“ชุมชนจะพึ่งตนเองได้อย่างไร”
นักพัฒนามักจะบอกกับคนอื่นๆ เสมอว่าความสำเร็จของการพัฒนาชนบทนั้น มักจะวัดจากความสามารถของการพึ่งตนเองของชุมชนเป็นสำคัญ แต่กว่าการพัฒนาจะสำเร็จได้นั้นไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนัก เนื่องจากกระแสโลกาภิวัฒน์ ที่มากับภาวะความทันสมัยได้นำเอาระบบทุนนิยมเข้ามาสู่ชุมชนอย่างมิอาจปิดกั้นได้ตามแนวทางการพัฒนาประเทศ ได้พยายามนำเอาความสะดวกสบายทุกสิ่งทุกอย่างสำหรับประชาชนในการดำเนินชีวิต หรือที่เราเรียกรวมๆ ว่า “เทคโนโลยี” ดังนั้นจึงส่งผลให้ประชาชนที่มีระดับความพร้อม และการรับรู้ที่ไม่เท่าทัน ได้รับเอามาโดยไม่ได้พิจารณากลั่นกรองอย่างรอบครอบ จึงส่งผลให้เกิดภาวะหนี้สินตามมาอย่างมากมายซึ่งรายได้ที่หามาได้ก็ไม่เพียงพอกับรายจ่าย ดังนั้น ถึงเวลาแล้วที่พวกเราทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่มีบทบาทในการกำหนดนโยบาย นักวิชาการ นักพัฒนาทั้งภาครัฐและเอกชน ผู้นำชุมชน ประชาชน และเกษตรกร ต้องมาช่วยกันในการบูรณาการองค์ความรู้เพื่อพลิกฟื้นวิถีชีวิตของคนในชุมชน ให้ตระหนักถึงความเป็นอยู่อย่างพอเพียงตามแนวพระราชดำริ โดยหวนกลับมาซ่อมแซม ตลอดการปลูกฐานรากทางเศรษฐกิจของตนเองให้ให้มีความแข็งแรง ซึ่งจะสามารถยืนหยัดได้ด้วยตนเองในชุมชน และเมื่อถามถึงเวลานี้ล่ะจะทำอย่างไรเล่าที่จะทำให้คนในชุมชนสามารถฟื้นฟูการพึ่งตนเองได้ เนื่องจากถลำลึกกับกระแสทุนนิยมแล้ว ผมใคร่ขอเสนอแนะดังนี้ ครับ
1. ต้องสร้างกระบวนการให้ชุมชนเข้มแข็ง โดยคนในชุมชนมีส่วนร่วม
2. ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีอย่างเป็นระบบ3. ส่งเสริมกระบวนการสร้างทุนในชุมชน ตลอดทั้งสวัสดิการชุมชน
4. จัดตั้งศูนย์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การวิจัย และการสื่อสารของชุมชน
5. จัดกระบวนการด้านอาชีพที่หลากหลาย ตลอดทั้งการวางแผนด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
6. การเชื่อมโยงธุรกิจชุมชน กับระบบเศรษฐกิจมหภาคอย่างเกื้อกูล
จากแนวทางดังกล่าวน่าจะเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะสามารถผลักดันให้ชุมชน กินดีอยู่ดีสามารถพึ่งตนเองได้
สวัสดี
อุทัย อันพิมพ์