Holistic and palliative grand round July 30, 2010


Holistic and palliative grand round July 30, 2010

วันศุกร์ 30 2 กค. 53 เป็นชั่วโมง Holistic conference ของนักศึกษาแพทย์ปี 5 เป็นการเรียนรู้ในการรักษาผู้ป่วยครอบคลุมองค์รวม ไม่ใช่ดูเฉพาะอาการทางกายที่ผู้ป่วยได้รับ แต่ดูครอบคลุมถึง ด้านจิตใจ อารมณ์ สังคม จิตวิญญาณ โดยอาจารย์ แพทย์หญิงพัชรี คำวิไลศักดิ์ เป็นอาจารย์ประจำกลุ่ม อาจารย์ มอบหมายให้นักศึกษาเตรียมเคสกรณีศึกษาไว้ 2 เคส แต่นำเสนอ 1 เคส โดยฉันให้ขอมูลด้าน family background, psychosocial, และ spiritual needs เพิ่มเติม โดยเรานับเป็นชั่วโมง palliative care grand round เข้าด้วยกัน เพราะเคสกรณีศึกษาเป็นเคส

เด็กชาย 14 ปี เป็นมะเร็งสมองชนิดรักษายาก (Brain stem glioma) refered เข้า palliation program วันที่ 5 กค. 53 (โดยอาจารย์นายแพทย์สุรพล เวียงนนท์ ในชั่วโมง hemato grand round)

เด็กเป็นลูกคนเดียวของครอบครัว เรียนอยู่ชั้น ม. 2 ป่วยตั้งแต่ มีค. 2553 บิดามารดาอาชีพทำนา และทำไร่อ้อย รายได้เฉลี่ยต่อปี 400000-500000 บาท ไม่มีปัญหาด้านเศรษฐกิจ ผู้ดูแลหลักคือมารดา ตอนนี้คุณพ่อคุณแม่สลับกันเฝ้าดูแลลูกอย่างใกล้ชิด

การรับรู้ของครอบครัว "ทราบว่าเป็นเนื้อร้าย รักษาตามขั้นตอน"

Grr2

จากการประเมินซ้ำ ความคาดหวังของครอบครัว "ผมยังไม่รู้ ตอบไม่ได้ครับ ผมมีคำถาม 1. ลูกผมมีสิทธิ์หายไหม หากเป็นบวกหรือลบ ผมก็จะยอมรับได้ 2. อยากกลับไปพักฟื้นที่บ้านถ้าดีขึ้น ยังมีความหวัง" (เคสนี้อาจารย์แพทย์ แพทย์ใช้ทุน ได้ให้ข้อมูลหลายครั้งทั้งบิดาและมารดา แต่เมื่อฉันไปประเมินซ้ำทั้ง 2 ครั้ง คำตอบคือ ยังไม่ได้รับคำตอบ ตกลงลูกเป็นร้ายแรงไหม? จะหายไหม? คำถามนี้เป็นคำถามเดิม ฉันได้ประสานแพทย์ใช้ทุนและอาจารย์แพทย์เพื่อ ให้ข้อมูลซ้ำเรื่องโรคและแผนการรักษาแบบประคับประคอง วันรุ่งขึ้นฉันไปเยี่ยมและประเมิน คุณพ่อบอกว่าทราบแล้ว สีหน้าเศร้า วัดระดับความวิตกกังวล 6/10 ..คุณพ่อบอกว่า..คิดแน บ่คิดแน อยู่ไป สู้ไป.. หมายถึงบางครั้งคิดกังวล บางครั้งไม่ อยู่ไป สู้ไป..ฉันให้กำลังใจ และคุยกับคุณพ่อว่าเราจะวางผนร่วมกันกับครอบครัวเป็นระยะเพื่อให้การดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องอย่างดีที่สุดที่จะทำได้ คุณพ่อบอกว่า' ไม่ปกติ ขอให้ได้พูดคุยกัน 'เคสนี้ใส่ท่อหลอดลมคอและเครื่องช่วยหายใจ สื่อสารรู้เรื่องโดยใช้ท่าทาง เพราะหู 2 ข้างไม่ได้ยินหลังผ่าตัดจากตัวโรค และตอนนี้บำบัดด้วยการฉายแสง)

อาจารย์พัชรี ได้ชี้ประเด็นให้นักศึกษาเห็นว่าบางครั้งถึงแม้แพทย์จะให้ข้อมูลทุกอย่าง เราอาจจะคิดว่าเราให้หมดทุกอย่าง แต่ผลคือ เหมือนเขายังไม่ทราบ ไม่รับรู้ "ตรงนี้อย่าโกรธคนไข้ เพราะแต่ละราย การรับรู้การยอมรับไม่เท่ากัน การปรับตัวก็แตกต่างกัน"

Grr11

Kesanee APN in children with cancer..updated  August 1, 2010..10.42 น.

หมายเลขบันทึก: 380259เขียนเมื่อ 1 สิงหาคม 2010 10:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:18 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะพี่เกด

มาเยี่ยมเรียนรุ้ แผนการรักษาแบบประคับประคอง ช่วยให้ทั้งผู้ป่วยและญาติมิตร มีความหวังและกำลังใจดีๆ ค่ะ

P
poo สวัสดีค่ะน้องปู ยินดีเสมอจ้ะ
  • มาส่งความคิดถึงและกำลังใจค่ะ สบายดีนะค่ะ ห่วงใยเสมอค่ะ รักษาสุขภาพด้วยค่ะ
  •                   
P
Nina ขอบคุณ NINA ค่ะ ปรารถนาดีเช่นกัน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท