ความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎีและสมมุติฐาน (The relationship between theory and hypothesis) (ครั้งที่ 7)


The relationship between theory and hypothesis.

       ในวันนี้เราจะศึกษากันในเรื่อง “ความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎีและสมมติฐาน” กันครับ ซึ่งเรื่องที่ผ่านมาเรารู้จักกับทฤษฎี และสมมติฐานกันมาแล้ว เริ่มกันเลยนะครับท่านผู้อ่าน  

       ทฤษฎีและสมมติฐานนั้นมีความสัมพันธ์กันใกล้เคียงกันมากจนบางครั้ง บางท่านอาจจะคิดว่าเป็นสิ่งเดียวกันไปแล้ว แต่ในความเป็นจริงนั้นสมมติฐานกับทฤษฎีนั้นเป็นคนละเรื่องกันเลย อธิบายได้ดังนี้ สมมติว่าเรามีทฤษฎีอยู่ทฤษฎีหนึ่งแต่เรามีความต้องการที่จะพิสูจน์ทฤษฎีนั้นว่ามีความเป็นจริงมากน้อยแค่ไหน เราสามารถทดสอบทฤษฎีนั้นโดยอาศัยการนิรนัย (Deduction) ข้อความออกมาจากทฤษฎีซึ่งข้อความที่นิรนัยนี้จะเป็นข้อความที่ชี้ไปถึงสิ่งซึ่งสามารถจะทำการพิสูจน์ทดสอบได้ ข้อความดังกล่าวนี้ก็คือสมมติฐานนั่นเอง และเมื่อเราทดสอบสมมติฐานว่าเป็นเช่นไร ระหว่างยืนยัน และปฎิเสธ นั่นก็จะเป็นการพิสูจน์ ทดสอบทฤษฎีนั้นไปในตัวด้วย

       สมมติฐานในอีกกรณีได้มาจาก การสังเกตปรากฏการณ์ใด ๆ มาแล้วระยะหนึ่งจนกระทั้งเริ่มเห็นความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์นั้น ๆ เราจึงสร้างข้อความเพื่อทำการคาดคะเนความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์ แล้วจึงทำการสังเกตว่าเป็นไปตามที่ข้อความที่คาดคะเนหรือไม่ อย่างไร แล้วจึงนำไปสู่การสรุปอุปนัย (Induction) สร้างเป็นข้อเท็จจริง (Fact) มโนทัศน์และนิยาม (Concept and definition) ข้อเสนอแนะทฤษฎีบท (Proposition or theorem) และสัจพจน์ (Axiom or Postulate) ของทฤษฎีต่อไป ถ้าสมมติฐานได้รับการทดสอบแล้วยืนยันว่าเป็นจริงลักษณะเช่นนี้จึงกล่าวได้ว่า ทฤษฎีก็คือ สมมติฐานที่ได้รับการพิสูจน์ยืนยันมาก ๆ ครั้งนั่นเอง

       ดังนั้นความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎีและสมมติฐานจึงมี 2 ลักษณะ คือ
       1. ทฤษฎีเมื่อนิรนัย (Deduction) แล้วจะทำให้ได้เป็นสมมติฐาน เราจะเรียกว่า ทฤษฎีสร้างสมมติฐาน
       2. สมมติฐานเมื่อทดสอบแล้วนำไปสร้างทฤษฎี เราจะเรียกว่า สมมติฐานสร้างทฤษฎี

       อาจจะกล่าวได้ว่า ทฤษฎีและสมมติฐานต่างเป็นส่วนสร้างซึ่งกันและกัน (แต่อย่างไรก็ยังเป็นคนละความหมายกันนะครับผู้อ่าน อย่าสับสนล่ะครับ)

เอกสารอ้างอิง
รัตนะ บัวสนธ์. (2551) ปรัชญาวิจัย (Philosophy of Research). กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ในห้องเรียนระเบียบวิธีวิจัยขั้นสูง โดย รศ.ดร.อรุณี  อ่อนสวัสดิ์
ความคิดเห็นของเพื่อนในห้องเรียนที่ช่วยกันอภิปราย

หมายเลขบันทึก: 380680เขียนเมื่อ 2 สิงหาคม 2010 13:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 23:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ขอบคุณสำหรับความรู้ที่แบ่งปันครับ

เขียนได้เข้าใจดีนะคะ...

เขียนได้เข้าใจดีนะคะ...

ขอบคุณสำหรับทุกกำลังใจนะครับ

ถ้าจะกรุณาคนเข้าใจยากอย่างฉัน ช่วยยกตัวอย่างอีกนิดเดียวนะ

อรุณี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท