มาตรการระหว่างประเทศที่ใช้แทรกแซงสินค้าขั้นพื้นฐาน


สินค้าขั้นพื้นฐาน หมายรวมถึงสินค้าเกษตร ปศุสัตว์ ธัญพืช ป่าไม้ ผลไม้ ประมง แร่ธาตุ และ อื่น ๆ นั้น ปัญหาอยู่ที่อุปสงค์อุปทาน (Demand และ Supply) ถ้าหากให้อุปสงค์อุปทานมีความมั่นคงสม่ำเสมอและทำให้ราคาของสินค้าเหล่านี้อยู่ในระดับที่สมควร คือ ในระดับที่ทำให้ผู้ประกอบการมีรายได้เพียงพอที่จะมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ได้ การค้าขายสินค้าขั้นพื้นฐานนั้นก็จะดำเนินไปได้โดยราบรื่น ทุกคนที่เกี่ยวข้องจะมีความพึงพอใจ บรรดาประเทศทั้งหลายจึงต่างมีความพยายามที่จะผลักดันให้การค้าสินค้าขั้นพื้นฐานมีความมั่นคงและทำให้ผู้ประกอบการมีรายได้เพียงพอแก่การครองชีพ

มาตรการระหว่างประเทศที่ใช้แทรกแซงการค้าสินค้าขั้นพื้นฐาน

          สินค้าขั้นพื้นฐาน หมายรวมถึงสินค้าเกษตร ปศุสัตว์ ธัญพืช ป่าไม้ ผลไม้ ประมง แร่ธาตุ และ อื่น ๆ นั้น ปัญหาอยู่ที่อุปสงค์อุปทาน (Demand และ Supply) ถ้าหากให้อุปสงค์อุปทานมีความมั่นคงสม่ำเสมอและทำให้ราคาของสินค้าเหล่านี้อยู่ในระดับที่สมควร คือ ในระดับที่ทำให้ผู้ประกอบการมีรายได้เพียงพอที่จะมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ได้ การค้าขายสินค้าขั้นพื้นฐานนั้นก็จะดำเนินไปได้โดยราบรื่น ทุกคนที่เกี่ยวข้องจะมีความพึงพอใจ บรรดาประเทศทั้งหลายจึงต่างมีความพยายามที่จะผลักดันให้การค้าสินค้าขั้นพื้นฐานมีความมั่นคงและทำให้ผู้ประกอบการมีรายได้เพียงพอแก่การครองชีพ

          ประเทศทั้งหลายในโลกได้คิดค้นมาตรการที่จะทำให้บรรดาเป้าหมายของความมั่นคงและมีรายได้ดีแก่ผู้ประกอบการสินค้าขั้นพื้นฐาน โดยได้นำมาตรการมาใช้กับสินค้าขั้นพื้นฐานหลายประการด้วยกัน อาทิ ทำเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสินค้าขั้นพื้นฐาน ข้อตกลงเกี่ยวกับข้าวสาลี ข้อตกลงเกี่ยวกับน้ำตาล ข้อตกลงเกี่ยวกับน้ำมัน ข้อตกลงเกี่ยวกับน้ำมันมะกอก ข้อตกลงเกี่ยวกับกาแฟ ดีบุกและโกโก้ ข้อตกลงเกี่ยวกับสินค้าขั้นพื้นฐานเหล่านี้รัฐที่เกี่ยวข้องได้วางมาตรการมาแก้ปัญหาในสามลักษณะด้วยกันคือ

          1. มาตรการจำกัดการส่งออกซึ่งสินค้าขั้นพื้นฐาน วิธีการนี้ต้องการที่จะประกันราคาสินค้าโดยจำกัดจำนวนสินค้าขั้นพื้นฐานที่จะสามารถส่งออกได้ภายใต้ราคาตลาดโลกที่กำหนดไว้ ซึ่งได้นำมาใช้ในข้อตกลงเกี่ยวกับน้ำตาลและเกี่ยวกับกาแฟ วิธีการนี้ก็คือการทำให้ SUPPLY ในตลาดโลกเป็นไปตามต้องการ เมื่อปริมาณสินค้าในตลาดโลกเป็นไปตามที่ต้องการแล้วราคาก็จะอยู่ในระดับที่ต้องการอันเป็นไปตามกลไกการตลาดของ Demand Supply นั่นเอง การใช้ระบบจำกัดปริมาณการส่งออกซึ่งองค์การกาแฟระหว่างประเทศนำมาใช้ในความตกลงปี ค.ศ.1962 และ ค.ศ.1968 นั้นได้ถูกพัฒนากลไกต่าง ๆ เพิ่มขึ้นเพื่อจัดระเบียบการค้าสินค้ากาแฟให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จนกระทั่งกลายมาเป็น International Coffee Agreement 2001 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2001 โดยวางระบบดูแลการค้ากาแฟอย่างกว้างขวางเพื่อให้ธุรกิจกาแฟเป็นธุรกิจที่ยั่งยืน ตลอดจนส่งเสริมการบริโภคกาแฟและให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น รวมถึงการส่งเสริมมาตรฐานการครองชีพ การทำงานของผู้ที่อยู่ในธุรกิจกาแฟอีกด้วย

         2. มาตรการสต็อกสินค้า คือ ถ้าหากราคาสินค้าลดต่ำลงมากเป็นพิเศษก็จะให้ซื้อสินค้านั้นมาสต็อกเอาไว้ เก็บรักษาเอาไว้ และจะนำสินค้านั้นออกมาขายเมื่อราคาสินค้านั้นสูงขึ้นเป็นพิเศษ วิธีการนี้นำมาใช้ในข้อตกลงที่เกี่ยวกับดีบุก เมื่อใดก็ตามที่ราคาดีบุกต่ำกว่าราคาขั้นต่ำก็ให้ซื้อดีบุกนำมาสต็อกไว้ และเมื่อราคาดีบุกสูงกว่าราคาขั้นสูงที่กำหนดไว้ก็ให้ขายดีบุกที่สต็อกไว้                       

          วิธีการสต็อกสินค้านี้โดยกลไกแล้วน่าจะเป็นวิธีการที่ดี เพราะเมื่อราคาต่ำมีผลผลิตในโลกมากล้นตลาด ราคาจึงตกต่ำลงก็ให้ไปซื้อผลผลิตส่วนเกินนั้นมาเก็บไว้ในราคาถูกเพื่อเอาไว้ขายในปีที่มีราคาสูงเพราะผลผลิตขาดตลาด ตัวองค์การที่ดูแลโดยใช้วิธีนี้ก็น่าจะอยู่รอดได้ เพราะซื้อสินค้ามาสต็อกไว้ในราคาถูก แต่ในปีที่นำออกขาย ขายในราคาแพง เกิดกำไรคุ้มค่าใช้จ่ายในการสต็อกสินค้า

           อย่างไรก็ดีวิธีการสต็อกสินค้านี้ก็ไม่ได้ผลถ้าหากราคาสินค้ามีแต่จะลดต่ำลงเรื่อย ๆ เนื่องจากมีการผลิตเพิ่มขึ้น ๆ  มี Supply ในตลาดโลกมากขึ้น ๆ และความต้องการของตลาดโลกลดลง ๆ เรื่อย ๆ ก็จะมีแต่เพียงการซื้อสินค้าเข้ามาเก็บไว้ ๆ จึงไม่สามารถระบายออกไปได้เลย

          3. มาตรการผูกพันซื้อ ผูกพันขาย การใช้มาตรการผูกพันซื้อ ผูกพันขาย ระหว่างประเทศ ผู้ส่งออกสินค้าขั้นพื้นฐานที่จะตกลงกันกับประเทศผู้ซื้อเพื่อผูกพันที่จะขายสินค้าในราคาตามที่ตกลงกันไว้ในขั้นสูง ในกรณีที่ราคาสินค้านั้นเพิ่มสูงขึ้น และในกรณีที่ราคาสินค้านั้นลดต่ำลง ประเทศผู้ซื้อก็ผูกพันตนที่จะซื้อในราคาขั้นต่ำตามที่ตกลงกันไว้

          ทั้งสามมาตรการเป็นความพยายามของรัฐทั้งหลายที่จะเอามาแก้ปัญหาราคาต่ำราคาสูง ปริมาณสินค้าในตลาดล้นหรือปริมาณสินค้าลดลง ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความมั่นคงกับผู้ซื้อและผู้ขาย ผู้ซื้ออยากซื้อในราคาที่เหมาะสมไม่สูงเกินไปนัก หาซื้อได้โดยง่าย ผู้ขายอยากขายในราคาที่เหมาะสม ไม่ต่ำเกินไปนัก จึงต้องอาศัยกลไกสามประการดังกล่าวข้างต้นมาช่วยประคองให้ราคาสินค้าเป็นไปตามที่ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายต่างคาดหวังเอาไว้

          อย่างไรก็ตาม มาตรการที่ใช้แทรกแซงการค้าสินค้าขั้นพื้นฐานนั้นเมื่อถูกนำมาใช้ก็ทำให้เกิดการบิดเบือนตลาด มิได้เป็นไปตามภาวะการค้าเสรี ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลดีหรือผลร้ายแก่ประเทศทั้งหลายที่เกี่ยวข้องก็อาจเป็นได้ จึงอาจกล่าวได้ว่าในปัจจุบันมาตรการที่ใช้แทรกแซงการค้าสินค้าขั้นพื้นฐานในลักษณะพหุภาคี หมายถึง เป็นความตกลงระหว่างประเทศจำนวนมากนั้นยังมีอยู่เพียงเล็กน้อยเท่านั้นจึงเป็นเรื่องที่แต่ละรัฐ แต่ละประเทศยังคงดำเนินการแทรกแซงการค้าสินค้าขั้นพื้นฐานกันต่อไปตามความต้องการของแต่ละประเทศ ซึ่งแต่ละประเทศก็จะมุ่งที่จะช่วยเหลือคนในชาติของตัวเองเป็นหลัก ประเทศไทยก็อยากช่วยเหลือชาวนาไทย ชาวไร่ ชาวสวนของคนไทย ตัวอย่าง รัฐบาลรับจำนำข้าวในราคา 6500 บาทต่อตัน ในขณะที่ราคาข้าวจริงในตลาดราคาประมาณ 5500 บาทต่อตัน เท่ากับรับบาลไทยจ่ายให้กับเกษตรกรตันละ 1000 บาท นี่คือการแทรกแซงของประเทศไทยเพื่อช่วยเหลือชาวนาไทย หรือชาวไร่ ชาวสวน ชาวสวนยาง มันสำปะหลัง น้ำตาล สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ประเทศไทยพยายามช่วยเหลือคนไทย ประเทศอื่น ๆ ก็เหมือนกัน เขาก็มีมาตรการมากมายเพื่อช่วยเหลือคนในชาติของเขาเช่นกัน

          ที่มา : กฎหมายการค้าโลกว่าด้วยสินค้าเกษตร อาหาร และเครื่องดื่มที่คนไทยควรรู้ โดย ดร. สุธาบดี สัตตบุศย์ 

           http://www.ico.org/

หมายเลขบันทึก: 38240เขียนเมื่อ 12 กรกฎาคม 2006 11:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

"เนื่องจากสินค้าเกษตรเป็นสินค้าที่ ขายได้ในราคาต่ำเมื่อเทียบกับการนำเข้าสินค้าแล้วประเทศไทยนำเข้าเทคโนโลยีซึ่งมีมูลค่ามากกว่าสินค้าเกษตรที่ส่งออกไปยังต่างประเทศ เพราะฉะนั้นการแปรรูปสินค้าเกษตรเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่เพิ่มมูลค่าให้กับตัวสินค้าอีกทั้งยังคงสภาพได้นาน สินค้าotop จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถส่งออกได้ในตัวสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น"  .....มุก KU

อืม...ได้ความรู้ใหม่เพียบเลยค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท