คำถามถึงภารกิจของมหาวิทยาลัย และคณะนิติศาสตร์ไทยในต่างจังหวัด ทิศทางการพัฒนา


เรากำลังจะเดินไปทางไหน

ฟุ้งซ่านมาก ก็เขียนเยอะ....

เคยเขียนไว้ที่ Go to Know นานมาแล้วว่า นิติศาสตร์ไทยในหัวเมืองควรจะต้องมุ่งตอบโจทยน์ของสังคมต่างจังหวัด โดยฉีกตัวออกไป เป็นทางเลือกให้สังคมต่างจังหวัด นอกจากจะต้องสอนนิติศาสตร์กระแสหลักที่คงต้องสอน เป็นหลักควบคู่กันไป และทิ้งไม่ได้

เดิมทีผมเคยตั้งคำถามเพราะเคยอยู่ในสถาบันที่เปิดสอนวิชานิติสาสตร์ที่หัวเมืองเหนือสุด(เชียงราย) และ เหนือตอนล่าง (พิษณุโลก) ติดกับชายแดนทั้งคู่ ถ้าใช้ SWOT Analysis มาจับจะพบว่าทั้งสองเมืองมีทั้งจุดแข็งจุดอ่อน และ โอกาสในการพัฒนาอีกมาก
ทั้งชีวิตอยู่ชายแดนมาตลอด เพราะตอนอยู่สถาบันเอเชีย ก็เล่นเรื่องรอบบ้าน ไทย ลาว กัมพูชา พม่า เวียดนาม จีน

(มีช่วงเดียวที่เล่นเรื่องภายในคือตอนไปบวช ๕๕๕ เป็นช่วงที่ชีวิตมีความสุขที่สุด) กลับมา อยู่กับปัจจุบัน เขียนต่อ

ตอนอยู่เชียงรายผมเสนอให้ สถาบันที่ผมทำงานอยู่ (ไม่อยากพาดพิง) เล่นเรื่องการค้าชายแดน และชนกลุ่มน้อย วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม เพื่อตอบปัญหาสังคม เคยคิดจะตั้งศูนย์ศึกษากฎหมายอินโดจีน แต่ ย้ายมาก่อน ไม่เห็นมีคนสานต่อ เห็ฯพยายามตั้งศูนย์กฎหมายจีนศึกษาแต่ก็ยังไม่ถึงไหน

ตอนอยู่พิษณุโลกก็เสนอเหมือนกันให้ตั้งหลักสูตรการค้าชายแดน ขึ้น เพราะพิษณุโลกใกล้กับตาก และแม่สอดเป็นเมืองท่าสำคัญระหว่างไทย พม่า แต่เนื่องจาก ฝันของผมมันก็เป็นฝันของผมคนเดียว เลย ไม่มีใครมาแชร์สร้างฝันด้วย ฝันเลยเล็กนิดเดียว

ตอนนี้มาเรียนต่อ กลับมาบ้าประวัติศาสตร์กฎหมาย และการพัฒนาอย่างยั่งยืน กลับไปจะไปทำวารสารทำมือ ประวัติศาสตร์กฎหมาย  ทำเท่าที่มีแรง มีลูกบ้า ทำคนเดียวก็จะทำ ๕๕๕ ใครจะทำไม พิษณุโลกเป็นเมืองหลวงแห่งที่สองของไทยในอดีต เป็นเมืองชายแดนมาแต่โบราณ   กฎหมายระหว่างประเทศเรื่องการจัดการความขัดแย้งระหว่างประเทศก็เป็นประเด็นที่น่าสนใจ เพราะตอนนี้ไทยเรามีปัญหากับเพื่อนบ้านรอบด้าน

ยิ่งกว่านั้นการพัฒนาสังคมก็เป็นประเด็นที่สำคัญ เพราะผมเชื่อว่าสังคมที่ดี ต้องดีจากรากฐาน จากโครงสร้างเล็กไปหาใหญ่ ถ้าชุมชนไม่เข้มแข็ง ไม่มีคุณภาพ เลิกหวังถึงประเทศ  แล้วก็หมดยุดเสียทีกับที่จะคอยรัฐบาลส่วนกลางมาช่วย ผมเชื่อมั่นในการสร้างภาคประชาชนให้เข้มแข็ง ทฤษฎีการพัฒนาประเทศ แบบเน้น การเทน้ำให้ล้นจากแก้วนั้น จบยุคแล้ว ไม่สามารถใช่ได้อีกต่อไป


  อย่างไรก็ตามปัญหาสำคัญของเมืองไทย คือ ปัจจุบันคนเรียนนิติสาสตร์ เยอะ แต่หวังเข้าไปเป็นอัยการผู้พิพากษา หรือทำงานภาคธุรกิจ ที่เงินเดือนสูงๆ กัน   ผมต้องย้ำก่อนว่า ผมไม่ได้บอกว่ามันเป็นความผิดเพราะทุกคนมีสิทธิ์ที่จะคิด และฝัน และเดินไปตามความฝันตามศักยภาพของแต่ละคน แต่เราลืมไปว่า การบังคับใช้กฎหมายก็ต้องการนนักกฎหมาย และทุกคนมีคุณค่าเท่าเทียมกัน เพราะปัจจุบัน การทำงานต่างๆ ต้องทำเป็นเครือข่าย องค์กร ระบบ ONE MAN SHOW เป็นไปไม่ได้ ถ้า คุณเก่งคนเดียว แต่องค์กรแย่ คุณก็อยู่ไม่รอด เพราะ ไม่มีปัจจัยส่งเสริม

ประเทศไทย  สังคมปัจจุบันอ่อนแอ แตกแยก กลไกภาคนิติศาสตร์ของเราที่พยายามบอกว่าเราทำหน้าที่เป็นวิศวกรสังคม เราจะปั้นสังคมโดยใช้กฎหมายอย่างไร น่าจะเป็นคำถามที่พวกเราทุกคนต้องถามตัวเอง และทำหน้าที่รักษากฎหมาย ถ้าคนในวงการกฎหมาย ที่เรียกตัวเองว่านักกฎหมาย ยังไม่อาจ รักษากฎหมาย และยังทำตัวเป็นอภิสิทธิชนละเมิดกฎหมยเสียเองแล้ว สังคมเราจะอยู่รอดได้อย่างไร สังคมนักกฎหมายต้องช่วยกันก่อนเป็นตัวอย่างก่อน  สร้างค่านิยมก่อน อย่างที่หลัก'อิทรภาษ' บอกไว้ ในกฎหมายตราสามดวง หรือแม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกไว้ มรรค มีองค์แปดเริ่มจากความคิดที่ถูก คือ 'สัมมาทิฐิ' เป็นหลัก

คณะนิติศาสตร์ และมหาวิทยาลัยในต่างจังหวัด น่าจะเริ่มมองตัวเอง และถามถึงภารกิจร่วมกันในการสร้าง และขับเคลื่อนประเทศไทย ไปข้างหน้า.. ว่าเราจะร่วมมือกันอย่างไร

 

หมายเลขบันทึก: 382926เขียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2010 18:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 21:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท