ใครจะรับผิดชอบดี....


ตอนนี้ข้าวของต่างๆ ค่อยๆ ทยอยขึ้นราคาแล้ว

คนที่เดือดร้อนสุดๆ คงหนีไม่พ้นผู้บริโภค

โดยเฉพาะวันนี้ ผมซื้อผลไม่รับประทาน

ไม่น่าเชื่อว่า ราคาจะสูงขึ้นถึงขนาดนี้

“เงาะ” กิโลกรัมละ 40 บาท

“ลางสาด” กิโลกรัมละ 80 บาท

 

อาจจะมีคนถาม แล้ว “เอ็งไปซื้อที่ไหนฟะ??”

ผมก็ซื้อจากพ่อค้าที่ขับรถเข้ามาตามหมู่บ้านครับ

เป็นเจ้าประจำ ที่ซื้อกันอยู่ตลอดเวลา

ซึ่งพ่อค้าเองยังบ่นเลยว่า “ของแพง”

 

แล้วถ้าเขาไม่ขึ้นราคา ก็คงอยู่ไม่ได้เช่นเดียวกัน

ส่วนคนที่ได้ประโยชน์กับราคาสินค้าต่างๆ ก็คงไม่พ้น “กลุ่มพ่อค้าคนกลาง”

ซึ่งอยากให้ไปพิจารณาว่า “ส่วนใหญ่เป็นคนของใคร? อยู่ฝ่ายไหน?”

 

ส่วนผู้ค้าตัวจริง คือ เกษตรกร ยังยากจนอยู่

ก็ไม่ทราบว่าเอาเกณฑ์ GDP ไหน มาวัดว่าเศรษฐกิจไทยกำลังดีวันดีคืน

ขณะที่คนไทยรายได้น้อยลง ส่วนข้าวของแพงขึ้น

หากประกอบอาชีพสุจริตจริงๆ อาจอยู่อย่างลำบาก

อาชีพทุจริตจึงผุดขึ้นมาในสมองเพื่อสนองความอยู่รอด

 

ปัญหาการก่ออาชญากรรรม หรือปล้นทรัพย์จึงเพิ่มมากขึ้น

อย่าโทษว่าการอบรมสั่งสอนไม่ดี แต่ “คุณ” ที่เป็นรัฐบาล แก้กันไม่ได้ต่างหาก

หวังชื่อเสียง เงินทอง โดยไม่สนใจว่าใครจะเป็นอย่างไร?

 

อยากให้ประชาธิปไตยที่กินได้แบบวันนั้น กลับมาอีก

ผมว่าประเทศเราไม่ได้บอบช้ำเหมือนที่รัฐพยายามยัดเยียด

แต่สิ่งที่บอบช้ำจริงๆ คือประชาชนชาวไทย โดยเฉพาะมนุษย์เงินเดือน

ที่ต้องแบกรับภาระต่างๆ ทั้งภาษี

 (ที่ต้องเสียแบบไม่มีทางซิกแซกได้ เพราะโดนหักภาษีก่อนถึงมือแล้ว)

รวมถึงค่าประกันสังคมที “จำเป็นต้องจ่าย”

ยิ่งตอนนี้อาชีพหมอ ประท้วงถึงเรื่องการออก พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ป่วย

ให้สามารถร้องเรียนหมอได้ หมอก็ไม่ยอมให้ร้องเรียน

พร้อมออกมาใส่ชุดดำ

ผมก็ไม่ทราบว่าอาชีพนี้เป็นอะไรกันไปแล้ว

เราเองต้องการให้คุณตรวจร่างของเรา

 

อย่างเช่นเวลาผ่าตัด ต้องมีการเซ็นยินยอมให้ผ่าตัด

ในขณะนั้น ใครจะมีคิดอะไรมาก ก็เซ็นยินยอม เพื่อให้ชีวิตรอด

แสดงว่าที่ทำนั้น เป็นการป้องกันความผิดของหมอแล้ว

ใครเสียผลประโยชน์ ใครได้ประโยชน์

 

ผมก็ไม่ทราบเหมือนกันว่า “ทำไมพวกท่านต้องทำอย่างนี้?”

ทั้งๆ ที่หากพวกท่านตั้งใจที่จะรักษาประชาชนอย่างเต็มความสามารถ

ต้องกลัวอะไรเกี่ยวกับการร้องเรียนของคนไข้หรือผู้ป่วย

 

ว่าจะไม่ยุ่งการเมืองแล้ว...แต่อดไม่ได้ครับ

รู้สึกว่ายิ่งอยู่ประเทศไทยยิ่งเป็นเผด็จการซ่อนรูปจนจะเต็มรูปแบบแล้ว

 

รัฐบาลชุดนี้แทรกซึมเข้าไปทุกวงการ ไม่เว้นแม้กระทั่งวงการบันเทิง

เรื่องของมาร์ค V11 กับ มาร์ค ราบ11

ไม่รู้มาเกี่ยวกันได้อย่างไร

บรรดาแม่ยกก็ด่า V11 ยกใหญ่ว่าก้าวร้าว พากันขับไล่

ส่วนราบ11 ก็ลงมาเล่นกับเด็กๆ ด้วย....

ทั้งๆ เรื่องพวกนี้ มันเป็นเรื่องของความคิดที่แตกต่างกัน

 

หรือเหมือนจะจริงที่ว่า การปกครองนั้น แบ่งแยกชนชั้นอย่างชัดเจน

ชนชั้นรากหญ้าหรือประชาชนทั่วไป ไม่มีโอกาสได้ออกเสียงในสังคม

แต่ไฮๆ และเจ้าของธุรกิจ มีสิทธิ์ออกเสียงมากกว่า

 

ที่จริงประเทศของเราจะไม่เกิดปัญหาต่อต่างชาติ และคนไทยจะยอมรับ 100 เปอร์เซ็นต์

หากรัฐบาลและผู้มีอำนาจในประเทศนี้ ประกาศให้ชาวโลกรู้ว่า

“ประเทศไทยปกครองด้วยระบอบเผด็จการ” ต่างชาติจะได้ไม่ประณามเหมือนทุกวันนี้

เพราะเข้ารู้ว่า อ๋อ...ที่จริงเป็นแนวการปกครอง ที่คนไทยพูดกันว่า “ประชาธิปไตยแบบไทยๆ”

คือ “ประชาธิปไตยเฉพาะพูดเท่านั้น” ส่วนปฏิบัตินั้นเป็นอีกอย่าง....

ใครจะรับผิดชอบ????

หมายเลขบันทึก: 380580เขียนเมื่อ 2 สิงหาคม 2010 10:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 03:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

        สวัสดีครับ  เราต้องร่วมกันรับผิดชอบครับ  คุณได้แสดงความรับผิดชอบให้เห็นแล้วครับโดยการเขียน  โดยการใช้ความคิดจะถูกจะผิดก็เป็นความคิดเห็นเราต้องให้เกียรติและยอมรับ

        ผมมีเรื่องราวที่จะบอกกล่าวเป็นเชิงอุทาหรณ์สักกรณีหนึ่งเป็นเรื่องจริงครับ   มีผู้โจมตีการบริหารนายกเทศมนตรีท่านหนึ่งว่าการบริหารจัดการไม่ได้เรื่อง  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสุขภาพ  การจัดการสิ่งแวดล้อม  และอื่น ๆอีกมากมาย คือไม่มีอะไรดีเลยสักนิดเดียว

         ต่อมาคนที่วิจารณ์คนนี่แหละได้รับเลือกเป็นนายกเทศมนตรี ทำงานได้ 2ปีกว่า ผมเห็นว่าผมน่าจะไปทวงถามเขาบ้างที่ว่าคนอื่นไม่ได้ทำหรือทำไม่ได้นั้นไปถึงไหน ทำอย่างไร

         ที่เป็นห่วงไปถามเพราะเขาเป็นศิษย์ที่สอนเขามาก็กลัวว่าครูทำไมไม่แนะนำศิษย์บ้าง

          พอผมยกคำกล่าวโจมตีคนอื่นให้เขาฟังกับที่เขาปฏิบัติอยู่ในขณะนี้ทำไมถึงแย่กว่าคนที่เขาตำหนิ

           ขอโทษครับ เขาลุกขึ้นครับผมไม่ได้ตกใจถ้าศิษย์จะมาตบผมสักที่มันก็ดีแล้วเพราะเราสอนเขามาไม่เข้ม  แต่เขากลับนั่งลงกราบแบมือบนเขาผมแล้วกลับไปนั่งที่โต๊ะประจำตำแหน่งของเขา  ผมแอบมองที่เข่าผม ผมมองไม่เห็นชัดเจนนัก แต่ผมรู้ว่าน้ำตาเขาซึมซับอยู่กับกางที่เข่าพอสมควร

            ผมไม่ได้พูดอะไรต่ออีก  ผมกลับบ้านครับ   หลังจากนั้นเขาก็เริ่มรุกงานนโยบายที่กำหนดไว้  แต่งานก็ไม่เดินเท่าไรนัก  เหตุการ์เกิดขึ้นเมื่อมกราที่ผ่านมาครับ

             เหตุผลก็คือการจะทำอะไรมันมีองค์ประกอบมากมาย  ต้องมีเหตุมีผลจะทำอะไรบางเรื่องก็เกี่ยวกับโน่นบ้างนี่บ้าง  การที่จะตอบโต้หรือกล่าวหาเราจะต้องมีข้อมูลชัดเจนว่าเขาไม่สนใจจริง ๆ  นั่นเป็นการกระแทกลงไปมันจะมีแรงกระแทกเสริมเพิ่มมาอีกจากรอบทิศครับ

            มันคล้ายกับกรณีทีครูห้ามนักเรียนสูบบุหรี่นั่นแหละครับ  แต่ครูก็เดินสูบเฉยไม่เคยเลิกเองสักที

            นี่คือข้อคิดที่ผมคิดในลักษณะเป็นกลาง ความเป็นกลางจะทำให้เราเห็นได้หลายด้านครับ

            ขอบคุณที่นำความคิดมาแบ่งปันครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท