กรรมการธรรมาภิบาล


ธรรมาภิบาล

คณะกรรมการธรรมภิบาลจังหวัดขอนแก่น (ก.ธ.จ.)

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด พ.ศ.2552  ได้กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับจำนวน วิธีการสรรหา และการปฎิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ

ธรรมาภิบาลจังหวัด เพื่อให้การสอดส่องและเสนอแนะการปฎิบัติภารกิจของหน่วยงานของรัฐในจังหวัดเป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ตามมาตรา 3/1 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545

                         อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 55/1 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน(ฉบับที่7) พ.ศ.2550 นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงได้วางระเบียบไว้

                          คณะกรรมการ ประกอบด้วย

                          ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีซึ่งมีเขตอำนาจในจังหวัด(ขอนแก่น เขต 12) เป็นประธาน  และผู้แทนภาคประชาสังคม ผู้แทนสมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้แทนภาคธุรกิจเอกชนในจังหวัดนั้นเป็นกรรมการ และให้เลือกกรรมการคนหนึ่งทำหน้าที่รองประธาน ให้ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งข้าราชการสังกัดสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีตามที่ประธานเสนอเป็นเลขานุการหนึ่งคนและผู้ช่วยเลขานุการหนึ่งคน และแต่งตั้งข้าราชการในจังหวัดนั้นตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดเสนอเป็นผู้ช่วยเลขานุการหนึ่งคน

                          ในจังหวัดขอนแก่น มีคณะกรรมการได้จำนวนยี่สิบคน ตาม(4) ที่กำหนดว่า จังหวัดที่มีอำเภอตั้งแต่ยี่สิบเอ็ดอำเภอขึ้นไป ให้มีกรรมการจำนวน ยี่สิบคน ประกอบด้วย ประธาน และผู้แทนภาคประชาสังคมสิบเอ็ดคน ผู้แทนสมาชิกสภาท้องถิ่นสี่คน และผู้แทนภาคธุรกิจเอกชนสี่คนเป็นกรรมการ

คณะกรรมการธรรมภิบาลจังหวัดขอนแก่น (ก.ธ.จ.) มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

(1)    สอดส่องการปฎิบัติภารกิจของหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐในจังหวัดให้ใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

(2)    แจ้งให้ผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่เกี่ยวข้อง แล้วแต่กรณี ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ ในกรณีที่พบว่ามีการละเลยไม่ปฎิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับ หรือมีกรณีทุจริต

(3)    เสนอแนะแนวทางการปฏิบัติและการส่งเสริมตามหลักคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลเพื่อการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีของหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดและหน่วยงานของรัฐในจังหวัด

(4)    ติดตามการปฏิบัติงานตามมติ ก.ธ.จ.

(5)    แต่งตั้งที่ปรึกษาด้านวิชาการ การประชาสัมพันธ์ หรือด้านอื่น จำนวนไม่เกินสามคน

(6)    เผยแพร่ผลการปฏิบัติหน้าที่ต่อสาธารณะตามที่เห็นสมควร

และที่สำคัญอีกสองข้อ คือ

                       ข้อ 26 ให้ ก.ธ.จ. มีอำนาจออกหนังสือแจ้งให้หน่วยงานของรัฐ ผู้ว่าราชการจังหวัด ที่ปรึกษาตามข้อ 22)5) และบุคคลที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม หรือจัดส่งเอกสารหรือข้อมูลต่างๆ รวมทั้งชี้แจงข้อเท็จจริง เพื่อประกอบการพิจารณาได้ตามความจำเป็น

                      ข้อ 28 กรณีที่ ก.ธ.จ. มีมติว่ามีการละเลยไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบหรือข้อบังคับหรือมีกรณีทุจริต ให้ประธานแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่เกี่ยวข้องแล้วแต่กรณี รายงานผลการดำเนินการให้ประธานทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือ

                     หากผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่เกี่ยวข้อง แล้วแต่กรณี มิได้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ ให้ประธานแจ้งมติ ก.ธ.จ. ตามวรรคหนึ่งให้ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีทราบ เพื่อรายงานต่อรัฐมนตรีเจ้าสังกัดดำเนินการต่อไป

                     เป็นเรื่องที่ดี สำหรับบ้านเมืองที่มีองค์กรต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายคอยส่อดส่องดูแลระบบราชการให่เกิดธรรมาภิบาลขึ้นในแผ่นดิน

หมายเลขบันทึก: 382181เขียนเมื่อ 6 สิงหาคม 2010 08:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 19:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เรียน คุณสมเกียรติ โสภา

ท่านเขียนเรื่องนี้ดีมาก ๆ เลย เป้นเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวข้าราชการ ที่เป้นช่องทางหนึ่งที่จะอาศัยให้ความเป็นธรรมข้าบุคลากรของรัฐได้ ผมจะนำไปทดลองใช้ รอดูผลงานได้เลย ขอบคุณ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท