Praepattra
ผู้ช่วยศาตราจารย์ Praepattra Kiaochaoum

โครงการพัฒนาวิชาการ การสอนและการวิจัยสำหรับอาจารย์ใหม่


หลักการและเหตุผล   

หลักสูตร กระบวนการเรียนการสอน  การวัดและประเมินผลการเรียนการสอน  เป็นองค์ประกอบที่เป็นหัวใจของการจัดการศึกษาของสถาบันการศึกษาทุกแห่ง  ในการพัฒนาบัณฑิตที่มีคุณภาพ  อาจารย์ทุกคนในสถาบันจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรู้และความเข้าใจในองค์ประกอบดังกล่าวเป็นอย่างดี  และสามารถจัดการกับองค์ประกอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ  อาจารย์ต้องพัฒนาตนเองหรือได้รับการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง  ทั้งนี้เพราะความรู้มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก  ทักษะการเรียนการสอนที่เคยมีอยู่ในอดีต  อาจจะนำมาใช้ในปัจจุบันหรือในอนาคตไม่ได้ อาจารย์มหาวิทยาลัยต้องพัฒนาตนเองสู่การเป็นอาจารย์มืออาชีพ

การจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับอาจารย์เข้าใหม่ เป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยให้อาจารย์ได้เข้าใจและเพิ่มพูนความรู้ทักษะที่เกี่ยวกับการเรียนและการสอน  การวัดผล การประเมินผล  การวิจัย การเป็นอาจารย์ที่ปรึกษานักศึกษา บทบาทของอาจารย์ที่มีต่อการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย และ ความถึงพร้อมด้วยการมีจรรณยาบรรณอาจารย์  เป็นซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถาบันและคุณภาพบัณฑิต

วัตถุประสงค์หลัก

  1. เพื่อให้อาจารย์ได้ทราบถึงนโยบายในการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยด้านต่างๆ
  2. เพื่อให้อาจารย์ได้เพิ่มพูนสมรรถนะด้านการเรียนการสอนการวัดและประเมินผลการเรียนการสอน และ การพัฒนาสื่อการสอนและเอกสารการสอนที่มีคุณภาพ
  3. เพื่อพัฒนาให้อาจารย์ได้เพิ่มพูนทักษะการวิจัยในการพัฒนาการเรียนการสอน
  4. เพื่อให้อาจารย์ได้เข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ของการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
  5. เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือร่วมใจในการพัฒนามหาวิทยาลัยสู่การเป็นองค์กรแห่งความรู้
  6. เพื่อให้อาจารย์ได้เข้าใจในระบบประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัย
  7. เพื่อให้อาจารย์ได้รับการปลูกฝังคุณค่าและค่านิยมการเป็นอาจารย์ที่ดีและมีจรรณยาบรรณอาจารย์

กลุ่มเป้าหมาย (ผู้ได้รับประโยชน์จากโครงการ/กลุ่มเป้าหมาย)

คณาจารย์มหาวิทยาลัยสยามที่เข้าใหม่ในปีการศึกษา 2553

จำนวน 53  คน

 

กิจกรรมของโครงการ

  1. การบรรยาย / อภิปราย
  2. การปฏิบัติงานเดี่ยวและกลุ่มระหว่างการฝึกอบรม
  3. การส่งผลงานเดี่ยวและกลุ่มหลังการฝึกฝึกอบรม

 

ขั้นตอนการดำเนินงาน 

  1. สำรวจจำนวนผู้เข้ารับการอบรมและแจ้งไปยัง คณะวิชาให้ทราบวันเวลาของการฝึกอบรม
  2. ติดต่อวิทยากรและกำหนด  วัน  เวลา  สถานที่  สำหรับการอบรมดำเนินการอบรมเชิงปฏิบัติการรวม 8 วัน คือ วันเสาร์ที่ที่  31  กรกฎาคม, วันเสาร์ที่7, 14, 21, 28 สิงหาคม วันเสาร์ที่ 4, 11 และ 18  กันยายน  2553
  3. ติดตามผลงานเดี่ยวและกลุ่มของอาจารย์ผู้เข้าฝึกอบรม
  4. ประเมินผลการฝึกอบรมและสรุปรายงานผล

 

วิธีการประเมินโครงการ

  1. ประเมินผลการฝึกอบรมของอาจารย์แต่ละคน ประกอบด้วย

2.1    จำนวนเวลาที่เข้ารับการฝึกอบรมต้องไม่น้อยกว่า 80 %

2.2    งานที่ได้รับมอบหมายจากวิทยากรในช่วงระหว่างการฝึกอบรม

2.3    ผลการประเมินผลงานอาจารย์ผู้เข้าอบรมโดยคณะกรรมการ

2.4    เค้าโครงการสอน เอกสารการสอน (doc/pdf) และ Power Point (ppt) ในรายวิชาที่สอนจริงฉบับครบถ้วนสมบูรณ์

2.5    Concept Paper  หรือ โครงการวิจัย         

  1. ประเมินความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรม โดยใช้แบบประเมินความพึงพอใจ

 

ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ (วัดได้)

  1. จำนวนอาจารย์ผู้เข้ารับการอบรมที่ผ่านเกณฑ์ 80 %  ของเวลาที่เข้าอบรมทั้งหมด 
  2. จำนวนอาจารย์ผู้เข้ารับการอบรมที่ผ่านเกณฑ์ การปฏิบัติงานระหว่างการฝึกอบรม
  3. จำนวนร้อยละของผลงานเดี่ยวและกลุ่มที่ส่งหลังการฝึกอบรมที่อยู่ในระดับดีขึ้นไป

 

ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ (อธิบายได้)

  1. ความพึงพอใจของอาจารย์ผู้เข้ารับการอบรม
  2. ความพึงพอใจของคณะกรรมการที่มีต่อผลงานของอาจารย์ผู้เข้ารับการอบรม

 

ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ (ระบุ วัน เวลา ในการดำเนินการ)

  1. การอบรมภาคทฤษฎีและปฏิบัติ  ในวันเสาร์ที่ที่ 31 กรกฎาคม, วันเสาร์ที่ 7, 14, 21,28  สิงหาคม วันเสาร์ที่ 4, 11 และ 18  กันยายน 2553
  2. ติดตามผลงานเดี่ยวและกลุ่มหลังการฝึกอบรม ระหว่างวันที่ 27  กันยายน – 25  ตุลาคม 2553
  3. ศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนสรุปผลการประเมินอาจารย์และส่งรายงานไปยังฝ่ายทรัพยากรบุคคลและ คณะวิชาที่อาจารย์ผู้เข้าอบรมสังกัด ภายในวันที่ 30  ตุลาคม 2553

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. อาจารย์ได้ทราบแนวนโยบายของมหาวิทยาลัย  เพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน
  2. อาจารย์ได้รับการพัฒนาสมรรถนะการเป็นอาจารย์อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. อาจารย์ได้รับการพัฒนาทักษะ ด้านการพัฒนาหลักสูตร การเขียน มคอ3 และ มคอ 5  การผลิต เอกสารการสอนและสื่อการสอน  การสอน การออกข้อสอบ การวัดผลและการประเมินผล และทักษะการวิจัย
  4. อาจารย์ได้รับการพัฒนาทักษะ การให้คำแนะนำและการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
  5. อาจารย์ได้ทำกิจกรรมร่วมกันก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน  เป็นผลให้เกิดความร่วมมือร่วมใจในการปฏิบัติงาน
  6. อาจารย์ได้เข้าถึงความเป็นอาจารย์ที่พร้อมด้วยจรรยาบรรณอาจารย์

 

สถานที่จัด

  1. อาคารเฉลิมพระเกียรติ 19 ชั้น  19

 

กำหนดการอบรมเชิงปฏิบัติการ (อาจารย์ใหม่)

วันเสาร์ที่ 31  กรกฎาคม  2553 ( ห้อง19-1008 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 19 ชั้น  ตึก19 )

08.30 – 08.50 น.       ลงทะเบียน

09.00 – 09.15 น.       พิธีเปิดอบรม โดย อธิการบดีมหาวิทยาลัยสยาม

09.15 – 10.30 น.       นโยบายมหาวิทยาลัยเกี่ยวกับการพัฒนาอาจารย์ด้านการเรียนการสอน

                             และการวิจัย   

                                      โดย  อธิการบดีมหาวิทยาลัยสยาม

10.30 – 10.45 น.       พักรับประทานอาหารว่าง

10.45 – 12.00 น.       การเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาและระเบียบการวัดผล

                                       โดย  ผศ.ดร.นิ่มนวล ศรีจาด

                                             อาจารย์สุรเดช พฤกษมาศ และ อาจารย์สมิธ วุฒิศักดิ์ 

12.00 – 12.50 น.       พักรับประทานอาหารกลางวัน

12.50 – 13.00 น.       ลงทะเบียน

13.00 – 14.30 น.       โจทย์วิจัยและการพัฒนา Concept papers

                                      โดย  รศ.ดร.มาณี ไชยธีรานุวัฒศิริ และ ผศ..วศิน ปลื้มเจริญ

14.30 – 14.45 น.       พักรับประทานอาหารว่าง

14.45 – 16.30 น.       โจทย์วิจัยและการพัฒนา (ต่อ)

 

วันเสาร์ที่ 7 สิงหาคม 2553  ( ห้อง19-1008 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 19 ชั้น  ตึก19 )

 

08.30 – 08.50 น.       ลงทะเบียน

09.00 – 10.30 น.       รูปแบบและเทคนิคการสอน : Discussion-based Teaching

                                       โดย   ศ.ดร.นิพนธ์ ศุขปรีดี และ ผศ.ดร.จอมพงศ์ มงคลวนิช

10.30 – 10.45 น.       พักรับประทานอาหารว่าง

10.45 – 12.00 น.       การจัดทำ มคอ. 3 และ มคอ. 5

                                      โดย  ผศ.ดร.นิ่มนวล ศรีจาด

12.00 – 12.50 น.       พักรับประทานอาหารกลางวัน

12.50 – 13.00 น.       ลงทะเบียน

13.00 – 14.30 น.       รูปแบบและเทคนิคการสอน : ICT-based Teaching

                                      โดย  ผศ.ดร.ฐาปนีย์ ธรรมเมธา (มหาวิทยาลัยศิลปากร)

14.30 – 14.45 น.       พักรับประทานอาหารว่าง

14.45 – 16.30 น.       รูปแบบและเทคนิคการสอน : ICT-based Teaching (ต่อ)

 

 

 

 

วันเสาร์ที่  14 สิงหาคม 2553  ( ห้อง19-1008 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 19 ชั้น  ตึก19 )

08.30 – 08.50 น.       ลงทะเบียน

09.00 – 10.30 น.       รูปแบบและเทคนิคการสอน : การสอนให้นักศึกษาเกิดทักษะการคิด

                             เพื่อใช้เป็นฐานในการเรียนรู้     โดย  ผศ.ดร.นักรบ  ระวังการณ์

10.30 – 10.45 น.       พักรับประทานอาหารว่าง

10.45 – 12.00 น.       รูปแบบและเทคนิคการสอน : การสอนให้นักศึกษาเกิดทักษะการคิด

                             เพื่อใช้เป็นฐานในการเรียนรู้  (ต่อ)

12.00 – 12.50 น.       พักรับประทานอาหารกลางวัน

12.50 – 13.00 น.       ลงทะเบียน

13.00 – 14.30 น.       การประเมินและเสนอ Concept papers

                                      โดย รศ.ดร.มาณี ไชยธีรานุวัฒศิริ และ ผศ.วศิน ปลื้มเจริญ

14.30 – 14.45 น.       พักรับประทานอาหารว่าง

14.45 – 16.30 น.       การประเมินและเสนอ Concept papers (ต่อ)

 

วันเสาร์ที่  21 สิงหาคม  2553  ( ห้อง19-1008 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 19 ชั้น  ตึก19 )

08.30 – 08.50 น.       ลงทะเบียน

09.00 – 10.30 น.       รูปแบบและเทคนิคการสอน : Problem-based Teaching

                                       โดย รศ.ดร.นาตยา ปิลันธนานนท์ (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)

10.30 – 10.45 น.       พักรับประทานอาหารว่าง

10.45 – 12.00 น.       รูปแบบและเทคนิคการสอน : Problem-based Teaching (ต่อ)

12.00 – 12.50 น.       พักรับประทานอาหารกลางวัน

12.50 – 13.00 น..      ลงทะเบียน

13.00 – 14.30 น.       การประกันคุณภาพการศึกษา

                                      โดย  พลเรือตรีหญิง ดร.สุภัทรา เอื้อวงศ์

14.30 – 14.45 น.       พักรับประทานอาหารว่าง

14.45 – 16.30 น.       เทคนิคการผลิต Courseware และ Handout ด้วยสื่อ ICT อย่างมีคุณภาพ

                                      โดย  ผศ.ดร.ศรีไพร ศักดิ์รุ่งพงศากุล และ ดร.บุญส่ง หาญพานิช

 

วันเสาร์ที่ 28 สิงหาคม 2553 ( ห้อง19-1008 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 19 ชั้น  ตึก19 )

08.30 – 08.50 น..      ลงทะเบียน

09.00 – 10.30 น.       การพัฒนาโครงเสนอวิจัย: องค์ประกอบของโครงเสนอ

                                      โดย  รศ.ดร.มาณี ไชยธีรานุวัฒศิริ และ ผศ.วศิน ปลื้มเจริญ

10.30 – 10.45 น.       พักรับประทานอาหารว่าง

10.45 – 12.00 น.       การพัฒนาโครงเสนอวิจัย: องค์ประกอบของโครงเสนอ (ต่อ)

12.00 – 12.50 น.       พักรับประทานอาหารกลางวัน

12.50 – 13.00 น.       ลงทะเบียน

13.00 – 14.30 น.       การพัฒนาโครงเสนอวิจัย: วิธีการดำเนินวิจัย                        

                                      โดย  รศ.ดร.มาณี ไชยธีรานุวัฒศิริ และ ผศ.วศิน ปลื้มเจริญ

14.30 – 14.45 น.       พักรับประทานอาหารว่าง

14.45 – 16.15 น.       การพัฒนาโครงเสนอวิจัย: วิธีการดำเนินวิจัย (ต่อ)

วันเสาร์ที่ 4 กันยายน 2553 ( ห้อง19-1008 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 19 ชั้น  ตึก19 )

 

08.30 – 08.50 น.       ลงทะเบียน

09.00 – 10.30 น.       รูปแบบและเทคนิคการสอน : Inquiry-based Teaching

                                      โดย ผศ.ดร.นฤมล ยุตาคม (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)

10.30 – 10.45 น.       พักรับประทานอาหารว่าง

10.45 – 12.00 น.       รูปแบบและเทคนิคการสอน : Inquiry-based Teaching (ต่อ)

12.00 – 12.50 น.       พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00 – 15.00 น.       สหกิจศึกษาและการเป็นอาจารย์พี่เลี้ยง

                                       โดย รศ.ดร.ธนวดี บุญลือ และ  ผศ.ดร.ชลลดา มงคลวนิช

15.00 – 15.15 น.       พักรับประทานอาหารว่าง

15.15 – 16.15 น.       สหกิจศึกษาและการเป็นอาจารย์พี่เลี้ยง (ต่อ)

16.15 – 17.00 น.       เศรษฐกิจพอเพียง

                                       โดย ชูเกียรติ ชูโต

 

วันเสาร์ที่ 11 กันยายน 2553 ( ห้อง19-1008 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 19 ชั้น  ตึก19 )

 

 

08.30 – 08.50 น.       ลงทะเบียน

09.00 – 10.30 น.       รูปแบบและเทคนิคการสอน: Team Teaching & Large Class Teaching

                                       โดย รศ.ดร.นาตยา ปิลันธนานนท์ (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)

10.30 – 10.45 น.       พักรับประทานอาหารว่าง

10.45 – 12.00 น.       รูปแบบและเทคนิคการสอน: Team Teaching & Large Class Teaching (ต่อ)

12.00 – 12.50 น.       พักรับประทานอาหารกลางวัน

12.50 – 13.00           ลงทะเบียน

13.00 – 14.30 น.       การวัดและประเมินผลการสอน

                                      โดย  ดร.ราชันย์ บุญธิมา  (มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ)

14.30 – 14.45 น.       พักรับประทานอาหารว่าง

14.45 – 16.00 น.       การวัดและประเมินผลการสอน (ต่อ)

16.00 – 17.15 น.       วินัยนักศึกษาและกิจกรรมนักศึกษา

                                      โดย  ดร.อุษณีย์ เจริญพิพัฒน์  ดร.ประเสริฐ อหิงสโก และ

                                              อาจารย์นลินี สุตเศวต     

 

วันเสาร์ที่ 18 กันยายน 2553 ( ห้อง19-1008 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 19 ชั้น  ตึก19 )

 

 08.30 – 08.50 น.       ลงทะเบียน

09.00 – 10.30 น.       การประเมินและการนำเสนอโครงการเสนอ : ประเมินระหว่างผู้นำเสนอ

                             และการนำเสนอแบบสุ่ม

                                      โดย  รศ.ดร.มาณี ไชยธีรานุวัฒศิริ และ ผศ.วศิน ปลื้มเจริญ

10.30 – 10.45 น.       พักรับประทานอาหารกลางวัน

10.45 – 12.00 น.       การประเมินและการนำเสนอโครงการเสนอ : ประเมินระหว่างผู้นำเสนอ

                             และการนำเสนอแบบสุ่ม (ต่อ)

12.00 – 12.50 น.       พักรับประทานอาหารกลางวัน

12.50 – 13.00 น.       ลงทะเบียน

13.00 – 14.30 น.       หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  

                                       โดย ดร.ปรียานุช พิบูลสราวุธ

14.30 – 14.45 น.       พักรับประทานอาหารกลางวัน

14.45 – 16.15 น.       หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (ต่อ)

16.15 – 16.20 น.       ปิดการอบรม

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท