aonrak-social
นางสาว วันเพ็ญ แอน บุญสุข

กรรมนิยาม


จากการกระทำ

 

            กรรม  หมายถึง  การกระทำของมนุษย์ที่ประกอบด้วยเจตนาหรือความจงใจ  ซึ่งเสดงออกทางกาย  ทางวาจา  และทางใจ  กรรมมีหลายประเภท  ขึ้นอยู่กับกฎเกณฑ์ที่นำมาใช้จำแนก                                                                               

   ซึ่งในที่นี้จำแนกตามกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการให้ผล   มี  12  ประเภท  จำแนกได้  3  หมวด

หมวดที่  1  ว่าด้วยปากกาล  คือ  กรรมที่ให้ผลตามเวลา  ได้แก่                                                                                                

 1  กรรมที่ให้ผลในปัจจุบันหรือในชาติภพนี้  เรียกว่า  ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม                                                                          

 2  กรรมที่ให้ผลในอนาคตหรือชาติหน้า  เรียกว่า  อุปปัชชเวทนียกรรม                                                                               

  3  กรรมที่ให้ผลในชาติต่อๆไป  เรียกว่า  อปราปริยเวทนียกรรม                                                                                         

   4  กรรมที่เลิกให้ผลหรือไม่มีผลอีก  เรียกว่า  อโหสิกรรม        

หมวดที่  2  ว่าด้วยจิต  คือ  กรรมที่ให้ผลตามหน้าที่   ได้แก่                                                                                                         

1  กรรมแต่งให้เกิด  กรรมที่ชักนำให้เกิดหรือปฏิสนธิในภพใหม่  เมื่อสิ้นชีวิตจากภพนี้  เรียกว่า  ชนกกกรรม                                                                                                                    

2  กรรมสนับสนุน  กรรมที่เข้าสนับสนุนหรือซ้ำเติมต่อจากชนกกรรม  เรียกว่า  อุปัตถัมภกกรรม                                                                                                          

3  กรรมบีบคั้น  กรรมที่เข้ามาบีบคั้นให้ผลของชนกกรรมและอุปัตถัมภกกรรมให้แปรเปลี่ยนเป็นลักษณะที่ทุเลาลงหรือสั้นเข้า  เรียกว่า  อุปปีฬกกรรม                                                                                                                                              

4  กรรมตัดรอน  กรรมที่มีกำลังแรง  เข้าไปตัดรอนให้ผลของชนกกรรมหรืออุปัตถัมภกกรรมให้ขาดหรือหยุดเสีย  แล้วให้ผลแทนที่  เรียกว่า  อุปฆาตกกรรม

หมวดที่  3  ว่าด้วยปากทานปริยาย  คือ  กรรมที่ให้ผลตามลำดับความแรง  ได้แก่                                                                                                              

1  กรรมหนัก  เรียกว่า  ครุกรรม                                                                                                                                     

2  กรรมที่ทำบ่อยๆ จนเคยชิน  เรียกว่า  พหุลกรรม                                                                                                                                                                        

 3  กรรมที่ทำเมื่อใกล้ตาย  เรียกว่า  อาจิณณกรรม                                                                                                            

4  กรรมสักว่าทำ  เรียกว่า  กตัตตากรรม

หมายเลขบันทึก: 380610เขียนเมื่อ 2 สิงหาคม 2010 11:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ทำให้ผมกลัวกรรมเลย

ขอบคุณนะคับสำหรับข้อความดีๆ

กรรมสนับสนุนคืออะไรคับ

อัปพยาตกรรมคืออ่ะไรหรอคะ?

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท