คุณภาพการบริการทางเภสัชกรรม ก้าวสำคัญสู่ระบบการใช้ยาที่ปลอดภัย


วันสุดท้ายของการประชุม หัวข้อแรก มาไม่ทันอ่ะ....................

หัวข้อที่ 2 คือ

Fundamental Pharmacy Service to promote safe medication Use

                                            Part 2

ผู้บรรยาย ภญ.ปริมมารีย์ อภิญญาณกุล รพ.สุราษฎร์ธานี

               ภญ.สมฤดี พัฒนไทยานนท์  รพ.มหาราชนครศรีธรรมราช

               ภญ.รศ.ธิดา นิงสานนท์        นายกสภาเภสัชกรรม

      นายกสภาฯ อาจารย์แม่ของเภสัชทั่วประเทศ ท่านเป็น modurator ให้กับชั่วโมงนี้ค่ะ ห่วงใยผู้ป่วย ให้ได้รับประโยชน์ในการใช้ยา คือความถูกต้องปลอดภัย จริงจังทีเดียว

     ภาพข้างล่าง ผู้ป่วยมักไม่ค่อยรับประทานยาแคลเซียม และโซดามินท์ เพราะเข้าใจว่าเป็นยาบำรุงกระดูก รวมทั้งเข้าใจว่า โซดามินท์ เป็นยาลดกรด ก็ไม่ผิดค่ะ แต่ในผู้ป่วยโรคไต ประโยชน์ที่ต้องการต่างไป.............

ดังนั้นเพื่อให้ผู้ป่วย ใช้ยาอย่างถูกต้อง "ต้องรู้จักยา" ค่ะ เภสัชกร ใช้ฉลากช่วยกำกับแบบติดแน่นบนซองยา ในการจ่ายยานี้ในผู้ป่วยโรคไตทุกครั้งเลยค่ะ

        อีกหนึ่งผลงานที่อาจดูจะธรรมดาที่หลายโรงพยาบาลทำอยู่แล้วคือมีฉลากภาพสำหรับผู้ที่อ่านหนังสือไม่ออก

       แต่ที่นี่เขามีการส่งต่อข้อมูลเฉพาะของผู้ป่วยในคอมพิวเตอร์ ด้วยการบันทึกข้อมูลไว้ "ผู้ป่วยอ่านหนังสือไม่ออก"   เพื่อให้บริการได้ทันทีเป็นการป้องกันปัญหาการใช้ยาที่รู้ล่วงหน้า จัดการบริการในผู้ป่วยอย่างเหมาะคือการใส่ใจเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันปัญหาการใช้ยา........แบบนี้เลยยย

 

และแล้วชั่วโมงสุดท้าย ก็มาถึง....พี่มังกร บรรยายเรื่อง DDD........เย !

Use of Defined daily dose in Drug Procurement

จะวัดเปรียบเทียบการใช้ยาอย่างไรดี.....ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดของโลก...........

ขนาดยา DDD = ขนาดยาในข้อบ่งใช้หลัก (main indication)

ขนาดรักษาของยาที่กำหนดในผู้ใหญ่ สำหรับข้อบ่งใช้หลัก ต่อ น้ำหนัก 70 kg (อาจมีความคลาดเคลื่อนในกรณีที่ใช้ใน รพ.เด็ก)

ในหนึ่งวัน ประชากรที่ศึกษามี กี่คนที่ใช้ยาในขนาด defined daily dose

จากตัวอย่าง

(25 mg x22,500,000 เม็ด)+(50 mg x3,000,000)x1000

                     50 mg x 2,700,000 คนx365วัน

 

สมมติ จำนวนยาที่ใช้รายการหนึ่งขนาด 5 mg จากคลังเวชภันฑ์ บรรจุ 100 เม็ด 1 ปีใช้ 1000 ขวด

ปริมาณยาที่ศึกษาในช่วงเวลา 1 ปี ใช้           100เม็ดx1000 ขวดx5 mg x1000

                                                ขนาดยา 5 mg xจำนวนผู้ป่วยที่ศึกษา(ผู้ป่วยนอก)x365 วัน

ในจำนวนคนที่ศึกษามีกี่คนที่ได้ยาในขนาดมาตรฐานเท่าไร

 

Defined Daily Dose (DDD)

 

คือ ปริมาณยาโดยเฉลี่ยสำหรับการรักษาต่อวัน (ในขนาด maintenance dose) สำหรับการใช้ตามข้อบ่งใช้หลักของยานั้น ในผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่ ซึ่งอาจไม่สะท้อนปริมาณยาที่สั่งจ่ายจริงสำหรับการรักษาแต่ละราย

 

สำหรับผู้ป่วยใน ใช้ "จำนวนวันนอน" 

1 วัน 100 คนนอนใน รพ. จะมีคนใช้ "ยานี้" กี่คน

จำนวนเตียงวัน เช่น ใน 1 ปี มีจำนวนเตียงวัน 28,940 วัน 

  80mgx2,350หลอด x100

240 mg x 28940

 

 

เปรียบเทียบ ต่อ ปี และ ร้อยละที่มีการเปลี่ยนแปลง

เปรียบเทียบการใช้ยา ปฏิชีวนะ ในแต่ละปี สีที่ต่างคือชนิดยา

 ดูเพิ่มเติม  http://www.whocc.no/use_of_atc_ddd/#Drug

 

ผู้เขียนนั่งกลางห้อง เก็บภาพเฉพาะวันสุดท้ายเมื่อวานไม่ได้เอากล้องมาอ่ะ  และ...ได้ภาพสาวงามจากวารินชำราบ ซึ่งนั่งด้านหน้าของผู้เขียนค่ะ ... ขอเก็บภาพ รพ.ดัง มีผลงานทุกปีสักหน่อย นำทีมโดยเภสัชกรหญิงอาภรณ์ งานประชุมนี้ รพ.วารินชำราบได้รางวัลจากการส่ง oral presentation : การบริบาลเภสัชกรรมในกระบวนการ medication reconciliation ผู้ป่วยใน  ซึ่งเสียดายนักที่ผู้เขียนไม่ได้เข้าฟังเพราะนำเสนอไปในวันแรกที่ผู้เขียนไม่ได้เข้าร่วมประชุมค่ะ

หมายเลขบันทึก: 381770เขียนเมื่อ 4 สิงหาคม 2010 19:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • มาเชียร์ทีมทำงาน
  •  ภญ.รศ.ธิดา นิงสานนท์        นายกสภาเภสัชกรรม
  • เรื่อง DDD นี่น่าสนใจนะครับ

ใช่งานที่น้องมดพาพี่ไปใช่ไหมคะ

รอก่อนจะเอารูปทะเลพัทยามาฝากค่ะ

คนละงานค่ะพี่ครูต้อย...งานนั้นยังไม่ได้เขียนเลยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท