ร่วมกันออกแบบความคิดในประเด็น " จริงหรือไม่ที่ว่าผู้บริหารระดับสูง ผู้นำ หัวหน้างาน นักพัฒนาทุนมนุษย์ และนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ ส่วนใหญ่ที่ประสบความสำเร็จ ล้มเหลวในเรื่องการบริหารครอบครัว"


ขอถามท่านว่า "จริงหรือไม่ที่ว่าผู้บริหารระดับสูง ผู้นำ หัวหน้างาน นักพัฒนาทุนมนุษย์ และนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ ส่วนใหญ่ที่ประสบความสำเร็จ ล้มเหลวในเรื่องการบริหารครอบครัว" ร่วมกันออกแบบความคิดเพื่อการพัฒนาทุนมนุษย์สู่สังคมที่ยั่งยืนด้วยความสุข

จริงหรือไม่

ที่ว่า

ผู้บริหารระดับสูง ผู้นำ 

หัวหน้างาน

นักพัฒนาทุนมนุษย์   

และนักบริหารทรัพยากรมนุษย์

ส่วนใหญ่ที่ประสบความสำเร็จ

ล้มเหลวในเรื่องการบริหารครอบครัว”

หมายเลขบันทึก: 382170เขียนเมื่อ 6 สิงหาคม 2010 05:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 17:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีค่ะ

  • ไม่จริงมั้งคะ ด้วยเท่าที่พบว่า เต้านายครูอ้อย แต่ละท่าน ที่เก่งๆ ผ่านมาชั่วชีวิตรับราชการ  6 ท่านแล้วทั้งชายและหญิง ประสบกับความสำเร็จ ในชีวิตครอบครัวหมดเลย
  • หรือว่า บริบทครูอ้อย เป็นข้าราชการ และเป็นครู

ขอบคุณมากค่ะที่ให้คิด

"จริงหรือไม่ที่ว่าผู้บริหารระดับสูง ผู้นำ หัวหน้างาน นักพัฒนาทุนมนุษย์ และนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ ส่วนใหญ่ที่ประสบความสำเร็จ ล้มเหลวในเรื่องการบริหารครอบครัว"

ประเด็นนี้เป็นคำถามที่ผู้ถามมักจะสับสนในความคิดของตนเองนะคะ เอาเรื่องระบบการบริหารองค์กรไปผูกโยงกับการบริหารจัดการครอบครัว

การบริหารองค์กรมีกฎระเบียบชัดเจนที่ต้องปฎิบัติ ใครขัดขืน หรือมีผลงานไม่เข้าตา จะมีการลงโทษตามกระบวนการ ผู้ใต้บังคับบัญชาจะต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด แม้ว่าหัวหน้าองค์กรจะมีอุปนิสัยที่ไม่ชอบหน้าก็จำต้องปฎิบัติตามคำสั่งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เพื่อผลของงานขององค์กร ถ้าผู้ใต้บังคับบุญชา มีนิสัยไม่ดีหรือทำงานผิดพลาดก็สามารถว่ากล่าวตักเตือนและไล่ออกได้

แต่การบริหารจัดการครอบครัวคนละเรื่องการเลย เป็นการของการใช้อำนาจสั่งการอะไรก็ไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องภายในครอบครัว
เป็นเรื่องทางอารมณ์ระหว่างคนในครอบครัว ไม่มีกฏ ไม่มีการลงโทษ ไม่มีการไล่ออก จะว่ากล่าวตักเตือนก็ไม่ฟัง เพราะพื้นฐานอารมณ์มาจากครอบครัวที่แตกต่างกัน แต่ละฝ่ายกดื้อด้านที่จะตามใจตน จะชเอาชนะคัดคาน บ้างก็งอน บ้างต้องตามตื้อคืนดี

สรุปสั้นๆนะคะ
การบริหารองค์กร ได้คนที่นิสัยไม่ดีมาทำงานเราสามารถลงโทษไล่ออกได้ แล้วรับคนใหม่เข้ามาทำงาน ก็ไม่มีใครมาว่าเราล้มเหลวในการบริหารงาน จะไล่ออกกี่ครั้งกี่คนก็ได้ งานโดยส่วนรวมเราก็ประสบผลสำเร็จ เพราะพนักงานในองค์กรเรามีมาก

ในขณะเดียวกัน คนในครอบครัวหากได้คู่ครองที่ดูใจกันมาว่าดี อยู่ๆไปกลับนิสัยไม่ดี เป็นคนจู้จี้ ขี้บ่น บางครั้งก็ทะเลาะวิวาท ฯลฯ
แบบนี้อยู่ที่นิสัยคน ก็ต้องทนอยู่กันไปที่ทนไม่ได้ก็เลิกลา แค่มีเรื่อง สายตาคนก็ว่าชีวิตล้มเหลว แต่ปรากฎว่าในการทำงานในองค์กรเขากลับทำงานได้ดีมีวิสัยทัศน์ เป็นที่ยกย่องในองค์กรและสังคมทั่วไป

 จึงเป็นคนละเรื่องกันคะ อย่าสับสนนะคะ

จริงหรือไม่ที่ว่าผู้บริหารระดับสูง ผู้นำ หัวหน้างาน นักพัฒนาทุนมนุษย์ และนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ ส่วนใหญ่ที่ประสบความสำเร็จ ล้มเหลวในเรื่องการบริหารครอบครัว

               ตอบตามประสบการณ์ครับ

    ที่ผ่านมา พบประมาณร้อยละ 20 ครับ   ที่ประสบความสำเร็จเรื่องงาน  แต่มาล้มเหลวเรื่องครอบครัว   คือ  พวกนี้จะทุ่มเทให้งานมากๆๆ   เพื่อให้ได้มีผลงาน   โดยมีเป้าหมายสูงสุด  อยู่ที่การเลื่อนตำแหน่ง  โดยขาดการมีเวลาให้ครอบครัว   ทำให้ชีวิตครอบครัวล้มเหลว ทั้งลูก และ ภรรยา

    ส่วนอีกร้อยละ 80  ที่ผมพบมา ก็จะให้เวลาพอดีๆ ระหว่างครอบครัว และ  งาน

สวัสดีครับ....ประชาคมในสังคมgotoknow ทุกท่านครับ ที่เข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็น......

ผมขอเรียนทุกท่านเพิ่มเติมเพื่อเป็นประโยชน์ และเป็นข้อมูลในการพิจารณา ครับ ว่าเรื่องที่ผมตั้งประเด็นว่า " จริงหรือไม่ที่ว่าผู้บริหารระดับสูง ผู้นำ หัวหน้างาน นักพัฒนาทุนมนุษย์ และนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ ส่วนใหญ่ที่ประสบความสำเร็จ ล้มเหลวในเรื่องการบริหารครอบครัว" ไม่ได้มีเจตนาที่ตั้งคำถามโดยไม่ได้ตรึกตรองนะครับ....เรื่องนี้เป็นผลงานการวิจัยจากการสำรวจเชิงคุณภาพ และจากการสัมภาษณ์ผู้บริหารที่มีประสบการณ์ตรงในภาคอุตสาหรรมมากกว่า 500 ท่าน ผมสรุปยืนยันว่าส่วนใหญ่ จะเป็นไปตามแนวคำตอบของคุณ Small Man ครับ แต่เปอร์เซนต์จะมากกว่ามาก (รองเข้ามาอ่านในบทความคัดย่อที่ผมได้เคยเขียนไว้ก่อนหน้าที่ในเรื่องนี้....นะครับ) จะมีประเด็นที่น่าสนใจหลายเรื่อง แต่สำคัญที่เราพิสูจน์ได้คือ ในเรื่องพฤติกรรมส่วนต้วของผู้บริหารระดับสูง หัวหน้างาน หรือนักบริหารงานบุคคล (บางคนเท่านั้น) ที่มีพฤติกรรม ในเรื่อง สิ่งยั่วยวน กามารมณ์ เงินใต้โต๊ะ ที่ทำให้เกิดพฤติกรรมส่งล่อใจให้เกิดการเดินผิดทิศ ผิดทางไปบ้าง ผมได้เคยเสนอบทความเหล่านี้มามากกว่า 8 ปี เพื่อวัตถุประสงค์ให้ทุกคนอย่าประมาท ในเรื่องแนวคิด และอย่ามั่นใจในสิ่งที่กำลังกระทำอยู่ว่าจะถูกต้องเสมอไป เป็นเครือ่งเตือนจิดใจ อย่าหลงมัวเมาไปกับอารมณ์ ความรู้สึก ที่เป็นคนละเรื่องกับเรื่องงาน แต่ด้วยความเป็นจริงเป็นสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกันเป็นอย่างยิ่ง จนจะแยกไม่ออก ระหว่างจริงหรือไม่จริง และสุดท้านผมมุ่งเน้นให้กำลังใจสำหรับหลายท่านที่เดินแล้วเพรียงพล้ำ ไปบ้าง ลุกขึ้นเดินใหม่ เดินด้วยความมั่นใจ ผิดเป็นครู ในแวดวงการบริหารงานบุคคล ที่ผลมีเครือข่ายมากกว่า 5,000 สถานประกอบกิจการ และบุคลากรมากกว่า 300,000 คน หากจะทำการประเมิน และทำสำรวจอย่างจริงๆ จังๆ คงต้องใช้เวลาเป็นอย่างมาก ผมจึงใคร่ขอความคิดเห็นร่วมแบ่งปันกันเข้ามามากๆ นะครับ เพื่อเป็นวิทยาการ ทางความรู้ให้กับสังคมดีๆ ของพวกเราต่อไป งานนี้ไม่มีผิดถูกหรอกครับ ขอขอบคุณที่แบ่งปันความรู้ ครับ บทสรุปของเรื่องนี้ผมต้องการจัดทำเป็นหนังสือเผยแพร่ต่อสังคม ในสถาบันพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อสังคม ต่อไป

อ.ภูชิสส์

ก็อาจจะมีที่ท่านผู้บริหารจะไม่สามารถบริหารครอบครัวได้ อันเนืองมาจากภาระทางการงานในเรื่องของเวลา ความเป็นส่วนตัว เเต่ผู้บริหารบางท่าน อาจมีการจัดเเบ่งเวลาให้กับครอบครัวไว้อย่างดีเเล้ว ท่านเหล่านี้ก็มักจะไม่มีปัญหาในเรื่องของการบริหารครอบครัวนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท