ส่งงานวิจัย1-3


วิจัย

ส่งงาน ชิ้นที่ 1-3

งานชิ้นที่ 1

1 ชื่อเรี่อง    ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน  วัฒนธรรมโรงเรียน และพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูที่มีผลต่อคุณลักษณะด้านการเรียนรู้ของนักเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร

 2 ผู้วิจัย    นางมิ่งขวัญ กิตติวรรณกร

3 ปีที่วิจัย     2551

4 วัตถุประสงค์ 

1.เพื่อศึกษาการรับรู้สภาพภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน วัฒนธรรมโรงเรียน พฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู และคุณลักษณะด้านการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร

2. เพื่อศึกษาการรับรู้อิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน วัฒนธรรมโรงเรียน และพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูที่มีผลต่อคุณลักษณะด้านการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร

 

5. ขอบเขตของการวิจัย

            1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

                    1.1 กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงปริมาณ เป็นครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร 431 โรงเรียน  ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ 2 ขั้นตอน (stratifiedtwo stage sampling scheme)  โดยจำแนกโรงเรียนออกเป็น 6 กลุ่มงานนิเทศการศึกษา กำหนดขนาดตัวอย่างตามแนวทางยามาเน่ ได้ 209 โรงเรียน ใช้ 210 โรงเรียน กำหนดสัดส่วนโรงเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง จากนั้นสุ่มแบบเจาะจง (Purposive sampling) โดยกำหนดผู้ตอบแบบสอบถามเป็นครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ รวม 630 คน

                 1.2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เจาะลึก ได้แก่ผู้บริหารโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ขนาดละ 3 คน รวมจำนวน 9 คน และครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนที่ผู้บริหารเป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 9 คน รวมทั้งสิ้น 18 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้เทคนิคการสนทนากลุ่ม เป็นครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ขนาดละ 3 คน รวมจำนวน 9 คน

            2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

                   เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณเป็นแบบสอบถามแบบตรวจสอบรายการประกอบด้วย มาตรวัดภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน วัฒนธรรมโรงเรียน พฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู และคุณลักษณะด้านการเรียนรู้ของนักเรียน ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นแบบสัมภาษณ์เจาะลึกแบบกึ่งโครงสร้าง (semi-structure)

 

วิธีการวิจัย

ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้แนวทางผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (quantitative research) และวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) โดยเริ่มจากการกำหนดหัวข้อและการแจกแจงหัวข้อเพื่อกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัยกำหนดตัวแปรตามและตัวแปรอิสระ เมื่อทบทวนวรรณกรรมและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องตลอดจนระเบียบวิธีวิจัยแล้ว จึงกำหนดกรอบแนวความคิดเชิงสมมติฐานเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของตัวแปร และสร้างมาตรวัด จากนั้น จัดเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนประชากรที่ต้องการศึกษา และเลือกสถิติวิเคราะห์ที่เหมาะสมเพื่ออนุมานค่าสถิติไปยังพารามิเตอร์ของประชากร โดยผู้วิจัยเลือกใช้การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural equation modeling : SEM) จากนั้นนำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์เชิงคุณภาพมาเปรียบเทียบกับข้อค้นพบในงานวิจัยเชิงปริมาณอีกครั้งหนึ่ง และเมื่อตัวแปรสำคัญบางตัวมีผลการวิเคราะห์ไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ผู้วิจัยได้เพิ่มกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้เทคนิคการสนทนากลุ่ม (focus group discussion)

 

6. ผลการวิจัย

            ผลการวิเคราะห์สภาพของตัวแปร ตามการรับรู้ของครู พบว่าภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน วัฒนธรรมโรงเรียน และพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู อยู่ในระดับมาก ส่วนคุณลักษณะด้านการเรียนรู้ของนักเรียนอยู่ในระดับปานกลาง ในด้านอิทธิพลของตัวแปรอิสระ พบว่าคุณลักษณะด้านการเรียนรู้ของนักเรียน ขึ้นอยู่กับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนวัฒนธรรมโรงเรียนและพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู แต่ไม่ขึ้นอยู่กับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน สำหรับวัฒนธรรมโรงเรียน พบว่า ขึ้นอยู่กับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนแต่ไม่ขึ้นอยู่กับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนในขณะที่พฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูขึ้นอยู่กับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนและวัฒนธรรมโรงเรียนแต่ไม่ขึ้นอยู่กับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน


งานชิ้นที่ 2 

1 ชื่อเรี่อง    การศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนตามการรับรู้ของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้วเขต  1

2 ผู้วิจัย       กำพล  แช่มสา

3 ปีที่วิจัย     2550

4 วัตถุประสงค์

1.เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนตามการรับรู้ของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้วเขต  1

2. เพื่อเปรียบเทียบระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนตามการรับรู้ของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้วเขต  1  โดยจำแนกตาม ประเภทโรงเรียนและวุฒิการศึกษาของผู้บริหาร

5 วิธีการวิจัย   เชิงสำรวจ

กลุ่มตัวอย่าง  ครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้วเขต  1 จำนวน 327 คน

เครื่องมือ   แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ 

วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล 

1. ขอหนังสือรับรองจากภาควิชาบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยบูรพา ถึงผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้วเขต  1  เพื่อขอความอนุเคราะห์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

2.จัดส่งแบบสอบถามจำนวน 327 ฉบับ ไปยังโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้วเขต  1  และเก็บรวบรวมแบบสอบถามด้วยตนเอง

3. นำแบบสอบถามที่เก็บคืนได้  327  ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100  ตรวจสอบความถูกต้องและความสมบูรณ์ของแบบสอบถาม

 

วิธีวิเคราะห์ผล 

                 สถิติพื้นฐาน ค่าคะแนนเฉลี่ย , ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

                 สถิติอ้างอิง  การทดสอบค่าที  (t-test)  และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ( One – Way ANOVA)

6 ผลการวิจัย

1. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนตามการรับรู้ของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้วเขต  1  โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย  ได้แก่ ความมีบารมี การดลใจ การมุ่งความสัมพันธ์เป็นรายบุคคล  และการกระตุ้นการใช้ปัญญา  ตามลำดับ

 2. การเปรียบเทียบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนตามการรับรู้ของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้วเขต  1  จำแนกตาม ประเภทโรงเรียนโดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่  ( p <.05)

3. การเปรียบเทียบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนตามการรับรู้ของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้วเขต  1  จำแนกตามวุฒิการศึกษาของผู้บริหารโดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

 

 

 

งานชิ้นที่ 3 

 

1. เรื่อง     แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนประภัสสรวิทยา   อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี

2. ผู้วิจัย     พนิดา   จิระสถิตย์ถาวร

3. ปีที่วิจัย    2550

4. วัตถุประสงค์

      1. เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนประภัสสรวิทยา   อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี

      2. เพื่อเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูประภัสสรวิทยา   อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จำแนกตามระยะเวลาการเดินทางและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน

5.วิธีวิจัย 

     5.1  วิจัยเชิงสำรวจ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนประภัสสร  อำเภอเมือง  จังหวัดชลบุรี

     5.2  กลุ่มตัวอย่าง  ได้แก่ครูผู้ปฏิบัติงานในโรงเรียนประภัสสรวิทยา   ที่ได้จากการสุ่มประชากร โดยวิธีการแบบแบ่งชั้น(Stratified  Random  Sampling) ครูผู้สอนทั้งสิ้น 56  คน

     5.3 เครื่องมือ  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่เกี่ยวกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู  โรงเรียนประภัสสร  ชนิด 5 ตัวเลือก มากที่สุด  มาก  ปานกลาง  น้อย  น้อยที่สุด  โดยแยกเนื้อหาออกเป็น 5 ด้าน

      ตอนที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพผู้ตอบแบบสอบถาม  เป็นตัวเลือกตอบจำนวน 2 ข้อ

       ตอนที่ 2 เป็นรายละเอียดของคำถาม  ในเรื่องแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนประภัสสรวิทยา  อำเภอเมือง  จังหวัดชลบุรี  จำนวน 60 ข้อ

      - ตอนที่ 1 เป็นสถนการณ์เกี่ยวกับรายละเอียดส่วนตัว

      -  ตอนที่ 2 สอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับแรงจูงใจของครูโรงเรียนประภัสสรวิทยา โดยจำแนกออกเป็น  5 ด้าน  คือด้านความรู้สึกรับผิดชอบ  ความรู้สึกประสบความสำเร็จ  ความรู้สึกมั่นคงและปลอดภัย  ความรู้สึกเพียงพอในการทำงานและความสัมพันธ์ในหน่วยงาน

5.4 วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล

การเก็บรวบรวมข้อมูล ในการวิจัยครั้งนี้

       1. ขอหนังสือจากภาควิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา  ถึงผู้อำนวยการโรงเรียนประภัสสรวิทยา  อำเภอเมือง  จังหวัดชลบุรี  เพื่อขอความร่วมมือในการจัดเก็บข้อมูล

       2. ดำเนินการแจกแบบสอบถามจำนวน 56 ชุด ให้แก่ครูโรงเรียนประภัสสรวิทยา  อำเภอเมือง  จังหวัดชลบุรี  ที่เป็นกลุ่มประชากรโดยแจกแบบสอบถามและเรียกรับคืนด้วยตนเอง

      3.  เมื่อผู้วิจัยได้รับแบบสอบถามคืนจะทำการตรวจสอบและคัดเลือกแบบสอบถามฉบับสมบูรณ์ทุกฉบับ

วิธีวิเคราะห์ผล

ผู้วิจัยดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ spss for windows

        - สถิติพื้นฐาน

      ได้แก่ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนประภัสสรวิทยา  อำเภอเมือง  จังหวัดชลบุรี 

       - สถิติอ้างอิง

      ทดสอบค่า t-test  เพื่อเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฎิบัติงานของครูโรงเรียนประภัสสรวิทยา  อำเภอเมืองจังหวัดชลบุรี  ที่ใช้เวลาในการเดินทางและประสบการณ์ในการทำงานที่แตกต่างกัน

6.ผลการวิจัยพบว่า  

      1. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนประภัสสรวิทยา  อำเภอเมือง  จังหวัดชลบุรี  โดยรวมและรายด้านมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานทุกด้านอยู่ในระดับมาก  เรียงลำดับจากมาก ไปหาน้อย  ดังนี้  ด้านความรับผิดชอบ  ด้านความสัมพันธ์ในหน่วยงาน ด้านความรู้สึกพึงพอใจในการปฏิบัติงาน  ด้านความรู้สึกประสบความสำเร็จ ด้านความมั่นคงปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

      2.  แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนประภัสสรวิทยา  อำเภอเมือง  จังหวัดชลบุรี  จำแนกตามระยะเวลาในการเดินทางจากบ้านถึงโรงเรียนโดยรวม  และด้านความรู้สึกประสบความสำเร็จ ด้านความมั่นคงปลอดภัยในการปฏิบัติงาน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ด้านอื่น ๆ ไม่แตกต่างกัน

      3. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนประภัสสรวิทยา  อำเภอเมือง  จังหวัดชลบุรี  จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน  โดยรวมไม่แตกต่างกัน   เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าด้านความรู้สึกรับผิดชอบ  มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ด้านอื่น ๆ ไม่แตกต่างกัน

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #วิจัย
หมายเลขบันทึก: 385380เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2010 21:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สลามครับ ตามมาดู

ลูกศิษย์ อาจารย์ ดิศกุล ส่งงานครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท