๓๕.ร่องรอยการพัฒนา“บ่าเล๊าะ” ลุ่มน้ำห้วยปลาหลด


       

          การอยู่ร่มเย็นเป็นสุขของชาวบ้านได้พบกับความเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง  เมื่อนายจะเค๊าะและนายจะแคะซึ่งเป็นปู่จารย์ในขณะนั้น  ได้เกิดความบาดหมางกันขึ้น  ทำให้จะเคาะชักชวนครอบครัวของนายขี้หมาและนายป๊ะปีไปแสวงหาที่ทำกินใหม่ซึ่งห่างจากที่ตั้งเดิมประมาณ ๑๐ กม. อันเป็นที่ตั้งของบ้านห้วยปลาหลด หมู่ที่ ๘ ตำบลด่านแม่ละเมา อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก  จึงเรียกหมู่บ้านนี้ว่าบ้านมูเซอสามหลัง “บ่าเล๊าะ”  คนทั้ง ๓ จึงมีตำแหน่งเป็นปู่จารย์  เป็นผู้ใหญ่บ้าน และเป็นหมอผี 

          เดิมที่แห่งนี้เป็นที่ตั้งบ้านเรือนและที่ทำกินของชาวปกาเกอะญอ ภายหลังได้ละทิ้งถิ่นหนีเข้าไปอยู่ในป่าที่ลึกเข้าไปอีก   บ่าเลาะตั้งอยู่ลุ่มน้ำลำห้วยปลาหลด จึงมีชื่อเรียกกันว่า “บ้านห้วยปลาหลด”  มาจากความเชื่อกันว่ามีปลาหลดอยู่ในลำห้วยจำนวนมากนั่นเอง

            ส่วนนายจะเค๊าะได้พาครอบครัวย้ายออกไปตั้งบ้านเรือนที่บ้านห้วยส้มป่อย หมู่ที่ ๕ ตำบลด่านแม่ละเมา อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก  เป็นเวลาเกือบ ๑ ปี นายจะพูและ และนายก๊ะกู่ ได้ย้ายครอบครัวมาตั้งถิ่นเพื่อหาที่ทำกินพร้อมกับชาวบ้านคนอื่น ๆ ประมาณ ๒๐ ครอบครัว   

          ครอบครัวของนายจะเค๊าะและชาวบ้านจากบ้านมูเซอสามหลัง“บ่าเล๊าะ”   ได้ถือโอกาสมาเข้าร่วมประกอบพิธีกรรมเทศกาลปีใหม่ที่บ้านหมู่บ้านส้มป่อยด้วย เนื่องจากชาวบ้านที่บ่าเลาะได้ยินเสียงชะนีร้องในเวลากลางคืน ซึ่งถือว่าเป็นลางร้ายทำให้ไม่สามารถจะทำพิธีกรรมในหมู่บ้านได้ โดยได้เข้าร่วมพิธีต่าง ๆ เป็นเวลาถึง๒ ปี

           การศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับชะนีเพิ่มเติมพบว่า “หากกล่าวถึงสัตว์ที่มีเอกลักษณ์ของเสียงร้องชะนีต้องเป็นสัตว์ชนิดหนึ่งที่หลายคนคงจะนึกถึงพร้อมกับเสียงร้องเรียก ผัว ผัว ผัว ผัว !!! แต่เชื่อหรือไม่ว่าเสียงร้องนี้เป็นเพียงเสียงของชะนีมือขาวหรือชะนีธรรมดา ส่วนชะนีชนิดอื่นๆ มีเสียงมีเสียงร้องที่แตกต่างจนเราสามารถจำแนกชนิดจากเสียงร้องได้อย่างชัดเจน ไม่เพียงแต่ความแตกต่างในระหว่างชนิดพันธุ์เท่านั้นความแตกต่างของเพศในชะนีแต่ละชนิดก็มีความแตกต่างกันออกไปด้วยเช่นกัน แต่กระนั้นในความแตกต่างของเสียงกลับมีความคล้ายคลึงกันในเรื่องของวัตถุประสงค์ซึ่งมีอยู่หลายประการไม่ว่าจะเป็นเสียงร้องเพื่อประกาศอาณาเขต เพื่อขับไล่ศัตรู เพื่อหาคู่ในฤดูผสมพันธุ์ หรือแม้แต่เพื่อเตือนภัยให้สมาชิกในฝูงทราบ “ http://www.thaiwildlife.org/main/featured-articles/gibbon/

          หลังจากนั้นอีกไม่นานนายจะแคะ ซึ่งเป็นปู่จารย์บ้านอุ่มยอม ถูกลักลอบยิงเสียชีวิต ทำให้นายปู่ดาซึ่งเป็นลูกชายนายจะแคะ พาลูกหลานและเครือญาติรวมทั้งชาวบ้านประมาณ ๒๐ หลังคาเรือนย้ายเข้าไปอยู่ที่”บ่าเลาะ” และนายปู่ดาก็ได้รับแต่งตั้งเป็นปู่จารย์แทนนายจะเค๊าะ

          การที่ได้อยู่ด้วยความสงบร่มเย็น  ทำมาหากินเจริญรุ่งเรืองจนกระทั่งเวลาผ่านไปถึง  ๕ ปี นายจะเค๊าะได้ผิดใจกับนายปู่ดา  จึงแยกชาวบ้านจำนวน
๑๐ ครอบครัวออกมาตั้งหมู่บ้านใหม่ ทำให้บ่าเลาะถูกแยกออกเป็นบ้านเหนือและบ้านใต้  โดยบ้านเหนือมีนายจะเค๊าะเป็นปู่จารย์  ส่วนที่บ้านใต้มีนายปู่ดาเป็นปู่จารย์ มีลูกบ้านราว ๒๕ ครอบครัว

          พ.ศ.๒๕๑๕ ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา จังหวัดตาก ได้เข้ามาจัดตั้งหน่วยพัฒนาชาวเขาในหมู่บ้าน และตั้งชื่อหมู่บ้านเป็นทางการว่า “บ้านห้วยปลาหลด” ซึ่งเป็นชื่อเรียกลำห้วยที่ไหลผ่านหมู่บ้าน ที่ชาวบ้านเล่ากันว่าน่าจะมาจากปลาหลดในลำห้วยที่มีอยู่มากมายนั่นเอง

          พ.ศ. ๒๕๑๗ บ้านห้วยปลาหลดมีโอกาสรับเสด็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระบรมราชีนีนาถ ทรงเสด็จเยี่ยมราษฎรในหมู่บ้าน โดยพระมหากรุณาธิคุณ

          ต่อมาครอบครัวนายจะฟะ ซึ่งเคยอยู่ที่บ่าเลาะมาก่อนและย้ายไปอยู่บ้านมูเซอหลังเมือง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ และไปอยู่ที่ห้วยไม้ห้าง อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก ประสบกับเกิดโรคระบาด ชาวบ้านล้มตายเป็นจำนวนมาก จึงได้ย้ายครอบครัวมาอยู่ที่บ้านบ่าเลาะบ้านใต้ของนายปู่ดา

          นอกจากนี้ยังนายจะจู๋ และอีกหนึ่งครอบครัวซึ่งย้ายมาจากบ้านมูเซอหลังเมืองพร้อม ๆ กับนายจะฟะ ได้ย้ายเข้ามาอยู่ที่บ้านบ่าเลาะเช่นกัน แต่เลือกเข้าไปเป็นสมาชิกบ้านใต้ของนายจะเค๊าะ

          พ.ศ. ๒๕๒๖ นายจะเค๊าะ ซึ่งเป็นปู่จารย์บ้านเหนือ ย้ายออกไปตั้งบ้านเรือนที่บ้านห้วยขนุน เลยบ้านอุมยอมเข้าไปทางด้านใน ชาวบ้านจึงได้แต่งตั้งให้นายแอ่หลู้เป็นปู่จารย์แทนนายจะเคาะ หลังจากนายแอ่หลู้เสียชีวิตชาวบ้านก็แต่งตั้งให้นายจะจู๋เป็นปู่จารย์แทน

          พ.ศ. ๒๕๓๓ นายปู่คา ซึ่งเป็นปู่จารย์บ้านเหนือ มีอายุมากขึ้นและเข้าสู่วัยชรา จึงได้ลาออกจากตำแหน่งปู่จารย์   และได้ส่งต่อหน้าที่ปู่จารย์ให้กับนายจะต๋า ผู้เป็นลูกชาย และหลังจากนั้นชาวบ้านซึ่งเป็นสมาชิกของนายจะต๋า ได้ย้ายไปเข้าเป็นสมาชิกของนายจะจู๋ และมีบ้านเรือนอยู่ที่เดิม

          พ.ศ. ๒๕๔๕ นายจะลา ได้นำชาวบ้านจำนวน ๑๕ ครอบครัวออกมาจากการเป็นสมาชิกของนายจะจู๋  โดยตั้งกลุ่มตนเองขึ้นใหม่  นายจะลาจึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นปู่จารย์

          พ.ศ. ๒๕๕๐ ชาวบ้านกลุ่มหนึ่งได้ย้ายออกจากการเป็นสมาชิกของนายจะจู๋ ได้ไปตั้งกลุ่มตนเองอีกต่างหาก มีการแต่งตั้งปู่จารย์ หมอผี และอื่น ๆ ตามธรรมเนียมการของชาวลาหู่ว่าด้วยการอยู่เป็นกลุ่มก้อนของสมาชิก แต่ไม่นานก็ได้ย้อนกลับมารวมกับนายจะจู๋เช่นเดิม

          พ.ศ. ๒๕๕๒ ชาวบ้านกลุ่มหนึ่ง นำโดยนายจะย่อ ได้แยกชาวบ้านจำนวน ๑๕ ครอบครัวออกมาจากนายจะจู๋มาตั้งกลุ่มใหม่ของตนเองอีก และนายจะย่อได้รับการแต่งตั้งเป็นปู่จารย์

          พ.ศ. ๒๕๕๓ ชาวบ้านอีกกลุ่มหนึ่งมีจำนวน ๕ ครอบครัว โดยนายจะอื๊อ ได้แยกตัวออกมาจากการเป็นสมาชิกของปู่จารย์จะหลง ซึ่งสืบทอดตำแหน่งปู่จารย์จากนายจะต๋า ผู้เป็นพี่ชาย เนื่องจากมีปัญหาสุขภาพ และภายหลังนายจะอ๋อได้รับการแต่งตั้งให้เป็นปู่จารย์ ของหมู่บ้านห้วยปลาหลด หมู่ ๘ ตำบลด่านแม่ละเมา อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก มีจะสื่อ หรือนายศักดิ์สิทธิ์ เป็นผู้ใหญ่บ้านที่ได้รับการคัดเลือกและแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ   และมีการแบ่งการปกครองแบบดูแลตนเองอีก ๕ ป๊อก* มีผู้ใหญ่บ้านปู่จารย์และหมอประจำแต่ละป๊อก .... อยู่ร่มเย็นเป็นสุขมาทุกวันนี้

         การเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนา ครั้งแล้วครั้งเล่า กลุ่มแล้วกลุ่มเล่า แม้ว่าจะถูกแบบ่งออกเป็นป๊อก ๆ ถึง ๕ ป๊อก  อันไม่ได้หมายถึงความแตกแยก  แต่เป็นการจัดระเบียบสังคม  เพื่อเป็นการนำไปสู่ความเป็นปึกแผ่นของความมั่นคง และการสร้างความเข้มแข็งของการอยู่ร่วมกัน แต่ชาวลาหู่ใส่เสื้อสีเดียวกันทุกคน  รูปแบบเครื่องแต่งกายอย่างเดียวกันไม่ว่าหญิงหรือชาย ทุกเพศทุกวัย  ไม่มีการเสียเลือดเนื้อหรือการประหัตประหารด้วยอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างแต่อย่างใด  สุขภาพจิตและวิถีชีวิตของชาวลาหู่ยังงดงามคงเส้นคงวา  มีหัวใจสีเดียวกันที่สัมผัสได้  เพราะใครจะไปหมู่บ้านกลุ่มใด ป๊อกใดก็ได้โดยสะดวกสบายไม่ต้องติดกับกฏหมายเข้มข้นที่เรียกว่าเคอร์ฟิวส์หรือพระราชบัญญัติฉุกเฉิน

         การแต่งตั้งหน้าที่ผู้นำเช่นปู่จารย์ หมอผีและผู้ใหญ่บ้าน  ไม่มีการหาเสียง ไม่มีการซื้อสิทธิ์ขายเสียงด้วยระบบเงินสดเงินผ่อนหรือเครดิตใด ๆ และไม่ต้องเสียงบประมาณรณรงค์ต่อต้านการเป็นครึ่งใบเต็มใบของผู้ที่อยู่เบื้องหน้าหรือเบื้องหลัง  หรือผู้ที่ไม่รู้การกระทำ  แต่ชาวลาหู่ดินแดนลุ่มน้ำห้วยปลาหลดยึดถือ "ความดี" เป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจ

ป้อก  มีความหมายเช่นเดียวกับ คุ้ม

ติดตามอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากต้นฉบับได้ที่นี่ค่ะ

http://gotoknow.org/blog/kgeneral/382391

หมายเลขบันทึก: 382830เขียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2010 11:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)
  • มาส่งความคิดถึงค่ะพี่ครูคิม สบายดีนะค่ะ
  • คิดถึง......มากๆค่ะ อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย
  • รักษาสุขภาพด้วยจ้า....
  •                

อ่านพีคิมบรรยายบ้านห้วยปลาหลด มาหลายบันทึกแล้วทำให้อยากไปสัมผัสบรรยากาศจริงค่ะ

ชอบสองย่อหน้าสุดท้ายมากๆ ขอบคุณค่ะ .. ต้อนรับแขกจากที่ไหนคะพี่คิม บอกกล่าวได้ไหมน๊า

สวัสดีค่ะพี่คิม

...ไปลุย บ่าเล๊าะมา เหมือนถ่ายทำสารคดีย่อยๆ เลยนะคะ

ได้ความรู้ใหม่เพิ่มอีกแล้ว เป็นชุมชนที่มีประวัติความเป็นมายาวนานเหมือนกันนะคะ

อาคารด้านหลังภาพสุดท้าย คือโรงเรือนอะไรเหรอคะ ท่าทางจะเก่าแก่น่าดู

เด็กๆหน้าตา เหมือนคนจีน แต่เด็กชาวเขาที่เห็นมา ก็หน้าตาแบบนี้กันเป็นเอกลักษณ์ของเผ่าพันธุ์

ขอบคุณข้อมูลที่ไม่เคยทราบมาก่อนค่ะ

รักษาสุขภาพด้วยค่ะ...

  • หวัดดีคะ
  • สบายดีนะค่ะ
  • แวะมาทักทายค่ะ

สวัสดีพี่ครูคิมครับ

แวะมาร่วมเรียนรู้วิถีชีวิต และ ความเป็นมาของบ้านห้วยปลาหลดด้วยครับ...

  • มาติดตามต่อ ห้วยปลาหลด เพราะมีปลาหลดมาก ชื่อยากๆทั้งนั้นเลยนะครับ
  • ขอบคุณความรู้ครับ

หากมีโอกาส แวะไป F2F Gotoknow สัญญจร อีสานครั้งที่ ๒ วันศุกร์ที่ ๒๗ สิงหาคม นะท่านพี่

สวัสดีค่ะน้องNina

ขอขอบคุณที่คิดถึงค่ะ  พี่คิมคิดถึงน้องเช่นกัน  ตอนนี้ไม่ได้ไปเยี่ยมใคร ๆ มากนัก  ได้แต่เขียนค่ะ

สวัสดีค่ะน้องpoo

ยิ่งเล่ายิ่งสนุกค่ะ  ขำตรงอ่านลายมือของตัวเองไม่ออก ฮา ๆ ๆ ๆ  ขอเชิญไปติดตามที่หน้าอนุทินดูเองนะคะ

สวัสดีค่ะน้องปิ่นธิดา

ประวัติและเรื่องราวน่าสนใจมากค่ะ เล่าไป ๆ ฟังไป ๆ ก็ผุดข้ออยากรู้อยากเห็นมากขึ้นค่ะ ล้วนแต่เป็นเรื่องน่าทึ่ง น่าเรียนรู้ค่ะ  คิดถึงน้องค่ะ ไม่ทราบได้รับเสื้อหรือยังคะ

สวัสดีค่ะน้อง...อ้อยควั้น

ขอขอบคุณค่ะ ที่ยังคิดถึงกัน  หวังว่าคงได้อ่านบันทึกของน้องอีกนะคะ  เป็นกำลังใจให้ค่ะ

สวัสดีค่ะน้องPhornphon

วันนี้แบ่งเวลาอ่านหนังสือธรรมะที่น้องส่งไปให้ค่ะ ส่วนก่อนนอนก้อ่านอีกประเภทหนึ่ง เป็นธรรมะเช่นกันค่ะ

วิถีชีวิตที่บ้านห้วยปลาหลดน่าศึกษาเรียนรู้มาก ๆ ค่ะ

สวัสดีค่ะคุณครูธนิตย์ สุวรรณเจริญ

ชื่อยาก ๆ และสะกดให้ออกเสียงเป็นธรรมชาติของเจ้าของภาษาไม่ได้เลยค่ะ   มีเรื่องน่าเล่าอีกเยอะค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์JJ

ขอขอบพระคุณค่ะ ที่กรุณาให้เกียรติเชิญชวนค่ะ

เป็นเรื่องราวที่น่าสนใจมากนะครับ  ที่เขารักษาวัฒนธรรมได้ดี หมู่บ้านคงสงบน่าอยู่

สวัสดีค่ะ

เรื่องราวที่บ้านห้วยปลาหลดน่าสนใจมากค่ะ  มีโฮมสเตย์ให้พักที่สบายนะคะ  สนใจก้เชิญนะคะ

ชอบตอนนี้..มันทำให้เห็นมุมอื่นๆ ที่ซ่อนอยู่ค่ะพี่ครูคิม

ขอบคุณที่เขียนให้อ่านค่ะ

สวัสดีค่ะพี่ครูคิม

อ่านสนุกทุกตอนเลยค่ะ

เสียดายที่ไม่มีโอกาสได้เป็นหนึ่งในเหตุการณ์

ระลึกถึงเสมอค่ะ..ดูแลสุขภาพด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท