนคนทั่วไป มีความคิดว่าไม่ยุติธรรมเลย

อยากขอคำชี้แนะ ให้หายสงสัยด้วยค่ะ

สวัสดีคะ น้องมาลี การเบิกค่าตอบแทนนอกเวลาราชการ ตามที่น้องถามพี่เอ๋ ก็คงเหมือนหลายโรงพยาบาล

ที่ประสบปัญหาอยู่ บ้าง ความจริงตามหลักการ คือตามที่พี่เอ๋ อธิบาย ข้างต้น หากหัวหน้าพยาบาล มีความเข้าใจในหลักการ

และ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล กล้าที่จะยอมรับฟังตามเหตุผล ค่าตอบแทนนอกเวลาราชการของน้องที่ขึ้นเวรผลัดบ่าย ดึก

จะมีทั้ง เวรเช้า เวรบ่าย และเวรดึก คละกันไป ตามอัตรากำลังที่ คำนาณข้างต้น

ส่วนที่เอาเวรบ่าย และดีก มาเป็น ค่าตอบแทน โดยตัดค่าเวร เป็นความไม่ชอบธรรม ทีหัวหน้าพยาบาลต้อง

มีวิธีการที่จะ ชี้แจง ซึ่ง ต้องเหตุผล กันมากพอสมควร เพราะผู้อำนวยการโรงพยาบาล บางท่าน

คิดว่า ค่าเวรเพียงเล็กน้อย เป็นวิธีการแก้ปัญหา การเงินโรงพยาบาล เพื่อนำเงินส่วนหนึ่งที่ไม่มากไปทำเรื่องอื่นๆ

ซึ่งวิธีการคิด ค่าตอบแทน ตรงกันข้ามกับโรงพยาบาล ของน้อง KKI 35

ขอบพระคุณมากค่ะ  อยากทราบว่านอกจากการตั้งเบิกตามกฎกระทรวงการคลังแล้วเรายังอิงกับคำสั่งอื่นอีกมั๊ยคะ ถ้ามีสามารถสืบค้นได้จากที่ไหน

อย่าให้เพิ่มoTค่ะเท่ากับเอกชน เพราะค่าครองชีพแพงมากค่ะ

สวัสดีคะน้องฟ้า

ตอนนี้ที่โรงพยาบาลหนองจิก ได้รับค่าตอบแทนอยุ่ที่ ๖๐๐ บาท ต่อเวร คะ

ถ้าไม่ใช่ในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนน่าอยู่ที่ ๕๐๐ บาท

ส่วนจะเท่ากับเอกชน คงอีกนาน...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท