รายงานการพัฒนาและผลการใช้ชุดการเรียนรหัสวิชา ว40281 วิชาวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต 1 ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6


บทคัดย่อผลงานวิชาการ

ชื่อเรื่อง   รายงานการพัฒนาและผลการใช้ชุดการเรียนรหัสวิชา  ว40281  
            วิชาวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต 1 ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 
            โรงเรียนเตรียมอมุดมศึกษา  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ผู้ศึกษา   นางพิศมัย  พานโฮม
ปีการศึกษา  ภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา  2552

บทคัดย่อ

       รายงานการพัฒนาและผลการใช้ชุดการเรียน  รหัสวิชา  ว40281  วิชาวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต 1 ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา        ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา  2552 มีวัตถุประสงค์  1)เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดการเรียนระหว่างกระบวนการและผลลัพธ์ (E1/E2) 80/80  สัมประสิทธิของการกระจาย (C.V.) และหาค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) 2) เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน  3)เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนระหว่างก่อนเรียนและลหลังเรียน  4)เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนระหว่างก่อนเรียนและลหลังเรียน 5)เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6    ต่อชุดการเรียน  ดำเนินการโดยใช้ผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเตรียมอมุดมศึกษา  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร  เขต  2  จำนวน  43  คน  กลุ่มตัวอย่างที่ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster  Random  Sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง  ประกอบด้วยชุดการเรียน  จำนวน  9 เรื่อง  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์  แบบประเมินความคิดเห็นของผู้เรียนต่อชุดการเรียน  แบบประเมินพฤติกรรมด้านทักษะกระบวนการ  แบบประเมินพฤติกรรมด้านทักษะการคิดวิเคราะห์  แบบประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม  แบบประเมินพฤติกรรมการทำงานรายบุคคล  แบบประเมินการนำเสนอผลงานรายบุคคล  แบบประเมินการนำเสนอผลงานกลุ่ม แบบฝึกประจำชุดการเรียน  การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการและผลลัพธ์ ค่าสัมประสิทธิของการกระจาย ค่าดัชนีประสิทธิผล ค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และการทดสอบค่าที  ผลการทดลองและพัฒนาพบว่า
       1. ผลการหาประสิทธิภาพของชุดการเรียนอยู่ในระดับ  ดีมาก  ทุกเรื่อง  ดังนี้ คาร์โบไฮเดรตมีค่าประสิทธิภาพของกระบวนการและผลลัพธ์ เท่ากับ  95.04/90.93  ค่าสัมประสิทธิของการกระจาย เท่ากับ  8.25  และค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ  .85  โปรตีน  มีค่าประสิทธิภาพของกระบวนการและผลลัพธ์ เท่ากับ  96.16/90.47 ค่าสัมประสิทธิของการกระจาย เท่ากับ  8.68  และค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ  .78  ไขมัน มีค่าประสิทธิภาพของกระบวนการและผลลัพธ์ เท่ากับ  95.58/92.33  ค่าสัมประสิทธิของการกระจาย เท่ากับ  7.78  และค่าค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ  .87  วิตามินมีค่าประสิทธิภาพของกระบวนการและผลลัพธ์ เท่ากับ  95.23/93.02  ค่าสัมประสิทธิของการกระจาย เท่ากับ  7.97  และค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ  .84  เกลือแร่  มีค่าประสิทธิภาพของกระบวนการและผลลัพธ์ เท่ากับ  95.39/89.07  ค่าสัมประสิทธิของการกระจาย เท่ากับ 8.77และค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ  .82  คุณภาพและสัดส่วนของสารอาหารที่ร่างกายต้องการ มีค่าประสิทธิภาพของกระบวนการและผลลัพธ์ เท่ากับ  95.70/90.23  ค่าสัมประสิทธิของการกระจาย เท่ากับ  8.20  และค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ  .78 การเปลี่ยนแปลงของอาหารในร่างกาย มีค่าประสิทธิภาพของกระบวนการและผลลัพธ์ เท่ากับ  96.55/92.32  ค่าสัมประสิทธิของการกระจาย เท่ากับ  7.78  และค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ .87  การจัดระบบต่าง ๆ ในร่างกาย มีค่าประสิทธิภาพของกระบวนการและผลลัพธ์ เท่ากับ  96.67/91.16  ค่าสัมประสิทธิของการกระจาย เท่ากับ  8.36  และค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ .89  ระบบต่าง ๆ ในร่างกายมีค่าประสิทธิภาพของกระบวนการและผลลัพธ์ เท่ากับ  97.02/91.16  ค่าสัมประสิทธิของการกระจาย เท่ากับ  8.01  และค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ  .85
      2. ผู้เรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนในระดับปรับปรุงและหลังเรียนอยู่ในระดับดีมากทุกเรื่อง และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
      3. ผู้เรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ก่อนเรียนในระดับปรับปรุง  และหลังเรียนอยู่ในระดับดีมาก และมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
      4. ผู้เรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนมีทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ก่อนเรียนในระดับปรับปรุง  หลังเรียนอยู่ในระดับดีมาก  และมีทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
      5. ผู้เรียนมีความคิดเห็นต่อชุดการเรียนอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุดและข้อที่มค่าเฉลี่ยสูงกว่าข้ออื่น คือ ข้อ 4 ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน  ข้อ 7 ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีการพัฒนาทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์  และข้อ  8 การนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์นอกห้องเรียนและในชีวิตประจำวันหลังจากเรียนจบเรื่องนี้แล้ว

หมายเลขบันทึก: 380118เขียนเมื่อ 31 กรกฎาคม 2010 19:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 18:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

สวัสดีครับ   จะอ่านนบทคัดย่อมีแต่ชื่อครับ  จะได้ช่วยกันอ่านถือว่ากำลังเผยแพร่  ส่งบันทึกมาใหม่ครับ

คิดถึงพี่อ้อยเช่นกันค่ะ ครูเชี่ยวชาญพี่อ้อยเป็นอย่างไรได้ฉลองหรือยังค่ะ

ขอบคุณ คุณะนามากนะคะ กำลังพิมพ์ค่ะ ช่วยอ่านหน่อยนะคะ

พี่ต้องถามน้องก่อน P พานโฮม

ไม่กล้าถาม เลยให้น้องถามก่อน  ของน้องเป็นอย่างไร ของพี่ ผลยังไม่ออกเลยค่ะ

พี่อ้อยค่ะ น้อง ส่ง กันยายน 2550 รู้ผลธันวาคม 2552 ผลออกมาว่า ไม่อนุมัติ อกหักไปประมาณ 3 เดือน มาเคาะสนิมใหม่คาดว่าจะส่งภายในเดือนสิงหาคม 2553 ค่ะ ครั้งนี้ไม่รู้จะอกหักอีกหรือเปล่า สกลนคร เขต 2 ส่งจำนวนมากทั้งสายผู้สอนและผู้บริหารยังไม่มีใครได้ปรับปรุงแม้แต่คนเดียว

ครูอ้อย รู้ตัวว่า งานของครูอ้อย มีช่องโหว่มากมาย ที่ส่งไปหวังเพียงได้ส่งตามวาระแห่งการเป็นชำนาญการพิเศษเท่านั้น

ยังต้องพินิจพิจารณากันอีกมากมาย

ครูอ้อยเป็นกำลังใจให้เสมอค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท