สรุปทฤษฎีภาวะผู้นำ (Leadership Theories)
สมัยโบราณมนุษย์มีความเชื่อว่า การเป็นผู้นำเป็นเรื่องของความสามารถ ที่เกิดขึ้นเฉพาะตระกูล หรือเฉพาะบุคคลและสืบเชื้อสายกันได้ บุคลิกและลักษณะของการเป็นผู้นำ เป็นสิ่งที่มีมาแต่กำเนิดและเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัว สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ผู้ที่เกิดในตระกูลของผู้นำย่อมจะต้องมีลักษณะผู้นำด้วย
แนวคิดเกี่ยวกับผู้นำเริ่มเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยมีการศึกษาและรวบรวม ทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำ โดยแบ่งตามระยะการพัฒนา ดังนี้
- ทฤษฎีคุณลักษณะภาวะผู้นำ ระยะแรกของการศึกษา ค.ศ. 19303-1940แนวคิดมาจากทฤษฎีมหาบุรุษ ( Greatman Theory of Leadership) ของกรีกและโรมันโบราณมีความเชื่อว่า ภาวะผู้นำเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือโดยกำเนิด ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้แต่สามารถพัฒนาขึ้นได้ ลักษณะผู้นำที่ดีและมีประสิทธิภาพสูงจะ ประกอบด้วย ความเฉลียวฉลาด มีบุคลิกภาพซึ่งแสดงถึงการเป็นผู้นำและต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถด้วย
- ทฤษฎีพฤติกรรมผู้นำ เป็นการพัฒนาช่วงในปี ค.ศ. 1940-1960 แนวคิดหลักของทฤษฎีคือให้มองในสิ่งที่ผู้นำปฏิบัติ และชี้ให้เห็นว่าทั้งผู้นำและผู้ตามต่างอิทธิพลซึ่งกันและกัน
- ทฤษฎีตามสถานการณ์ เป็นทฤษฎีที่นำปัจจัยสิ่งแวดล้อมของผู้นำมาพิจารณาว่ามีความสำคัญต่อความสำเร็จของผู้บริหาร ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม ทฤษฎีของ Fiedler ภาวะผู้นำ ที่มีประสิทธิภาพหรือไม่มีประสิทธิภาพ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ถ้าสัมพันธภาพของผู้นำและผู้ตามดี และมีโครงสร้างของงานชัดเจน ผู้นำจะสามารถควบคุมสถานการณ์ได้
- ทฤษฎีความเป็นผู้นำเชิงปฏิรูป จากสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา มีการแข่งขันเพื่อชิงความเป็นเลิศดังนั้นวิธีจะทำให้ผู้บริหารประสบความสำเร็จสูงสุด คือผู้บริหารต้องเปลี่ยนแปลงตนเอง เบิร์นส์ (Burns) ได้เสนอความเป็นผู้นำแนวใหม่ เรียกว่า ความเป็นผู้นำเชิงปฏิรูปการแสดงความเป็นผู้นำที่มีประสิทธภาพคือการแสดงพฤติกรรมความเป็นผู้นำในเชิงปฏิรูป
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย ณรงค์ศักดิ์ มิ่งมาลี ใน ณรงศักดิ์ ภาวะผู้นำ อุบลหนองบัว 1
คำสำคัญ (Tags)#สรุปทฤษฎีภาวะผู้นำ (leadership theories)
หมายเลขบันทึก: 384487, เขียน: 13 Aug 2010 @ 15:38 (), แก้ไข: 21 Jun 2012 @ 08:47 (), สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน, อ่าน: คลิก
ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก