สิทธิเข้าเมืองของเอกชนที่มีองค์ประกอบต่างด้าว


           สิทธิการเข้าเมืองของเอกชนที่มีองค์ประกอบต่างด้าว ในกรณีนี้พิจารณาเฉพาะบุคคลธรรมดา ซึ่งก็คือคนต่างด้าวนั้น เป็นนิติสัมพันธ์ของเอกชนตามกฎหมายมหาชนที่มีลักษณะระหว่างประเทศ เพราะฝ่ายในนิติสัมพันธ์มีสัญชาติของรัฐต่างประเทศ หรือเป็นคนไร้สัญชาติ ซึ่งจะต้องเป็นไปตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลว่าด้วยเรื่องของการเลือกกฎหมายมหาชน เนื่องจากว่านิติสัมพันธ์ของเอกชนที่มีลักษณะระหว่างประเทศนี้ย่อมมีความเกี่ยวข้องกับหลายรัฐ ดังนั้น นิติสัมพันธ์ดังกล่าวกล่าวจึงตกอยู่ภายใต้การขัดกันแห่งอำนาจรัฐ เมื่อต้องการเลือกกฎหมายมาบังคับใช้ต่อนิติสัมพันธ์นี้ จึงต้องเผชิญกับการขัดกันแห่งกฎหมายมหาชน ซึ่งตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศได้กำหนดให้เลือกใช้กฎหมายของรัฐที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับนิติสัมพันธ์ นั่นก็คือ สิทธิการเข้าเมืองของคนต่างด้าวนั้นจะต้องเป็นไปตามกฎหมายมหาชนภายในของรัฐคู่กรณีในนิติสัมพันธ์ เว้นแต่จะมีการกำหนดเป็นอย่างอื่[1]น เช่น พันธกรณีที่รัฐนั้น ๆ มีอยู่ตามสนธิสัญญาที่ได้ทำไว้กับนานาประเทศ ตลอดจนหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติตอบแทนระหว่างประเทศ (Principle of Reciprocity)[2]

 


[1] พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร, (วันที่ 8 มิถุนายน 2547), นิติสัมพันธ์ของเอกชนตามกฎหมายมหาชนที่มีลักษณะระหว่างประเทศ, สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2553, จาก http://www.archanwell.org/au topage/show_all.php?t=23&s_id=&d_id

[2] กมล สนธิเกษตริน, คำอธิบายกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล, พิมพ์ครั้งที่ 7 (กรุงเทพมหานคร: นิติบรรณการ, 2539), น. 162.

 

หมายเลขบันทึก: 382917เขียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2010 16:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 15:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

มีคำถามใหญ่ๆ  ให้คิดก่อนเลยค่ะว่า

เรื่องสิทธิเข้าเมืองนั้นโดยธรรมชาติของเรื่อง มีความเป็นระหว่างประเทศเสมอนะคะ เพราะเรื่องที่เกิดขึ้นจะต้องมีการก้าวชาติของบุคคลธรรมดาเสมอนะคะ ดังนั้น การอธิบายความจึงไม่ต้องเคร่งครัดที่จะต้องเป็นคนต่างด้าวเสมอไป

ในประการต่อมา แม้คนสัญชาติไทยทำการเข้าเมือง เรื่องราวก็จะมีความเป็นระหว่างประเทศเสมอ

หรือหากเป็นคนต่างด้าวที่การเข้าเมืองของคนต่างด้าวที่มีสัญชาติของรัฐต่างประเทศข้ามชาติ กรณีก็จะชัดเจนว่า มีความเกี่ยวข้องกับสองประเทศขึ้นไป อาทิ คนสัญชาติอิตาลีเข้าเมืองในประเทศไทยโดยผ่านชายแดนระหว่างไทยและกัมพูชา

หรือแม้เป็นคนต่างด้าวไร้รัฐเข้าเมือง ความเป็นระหว่างประเทศก็จะเกิดขึ้นระหว่างรัฐไทยและรัฐเจ้าของดินแดนที่เป็นประเทศต้นทางของคนต่างด้าวไร้รัฐนั้น

คำถามอีกอันที่ฝากให้คิด ก็คือ สิทธิเข้าเมืองและสิทธิตามกฎหมายคนเข้าเมืองเหมือนกันหรือไม่ ?

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท