การอบรมวิธีการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์แบบINQUIRY


กิจกรรมการเรียนการสอน

การเข้าฝึกอบรม/สัมมนา/ประชุมทางวิชาการ ดังนี้

1.   หน่วยงานที่รับผิดชอบจัดการอบรม   สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา  สำนักงานการศึกษาขั้น พื้นฐาน

2.   สถานที่    ณ  โรงแรมวินเซอร์  สวีท  กรุงเทพมหานคร

3.   วิทยากร  คือ   Dr.Ovil  L.White  จาก  State  Of  New  York  at  Cortland  ประเทศสหรัฐอเมริกาและ  ดร.มนธิดา  สีตะธนีและคณะ

4. เนื้อหาการฝึกอบรม/สัมมนา/ประชุมทางวิชาการ

    4.1  ภาคทฤษฏี  มีหัวข้อการฝึกอบรม/สัมมนา/ประชุมทางวิชาการ ดังนี้

           4.1.1     การจัดการเรียนการสอนแบบ  INQUIRY  LEARNING  คือ

                         -    การจัดการ เรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถศึกษาค้นคว้าและสืบสวนสอบสวน  ความรู้ด้วยตนเอง ทั้งยังช่วยให้เกิดความคิดอย่างมีเหตุผล 

                         -   การทำความเข้าใจธรรมชาติ  ด้วยการฝึกฝน  การกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งซ้ำ ๆ การสัมผัสกับประสบการณ์จริงในธรรมชาติและชีวิตประจำวันจะทำให้นักเรียนเกิดองค์ความรู้ที่แท้จริงยั่งยืนและสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้

                         -   การจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ด้วยการเน้นกระบวนการคิด  สืบเสาะหาความรู้ด้วยตนเอง  ภายใต้  การแนะนำ   การท้าทายความคิดของนักเรียนและการเปิดโอกาสในการสืบเสาะหาความรู้ของนักเรียนโดยมีครูเป็นผู้ควบคุมชั้นเรียน

           4.1.2     การวัดผลประเมินผลจากการเรียนการสอนแบบ  INQUIRY  LEARNING  คือ

                        จะต้องมีการประเมินผลการเรียนรู้ตลอดเวลา  เช่น  อาจจะประเมินจากความสนใจ  ร่วมมือแค่ไหน    โดยวิธีการดังต่อไปนี้

                        -   เปิดโอกาสให้นักเรียนแสดงความคิดเห็น  อธิบาย  ในสิ่งที่เรียนรู้

                        -   ให้นักเรียนมีการทำนายผลที่เกิดขึ้นในอนาคต

                        -   กระตุ้นให้นักเรียนอธิบายให้ได้

                        -  ให้นักเรียนเขียนเพื่อแสดงความรู้

                        -   ให้นักเรียนเปรียบเทียบผลการทดลองกับสิ่งที่ทำนายไว้ว่าเหมือนหรือต่างกันอย่างไร

                        -   พยายามกระตุ้นให้นักเรียนตอบคำถามตลอดเวลา  เพื่อให้นักเรียนได้พัฒนาศักยภาพของสมองในด้านการคิด

          4.1.3   รูปการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้แบบ  INQUIRY  LEARNING    คือมีการเพิ่ม  The  learning  Cycle   ในการขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  ในขั้นตอนอื่นเหมือนรูปแบบการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้โดยทั่วไป เช่น  มี มาตรฐานการเรียนรู้  ตัวชี้วัด   คุณลักษณะอันพึงประสงค์   สื่อการเรียนรู้  การวัดผลประเมินผล  เป็นต้น  แต่ที่น่าสนใจคือขั้นตอนของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ มีการเพิ่ม  The  learning  Cycle  เข้ามา   ซึ่งจำเป็นมากสำหรับครูสอนวิทยาศาสตร์และนำไปประยุกต์ใช้ในวิชาอื่น ๆ ได้ด้วย   ซึ่ง    The  learning  Cycle  คือ

 -   Engage   คือ  ขั้นกระตุ้นความสนใจของนักเรียนหรือประมาณการนำเข้าสู่บทเรียน

-   Explore   คือ  กิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นประสบการณ์ให้เกิดกับนักเรียนให้     

                        ลงมือปฏิบัติจริง

-  Explain  คือ  ขั้นการอธิบายผลการปฏิบัติการทดลองด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์

-   Extend   คือ   ขั้นนำความรู้ไปอธิบายสิ่งต่าง ๆ  รอบตัวเพื่อเป็นการเชื่อมโยงความรู้ จากห้องเรียนไปสู่ปรากฎการณ์ต่าง ๆรอบตัว

-   Evaluate   คือ  ขั้นการประเมินผลการเรียนรู้  จะต้องมีการประเมินตลอดเวลา  ซึ่งอาจจะเป็นการสังเกต  การสัมภาษณ์  การตอบคำถาม  การอธิบาย  หรือการทดสอบอาจเป็นตัวเลขหรือไม่ก็ได้  โดยคำนึงถึง

              1)   นักเรียนมีความถนัดเพียงพอหรือไม่  การประเมินต้องมีจุดประสงค์

              2)  เครื่องมือการประเมินต้องเหมาะสม  และหลากหลาย

              3)  การประเมิน  จะเกิดขึ้น   ก่อนเรียน   ระหว่างเรียน  และหลังเรียน

    4.1.4   การใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้และเพื่อประเมินผลการเรียนรู้จะต้องคำนึงถึงคำตอบของนักเรียน ที่

                        -  มาจากพื้นความรู้เดิมที่ถูกดึงออกมา

                        -   มาจากประสบการณ์ของนักเรียนที่มี

                        -   มาจากความคิดหรือการประยุกต์ความรู้และประสบการณ์  ซึ่งถือเป็นคำตอบที่ดีที่สุด

     4.2     ภาคปฏิบัติ/การศึกษาดูงานนอกสถานที่

                วิทยากรได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมจริงและให้ทำตัวเหมือนกับเป็นนักเรียน  ทำให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ประสบการณ์จากการสอนปฏิบัติและการประเมินผลของครูมาใช้ได้ดี

5.  ผู้เข้ารับการฝึกอบรม/สัมมนา/ประชุมทางวิชาการ   คือ  ครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ที่สนใจสมัครเข้าร่วมกิจกรรมโดยจะสมัครผ่าน www.kruwit.com       ในโครงการนี้จัดขึ้นสำหรับโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการลงทุนด้านการศึกษาและการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์  จำนวน  1,750  โรงเรียน  และจัดการอบรมเป็น  2  รุ่น  คำ

  รุ่นที่ 1  ระหว่างวันที่  14-17  กรกฎาคม  2553

                              รุ่นที่ 2  ระหว่างวันที่  21-24  กรกฎาคม  2553    

6.  ความรู้ต่าง ๆ ที่ได้รับจากการเข้ารับการฝึกอบรม/สัมมนา/ประชุมทางวิชาการ ครั้งนี้

     6.1   รู้จักวิธีการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์แบบ           INQUIRY  LEARNING  

     6.2   ได้เทคนิคการสอนแบบใหม่

     6.3    รู้จักวิธีการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ในขั้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบ The  learning  Cycle

     6.4   ได้เทคนิคการประเมินผลแบบใหม่

     6.5   ได้เรียนรู้การตั้งคำถามที่กระตุ้นให้นักเรียนได้ใช้ความคิด

สรุปว่า การอบรมครั้งนี้น่าสนใจมากค่ะ  อยากให้เพื่อนครูวิทยาศาสตร์ติดตามเรื่องราวดี ๆ เพื่อพัฒนาครูวิทย์ได้ที่ www.kruwit.com 

 

หมายเลขบันทึก: 381175เขียนเมื่อ 3 สิงหาคม 2010 17:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท