ปัญหาข้อเสนอแนะในการสนับสนุนส่งเสริมการศึกษาเอกชน


เอกชน ช่วยรัฐจัดการศึกษา ถึงเวลาที่ต้องร่วมมือกัน

        พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ . 2542 ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545  ได้กำหนดหลักการเกี่ยวกับการจัดการศึกษาเอกชนไว้ โดยกำหนด     ให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา โดยการบริหารและจัดการศึกษาของเอกชนเป็นไปโดยอิสระ ภาครัฐเป็นเพียงผู้กำกับ ติดตาม ประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา ทั้งนี้รัฐต้องกำหนดนโยบายและมาตรการที่ชัดเจนเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของเอกชนด้านการศึกษา และต้องให้การสนับสนุนด้านเงินอุดหนุน การลดหย่อน หรือ   การยกเว้นภาษี และสิทธิประโยชน์อย่างอื่นที่เป็นประโยชน์ในทางการศึกษาแก่สถานศึกษาเอกชนตามความเหมาะสม  รวมทั้งส่งเสริมสนับสนุนด้านวิชาการให้สถานศึกษาเอกชน  มีมาตรฐานและสามารถพึ่งตนเองได้อย่างแท้จริง

ประเด็นที่

สภาพปัจจุบันปัญหา

1.

การแก้ไขพระราชบัญัติโรงเรียนเอกชน (ฉบับแก้ไข) พ.ศ......และการบังคับใช้กฎหมาย

2

ครูโรงเรียนเอกชน ยังไม่ได้รับเงินช่วยเหลือค่าครองชีพจากรัฐบาลตามมติ ครม. คนละ 1,500 บาท ซึ่งทุกครั้งรัฐเพิ่มให้กับครูภาครัฐครูเอกชนจะได้รับอานิสงส์ส่วนนี้มาโดยตลอด

3

การเรียกบรรจุครูกลางปีของ สพท.และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทำให้ครูเอกชนต้องออกกลางคัน ส่งผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอน

4

ครูขาดขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน

5

ครูโรงเรียนเอกชนไม่มีวิทยฐานะและค่าตอบแทนวิทยฐานะ

6

โรงเรียนรัฐบาล เปิดรับนักเรียนหลายรอบ และรับนักเรียนต่อห้องเกินความจุ เช่น ห้องละ 55-60 คน ส่งผลให้นักเรียนในโรงเรียนเอกชนลดลง

7

โรงเรียนเอกชนได้รับความเดือดร้อนในเรื่องการเรียกเก็บภาษีโรงเรือน ภาษีป้าย ฯลฯ จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น เทศบาล อบจ.ในอัตราที่สูงกว่าธุรกิจอื่นๆ

8

การเปิดเสรีการค้าบริการสาขาการศึกษาภายใต้กรอบความร่วมมืออาเซี่ยน

9

การเปิดขยายโรงเรียนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและโรงเรียนภาครัฐส่งผลกระทบต่อนโยบายการขยายสัดส่วนให้การศึกษาเอกชนเข้ามาแบ่งเบาภาระของรัฐ

 

ข้อเสนอแนะแนวทางในการสนับสนุนส่งเสริมการศึกษาเอกชน

1. กระทรวงศึกษาธิการจะต้องเร่งรัดให้มีการแก้ไข พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชนฯ โดยเร่งด่วนเพื่อเป็นแนวปฏิบัติให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน

2. รัฐบาลควรเร่งจัดงบประมาณช่วยเหลือค่าครองชีพแก่ครูเอกชนดังกล่าว เพื่อเป็นการผ่อนเบาภาระทางเศรษฐกิจของครอบครัวอันจะเป็นขวัญ กำลังใจแก่ครูเอกชนต่อไป

3. กระทรวงศึกษาธิการ ควรประสานกับ สพฐ.และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการเรียกบรรจุครูช่วงเดือนมีนาคมหรือเมษายนเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาต่อการจัดครูเข้าสอนอันจะเป็นผลกระทบการเรียนการสอนของโรงเรียนเอกชน

4. ควรจัดสวัสดิการให้กับครูเอกชน เช่นเดียวกับครูภาครัฐ เช่น ค่ารักษาพยาบาลของครูและบุคคลในครอบครัว

5. กระทรวงศึกษาธิการควรกำหนดระเบียบหรือแนวปฏิบัติในการให้ครูโรงเรียนเอกชนมีและได้รับเงินค่าตอบแทนวิทยฐานะเช่นเดียวกับข้าราชการครู

6. กระทรวงศึกษาธิการควรกำชับให้ สพฐ.และ สพท. กำหนดแนวปฏิบัติที่ชัดเจน     ในการเปิดรับนักเรียนเข้าเรียนของโรงเรียนภาครัฐ

7. กระทรวงศึกษาธิการควรเร่งดำเนินการประสานงานกับกระทรวงมหาดไทยและหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเรื่องการจัดเก็บภาษีจากโรงเรียนเอกชนในอัตราที่เป็นธรรม เนื่องจากโรงเรียนเอกชนเป็นหน่วยงานทางการศึกษามิได้เป็นธุรกิจการค้าหวังผลกำไร

8. รัฐบาลควรมีมาตรการที่ชัดเจนในการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานในการเปิดหรือขยายสาขาสถานศึกษาของต่างประเทศในประเทศไทยเพราะเกรงว่าหากไม่สงวนอาชีพบางอย่างสำหรับคนไทยจะเกิดผลเสียหายในภายหลัง

9.กระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการประชุมหาข้อตกลงร่วมกันในการปรับสัดส่วนในการจัดการศึกษาของรัฐและเอกชน ให้เป็น 70:30 อย่างเป็นรูปธรรม

 

หมายเลขบันทึก: 385882เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2010 15:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2012 16:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

รัฐทำอะไรกันอยู่ในเรื่องภาษีโรงเรือน ยิ่งสร้างประกอบก็ยิ่งเก็บ แล้วจะไปคิดสร้างทำไม จัดการสอนไปแบบแกนๆดีกว่าไม่ต้องสร้างไม่ต้องเสียเพิ่ม เกณฑฺชี้วัดบางตัวก็เกี่ยวกับอาคาร ทำอย่างไรดีหรือผลักภาระไปให้ผู้ปกครองดีครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท