เทคนิคพัฒนาการคิดเชิงระบบ


เทคนิคพัฒนาการคิดเชิงระบบ

"เทคนิคพัฒนาการคิดเชิงระบบ"

เทคนิคพัฒนาการคิดเชิงระบบ ที่จะนำไปสู่การพัฒนาที่เป็นรูปธรรม มีดังนี้ :

การพัฒนาตนเอง : ไม่เชื่ออะไรง่าย ๆ ฝึกการคิดเชิงขัดแย้ง - วิภาษวิธี (dialectic approach) แบบ Marx การเผชิญหน้าระหว่างความคิดตรงกันข้าม (Thesis Anti - Synthesis) ความขัดแจ้งระหว่างข้อมูลใหม่กับความคิดเดิม ใช้ วิธีการทางวิทยาศาสตร์ หาข้อมูลใหม่ โดย

1. ตั้งปัญหาหรือข้อสงสัย

2. กำหนดสมมติฐาน

3. การทดลองหาข้อมูล

4. สรุปคำตอบของปัญหา

ในการพัฒนาระบบคุณภาพตามแนวทางนี้จะต้องอาศัยแนวคิดสำคัญ 3 ประการ ได้แก่...

1. แนวคิดเชิงระบบ (system thinking)

2. แนวคิดเชิงยุทธศาสตร์ (strategic thinking)

3. การเรียนรู้โดยการทำงานเป็นทีม (team learning)

ซึ่งแยกออกเป็นดังนี้...

แนวคิดเชิงระบบ (System Thinking)

การจัดระบบและการบริหารระบบนั้นเป็นการจัดกลุ่มมาตรฐานและตัวบ่งชี้กับงานหรือโครงการที่ส่วนราชการดำเนินการให้เป็นระบบย่อย ๆ ที่มีขั้นตอนการทำงาน วิธีการทำงานที่เป็นมาตรฐานและบันทึกการทำงาน แล้วบริหารระบบนั้นด้วยกระบวนการ PDCA Model ที่ประกอบด้วย...

P = Planning หมายถึง การวางแผน

D = Doing หมายถึง การปฏิบัติตามแผน

C = Correcting หมายถึง การแก้ไข

A = Acting หมายถึง การปฏิบัติหลังการแก้ไข

แนวคิดเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Thinking)

การพัฒนาส่วนราชการให้มีคุณภาพ บรรลุวัตถุประสงค์นั้น ต้องมีกระบวนการทำงานเชิงยุทธศาสตร์ คือ มีการวิเคราะห์สภาพการณ์ทั่วไปและสภาพการณ์เฉพาะของหน่วยงาน กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าหมายของหน่วยงาน การวิเคราะห์จุดแข็ง / จุดอ่อน

การเรียนรู้โดยการทำงานเป็นทีม (Team Learning)

หน่วยงานต้องมีการจัดโครงสร้างและทีมทำงานที่เหมาะสมซึ่งสามารถแบ่งทีมตามบทบาทและหน้าที่ของทุกคนได้เป็น 3 ทีม คือ...

1. ทีมนำ เป็นทีมที่มีบทบาทชี้นำ กำหนดทิศทางการพัฒนาและนำเพื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงในหน่วยงาน ขณะเดียวกันก็มีบทบาทในการเสริมสร้างพลังร่วมในการทำงานให้ทุกคน

2. ทีมพัฒนาคุณภาพ มีบทบาทในการสนับสนุน ประสานงานและคอยช่วยเหลือให้กับทีมอื่น ๆ รวมทั้งต้องวิเคราะห์สังเคราะห์และดำเนินการเชิงกลยุทธ์ให้เกิดการพัฒนาระบบคุณภาพขึ้นมาและปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

3. ทีมทำ มีบทบาทหน้าที่ในการพัฒนาคุณภาพในระบบย่อยต่าง ๆ ที่ตนเองมีส่วนร่วมและที่รับผิดชอบ โดยมีบทบาทในการร่วมวางแผน ร่วมลงมือทำ ร่วมประเมินผลและร่วมปรับปรุงพัฒนาระบบให้ดี

สรุป : ผู้เขียนมีความคิดเห็นว่า ถ้าจะพูดกันไปแล้ว...ถ้าท่านใดที่เคยเรียน หรือจบการศึกษามาทาง โปรแกรมวิทย์ - คณิต นั้น (ซึ่งผู้เขียนได้เรียนโปรแกรมวิทย์ - คณิต + จบปริญญาตรีสาขาการบริหารจัดการทั่วไป)...จะทำให้คิดออกว่า ที่เรียนมานั้นเป็นพื้นฐานของการคิดในเชิงระบบในปัจจุบัน เพราะเป็นเรื่องของการเป็นเหตุเป็นผล...สามารถตอบโจทย์ได้...คือเป็นสิ่งที่พิสูจน์แล้วเป็นจริง...คือ ได้ผลงานเป็นจริง... บางครั้งทำให้เกิดความคิดว่า...กว่าเราจะทราบว่าวิชาที่เราเรียนมาจะนำมาใช้และเห็นผลชัดเจนจริง ๆ ก็ใช้เวลาเกือบ 30 ปี...(ซึ่งแต่ก่อนก็เห็นผลบ้าง แต่ยังไม่ค่อยชัดเจนเท่าไร)...แต่พอมา ณ ปัจจุบัน...มีความคิดเห็นว่า...ตัวผู้เขียนเองจะเป็นคนที่ชอบคิดเชิงระบบ...เป็นเพราะเราเรียน เรารู้ เราได้ปฏิบัติจนเป็นนิสัย นั่นเอง...ซึ่งจะแตกต่างกับบางท่าน...ทำให้เราเห็นความแตกต่างในการคิดเชิงระบบและการคิดที่ไม่ใช่เป็นเชิงระบบ...

ผู้เขียนหารู้ตัวไม่ว่า...เมื่อเราได้เรียนรู้แล้ว...ใช่ว่าจะนำเรื่องความคิดเชิงระบบมาใช้กับการทำงานเพียงอย่างเดียว...แต่สามารถนำมาใช้กับชีวิตประจำวันได้อีกด้วย...เช่น เกี่ยวกับการวางแผนชีวิตครอบครัว (อนาคต) + ชีวิตการทำงาน + การเรียนรู้ด้วยตนเอง...โดยใช้การวางแผนนำมาเป็นตัวตั้ง...และก็เดินตามแผน...เช่นเดียวกับ PDCA นั่นเอง...

โดยวิธีคิดเชิงระบบนี้ จะเป็นการผสมผสานระหว่างวิชาวิทยาศาสตร์ + การบริหารจัดการในทุก ๆ ด้าน นั่นเอง...

หมายเลขบันทึก: 386165เขียนเมื่อ 19 สิงหาคม 2010 13:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 เมษายน 2016 16:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท