มาตรฐานการป้องกันอันตรายจากรังสีและมาตรการความปลอดภัยทางรังสี


การป้องกันอันตรายจากรังสี

มาตรการความปลอดภัย
       1. ห้องที่ติดตั้งเ ครื่องกำเนิดรังสี ต้องมีระดับรังสี ณ ตำแหน่งต่างๆ เป็นไปตาม
           มาตรฐานความปลอดภัยทางรังสี
       2. เครื่องกำเนิดรังสี ต้องมีระบบ เปิด –ปิด เครื่องด้วยกุญแจ ซึ่งถูกเก็บรักษาไว้
           อย่างปลอดภัย หรือมีระบบอื่นที่เทียบเท่า เพื่อป้องกันมิให้ผู้ที่ไม่มีหน้าที่
           สามารถใช้งานเครื่องกำเนิดรังสีได้
       3. ต้องมีสวิตซ์ เปิด- ปิด เพื่อจ่ายกระแสไฟฟ้ากำลังเข้าเครื่อง
       4. ต้องมีการตรวจติดตามความปลอดภัย ทางรังสีตามมาตรฐานที่กำหนด ทุกปี
          โดยการตรวจสอบเครื่องจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และได้รับอนุญาตจาก
          สำนักงานปรมาณูในการให้ใช้เครื่องกำเนิดรังสี
       5. ต้องมีฉลากแสดงรุ่น และหมายเลขเครื่องติดไว้ในตำแหน่งที่เห็นชัดเจนบน
           เครื่อง

การป้องกันอันตรายจากรังสีเอ็กซเรย์สำหรับผู้ปฏิบัติงาน ยึดหลักสามประการ ดังนี้
      - ระยะทาง ต้องอยู่ให้ห่างจากแหล่งกำเนิดรังสีให้มากที่สุด
      - เวลา ทำงานกับรังสีด้วยเวลาน้อยที่สุด
      - เครื่องกำบัง ต้องมีเครื่องกำบังรังสีเพื่อลดการได้รับรังสีโดยตรง

1. ห้องที่ติดตั้งเครื่องจะต้องออกแบบสำหรับป้องกันปริมาณรังสีได้ถูกต้อง
2. การตรวจทางรังสีทุกชนิดต้องทำในแผนกรังสีเท่านั้น ยกเว้นในรายที่จำเป็น
    เจ้าหน้าที่ต้องสวมเสื้อตะกั่วทุกครั้ง
3. ยืนอยู่ไ กลจากลำแสง และไม่อยู่ในทิศทางของแสงโดยตรง
4. ผู้ป่วยที่ช่วยตัวเองใม่ได้ เช่นเด็ก หรือผู้ป่วยหนัก เจ้าหน้าที่ไม่ควรจับผู้ป่วยมาตรวจ
   ด้วยตนเอง พยายามใช้อุปกรณ์ต่างๆ เพื่อยึดผู้ป่วยไว้ ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรให้ญาติ
   หรือผู้ป่วยมาตรวจเป็นผู้จับไว้
5. การถ่ายเอกซเรย์ฟัน ควรให้ผู้ป่วยจับฟิล์มไว้เอง ถ้าไม่ได้ผลจึงใช้คีมขนาดยาวจับ
    โดยเจ้าหน้าที่ต้องสวมเสื้อตะกั่วด้วย
6. จะต้องมีเครื่องวัดรังสีประจำบุคคล  และขณะปฏิบัติงานควรได้รับการตรวจเลือด
    ทุก 3 เดือนหรือ อย่างน้อยปีละครั้ง

                     ไพโรจน์ เม่นสุวรรณ์

หมายเลขบันทึก: 387363เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2010 10:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 10:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณค่ะ เป็นความรู้ใหม่ที่น่าสนใจมากค่ะ ที่ว่าเจาะเลือด ทุก 3 เดือนนั้นเจาะหาอไรบ้างคะ และของเรามีเครื่องวัดรังสีประจำบุคคลไหมคะ

อยากทราบเช่นกันว่าที่เจาะเลือดทุก 3 เดือนเพื่ออะไร และจำเป็นไหมสำหรับเจ้าหน้าที่เอกซเรย์

อยากทราบเหมือนกันค่ะ/By Jan

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท