E-Learning กับโครงร่าง 8 เหลี่ยมของ Khan (งานกลุ่มค่ะ)


โครงร่าง 8 เหลี่ยมของ Khan

E-Learning มิติ 8 ด้านของ Khan
    จากที่ได้รับมอบหมายงานจากอาจารย์ ให้ไปดูในเรื่องมิติ 8 ด้านของ Khan ที่เขาพูดถึงว่ามันควรจะเป็นหรือเกิดขึ้นใน e-learning มีอะไรอย่างไงบ้าง ถ้าเนื้อหาที่ว่านั้นถูกแปลเป็นภาษาไทยเรียบร้อยมาแล้วมันก็อาจจะง่ายในการอ่านและสรุปได้อย่างรวดเร็ว แต่ในการศึกษาในระดับนี้ที่ถือว่าควรมีมาตรฐานความรู้ภาษาอังกฤษที่ดีพอสมควร (จริง ๆ แล้วต้องมากด้วยซ้ำ) ทำให้สมาชิกในกลุ่มต้องช่วยกันแปลและเรียบเรียงอีกทีหนึ่ง (ค่อนข้างวุ่นวายและตลกกันน่าดู) แต่ก็สนุกดีค่ะ ได้ความรู้ในเรื่องภาษาไปด้วย และได้เข้าถึงในบทความของ Khan จริง ๆ
    e-learning มีบทบาทสำคัญจริง ๆ ในขณะนี้ กับวงการศึกษาที่มีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง ทุกคนต้องทำหน้าที่และพัฒนาบทบาทการให้ความรู้แก่ผู้เรียนได้ในทุกที่ ทุกเวลา ให้ทันกับยุคของ IT 
   Khan กล่าวถึงเรื่อง ความสำคัญของ e-learning , การเปิดรับการเปลี่ยนแปลงและการกระจายการเรียนรู้สู่สิ่งแวดล้อม , การเรียนแบบดั้งเดิมกับการเรียนแบบใหม่ (e-learning) , การให้ความสำคัญกับผู้เรียนในระดับ e-learning , ส่วนประกอบและความสามารถของ e-learning , ลักษณะพิเศษของความสามารถในการเรียนรู้ e-learning , ลำดับขั้นตอนการพัฒนา e-learning , รูปแบบการเรียนและการใช้งาน e-learning , ลักษณะการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ , และคำถามทิ้งท้ายของบทความที่ว่า เราสามารถเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ที่เป็นส่วนประกอบของ e-learning จากบทเรียนได้หรือไม่
    เมื่อเทคโนโลยีก้าวเข้ามาสู่ตัวเรา เราก็ต้องศึกษาและหาทางรับมือและใช้มันให้เป็นให้คุ้มใช่มั๊ยค่ะ กับการเรียนการสอนโดยใช้ e-learning เพื่อให้มาเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนนั้นก็คงไม่ยาก แต่ทั้งนี้ก็ต้องมีปัจจัยหลายอย่างช่วยให้การเรียนการสอน e-learning สำเร็จลงได้ เช่น
     1. องค์กรต้องมีเงินทุนให้ในการดำเนินการ
     2. ครูผู้สอนต้องพร้อม (ทั้งความรู้และความสามารถในการสร้างและใช้ให้เกิดประโยชน์กับผู้เรียน)
     3. ผู้บริหารต้องสนับสนุน
     4. ผู้เรียนต้องมีความสุขกับการเรียน

สมาชิกกลุ่มที่ช่วยกันแปลบทความ และจะนำเสนออาจารย์ในรูปเล่มรายงานที่แปลอย่างละเอียดแล้ว ประกอบไปด้วย
1. น.ส.กนิสรา  มากงาม
2. นางกันยารัตน์  เขียวแต้ม
3. น.ส.น้ำผึ้ง  จุ้ยศิริ
4. นางประมวล นาคผู้
5. น.ส.ปิยรัตน์ แก้วกัลยา
6. นายรณภพ  อิ้มทับ

คำสำคัญ (Tags): #e-learning#khan
หมายเลขบันทึก: 38239เขียนเมื่อ 12 กรกฎาคม 2006 11:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 เมษายน 2012 21:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น

มิติ 8 ด้านของ Khan มีอะไรบ้าง
มิติที่ 1 เกี่ยวข้องกับสถาบันค่ะ
กล่าวถึงเรื่ององค์กร   การบริหาร  งานวิชาการ  และงานบริการนักศึกษาบุคคลจะเกี่ยวข้องในเรื่องการวางแผนโปรแกรมการเรียนการเตรียมตัวขององค์กร  ความสมารถในการนำเนื้อหามาใช้ประโยชน์  และโครงสร้างพื้นฐาน  และความต้องการของผู้เรียน  องค์กรสามารถจัดการให้นักศึกษาฝึกงานแต่ละห้องเรียนรู้ได้อย่างมีอิสระ  เช่นเดียวกับในโปรแกรมผสมผสานหรือไม่  การวิเคราะห์ความต้องการได้นำออกแสดงผลเพื่อที่จะเข้าใจความต้องการของผู้เรียนทั้งหมดหรือไม่
มิติที่ 2 เกี่ยวกับการสอน
จะเกี่ยวข้องกับการรวมเนื้อหาซึ่งถูกส่งออกมา ความต้องการของผู้เรียน และวัตถุประสงค์ของการเรียน
มิติที่ 3 ลักษณะยุทธวิธีของ e-learning
กล่าวถึงแผนการซึ่งเป้าหมายการเรียนทั้งหมดในโปรแกรมที่ได้ให้ได้ถูกทำรายการและขั้นตอนการส่งที่เหมาะสมที่สุดที่ได้เลือก
มิติที่ 4 การวางแผนการเรียนแบบสองทาง
กล่าวถึงปัจจัยที่สัมพันธ์กับผู้ใช้สองทางของแต่ละองค์ประกอบในโปรแกรมการเรียนแบบผสมผสาน  บางคนต้องการที่จะรับประกันว่าผู้ใช้แบบสองทางสนับสนุนทุกองค์ประกอบของการผสมผสาน  การออกแบบเนื้อหา  การนำร่อง  และการทดสอบความสามารถในการใช้
มิติที่ 5 การประเมินผล
เกี่ยวกับการนำเอาโปรแกรมการเรียนแบบผสมผสานไปใช้  โปรแกรมควรมีความสามารถที่จะประเมินได้ว่ามีประสิทธิภาพเพียงใด  ดีเช่นเดียวกับการประเมินการแสดงผลของผู้เรียนแต่ละคนหรือไม่
มิติที่ 6 การจัดการ
เกี่ยวกับการจัดการโปรแกรมการเรียนแบบผสมผสาน  เช่น  โครงสร้างพื้นฐาน  เหตุผลที่จะจัดการให้มีประเภทที่หลากหลาย  การส่งโปรแกรมการเรียนที่ผสมผสานได้ผลที่ดี การส่งหลักสูตรทั้งหมดไปเป็นประเภทเดียว  มิติการจัดการจะรวมถึงการลงทะเบียน การประกาศ  และการทำตารางขององค์ประกอบที่แตกต่างกันของการผสมผสาน
มิติที่ 7 ทรัพยากรที่สนับสนุน
การสร้างทรัพยากรที่แตกต่างให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้สำหรับผู้เรียน  เช่น การจัดระเบียบผู้เรียน  การสนับสนุนทรัพยากรสามารถเป็นการได้ทั้งที่ปรึกษา  ติวเตอร์ เป็นบุคคล  การใช้อีเมล์  หรือระบบการแชทก็ได้
มิติที่ 8 จริยธรรม
การพัฒนาโปรแกรมการเรียนแบบผสมผสาน โอกาสที่เท่าเทียมกัน  ความหลากหลายของวัฒนธรรม  และเชื้อชาติ ควรจะกล่าวถึง ขณะที่เทคโนโลยีการเรียนและสื่อส่งข้อมูลมีความก้าวหน้ามากขึ้นนั้นมีสิ่งหนึ่งที่แน่นอนนั่นคือ  องค์กร  สนับสนุนตัวอย่างการเรียนแบบผสมผสานมากกว่าโปรแกรมโหมดการนำส่งความรู้อย่างเดียว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท