การพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลบ้านตาก : จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ


“Quality is never an accident, it is always the result of intelligent effort.”

เมื่อวันที่ 24 สิงหาคมที่ผ่านมาผมได้ไปนำเสนอผลงานวิชาการในเวทีการประชุมวิชาการประจำปี กระทรวงสาธารณสุข ครั้งที่ 13 ที่โรงแรมแอมบาสเดอร์ พัทยา จ.ชลบุรี โดยเป็นการนำเสนอประเภท Oral presentation โดยชื่อเรื่องวิจัยคือการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลบ้านตาก:จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ ใช้เวลานำเสนอ 12 นาที ซักถาม 3 นาที ผลการประกวดปรากฎว่าได้รางวัลผลงานวิชาการดีเด่น จึงได้ถือโอกาสนำเสนอบทคัดย่อมาให้อ่านครับ ส่วนฉบับเต็มติดตามได้ในwww.bantakhospital.com ในส่วนของบทความครับ

บทคัดย่อชื่อเรื่องวิจัย     การพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลบ้านตาก : จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ
                        (Way to Quality in Bantak Hospital : From Theory to Practice)
รายชื่อคณะผู้วิจัย
                1.  นายแพทย์พิเชฐ  บัญญัติ นายแพทย์ 8 ผู้อำนวยการโรงพยาบาลบ้านตาก จ.ตาก
                2.  นางสุภาภรณ์  บัญญัติ  พยาบาลวิชาชีพ 5 โรงพยาบาลบ้านตาก จ.ตาก
------------------------------------------------------------------------------------------------------------
                การศึกษาเรื่อง การพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลบ้านตาก : จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ เป็นการวิจัยปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางของการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลบ้านตากที่สามารถผ่านการประเมินรับรองคุณภาพโรงพยาบาลได้พร้อมกันทั้งHAและHPH    วิธีการและผลลัพธ์ของการพัฒนาโรงพยาบาลบ้านตากด้วยตัวแบบบูรณาการ 10 ขั้นตอนสู่บ้านคุณภาพสร้างสุข เปรียบเทียบก่อนและหลังใช้ตัวแบบและปัจจัยแห่งความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลบ้านตาก โดยการวิจัยเชิงคุณภาพในการสังเกต สัมภาษณ์ผู้ปฏิบัติงานร่วมกับการวิจัยจากเอกสารและวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิโดยใช้ตัวแบบบูรณาการ 10 ขั้นตอนสู่บ้านคุณภาพสร้างสุข ที่โรงพยาบาลบ้านตากสร้างขึ้นเป็นกรอบในการวิเคราะห์
                ผลการศึกษาพบว่าโรงพยาบาลบ้านตากมีแนวทางในการพัฒนาคุณภาพและองค์กรเป็นของตนเองโดยตัวแบบดังกล่าวจะสามารถทำให้โรงพยาบาลสามารถพัฒนาคุณภาพได้อย่างดีดังจะเห็นได้จากความเปลี่ยนแปลงขององค์กรที่ดีขึ้นเมื่อเทียบก่อนและหลังการใช้ตัวแบบดังกล่าวทั้งต่อต่อองค์การ เช่น ขยายและพัฒนาโรงพยาบาลโดยไม่ใช้เงินงบประมาณด้านอาคารสถานที่ เครื่องมือแพทย์  พัฒนาโรงพยาบาลได้แม้จะมีทรัพยากรจำกัด  ผ่านการประเมินHA/HPH/HWP เป็นที่ศรัทธาของชุมชน ต่อเจ้าหน้าที่ เช่นความเครียดในการทำงานลดลง การกระทบกระทั่งกันระหว่างแผนก/วิชาชีพลดลงบรรยากาศการทำงานดีขึ้น ได้ใช้ศักยภาพที่มีอยู่มากขึ้น คุ้นเคยกันมากขึ้น ต่อประชาชน เช่นสถานะสุขภาพดีขึ้น ความพึงพอใจบริการสูงขึ้น ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนลดลงลดลง ต่อผู้บริหาร ทำให้มีเวลาคิดวิเคราะห์งานมากขึ้นเพราะไม่ต้องคอยตามควบคุมผู้ปฏิบัติมากนัก
                สรุปผลการศึกษานี้โรงพยาบาลต่างๆสามารถนำตัวแบบบูรณาการ 10 ขั้นตอนสู่บ้านคุณภาพสร้างสุขไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลได้ แต่ต้องมีความเข้าใจแนวคิดสำคัญของแต่ละขั้นตอนที่ชัดเจนและสามารถเชื่อมโยงเครื่องมือต่างๆได้อย่างดีและควรมีปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้เกิดความสำเร็จ 7 ประการคือความมุ่งมั่น ความสามารถ วิสัยทัศน์ร่วม วัฒนธรรมคุณภาพ ความต่อเนื่อง การสื่อสารและการมุ่งเน้นประชาชนและชุมชน

การพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลบ้านตาก : จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ                        (Way to Quality in Bantak Hospital : From Theory to Practice)                1.  นายแพทย์พิเชฐ  บัญญัติ นายแพทย์ 8 ผู้อำนวยการโรงพยาบาลบ้านตาก จ.ตาก                2.  นางสุภาภรณ์  บัญญัติ  พยาบาลวิชาชีพ 5 โรงพยาบาลบ้านตาก จ.ตาก------------------------------------------------------------------------------------------------------------                การศึกษาเรื่อง การพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลบ้านตาก : จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ เป็นการวิจัยปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางของการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลบ้านตากที่สามารถผ่านการประเมินรับรองคุณภาพโรงพยาบาลได้พร้อมกันทั้งHAและHPH    วิธีการและผลลัพธ์ของการพัฒนาโรงพยาบาลบ้านตากด้วยตัวแบบบูรณาการ 10 ขั้นตอนสู่บ้านคุณภาพสร้างสุข เปรียบเทียบก่อนและหลังใช้ตัวแบบและปัจจัยแห่งความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลบ้านตาก โดยการวิจัยเชิงคุณภาพในการสังเกต สัมภาษณ์ผู้ปฏิบัติงานร่วมกับการวิจัยจากเอกสารและวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิโดยใช้ตัวแบบบูรณาการ 10 ขั้นตอนสู่บ้านคุณภาพสร้างสุข ที่โรงพยาบาลบ้านตากสร้างขึ้นเป็นกรอบในการวิเคราะห์                ผลการศึกษาพบว่าโรงพยาบาลบ้านตากมีแนวทางในการพัฒนาคุณภาพและองค์กรเป็นของตนเองโดยตัวแบบดังกล่าวจะสามารถทำให้โรงพยาบาลสามารถพัฒนาคุณภาพได้อย่างดีดังจะเห็นได้จากความเปลี่ยนแปลงขององค์กรที่ดีขึ้นเมื่อเทียบก่อนและหลังการใช้ตัวแบบดังกล่าวทั้งต่อ เช่น ขยายและพัฒนาโรงพยาบาลโดยไม่ใช้เงินงบประมาณด้านอาคารสถานที่ เครื่องมือแพทย์  พัฒนาโรงพยาบาลได้แม้จะมีทรัพยากรจำกัด  ผ่านการประเมินHA/HPH/HWP เป็นที่ศรัทธาของชุมชน เช่นความเครียดในการทำงานลดลง การกระทบกระทั่งกันระหว่างแผนก/วิชาชีพลดลงบรรยากาศการทำงานดีขึ้น ได้ใช้ศักยภาพที่มีอยู่มากขึ้น คุ้นเคยกันมากขึ้น เช่นสถานะสุขภาพดีขึ้น ความพึงพอใจบริการสูงขึ้น ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนลดลงลดลง ทำให้มีเวลาคิดวิเคราะห์งานมากขึ้นเพราะไม่ต้องคอยตามควบคุมผู้ปฏิบัติมากนัก                 สรุปผลการศึกษานี้โรงพยาบาลต่างๆสามารถนำตัวแบบบูรณาการ 10 ขั้นตอนสู่บ้านคุณภาพสร้างสุขไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลได้ แต่ต้องมีความเข้าใจแนวคิดสำคัญของแต่ละขั้นตอนที่ชัดเจนและสามารถเชื่อมโยงเครื่องมือต่างๆได้อย่างดีและควรมีปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้เกิดความสำเร็จ 7 ประการคือความมุ่งมั่น ความสามารถ วิสัยทัศน์ร่วม วัฒนธรรมคุณภาพ ความต่อเนื่อง การสื่อสารและการมุ่งเน้นประชาชนและชุมชน
คำสำคัญ (Tags): #วิจัย
หมายเลขบันทึก: 3801เขียนเมื่อ 12 กันยายน 2005 22:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
ธรณ์ธันย์ ติยะศรี

สวัสดีครับ อาจารย์

ผมกำลังทำงานวิจัย เรื่อง การประยุกต์ใช้แนวคิดกิจกรรมกลุ่มย่อย ในการปรับปรุงคุณภาพการบริการของโรงพยาบาลสารภี

ผมเห็นบทความทางงานวิจัย น่าศึกษาและใช้เป็น literature review

อาจารย์จะส่งไฟล์ pdf ให้ได้ไหมครับ

ตอนนี้ไปศึกษาที่ มช.

ขอบคุณครับ

เรียนคุณธรณ์ธันย์

ช่วยส่งอีเมล์มาหาผมด้วยครับ ผมจะได้จัดส่งไฟล์ไปให้ หรือค้นหาจากวารสารวิชาการสาธารณสุข ในเว็บไซต์กระทรวงสาธารณุสข (สำนักวิชาการ) ก็ได้ครับ

หมอพิเชฐ

เรียนDr. Phichet Banyati

ผมกำลังศึกษา ป.โท สาขาวิชาการสร้างเสริมสุขภาพ ม.ราชภัฏอุบลราชธานี

มีความสนใจ และต้องการ งานวิจัยฉบับเต็ม

เพื่อทำวิทยานิพนธ์

               ขอขอบพระคุณล่วงหน้าครับ

                              ธีรบูลย์

เรียนอาจารย์

ขณะนี้ดิฉันกำลังศึกษา R2R อยู่เกี่ยวกับ HA

เนื่องจากบทความอาจารย์มีความน่าสนใจและใช้อ้างอิงได้ดิฉันจึงอยากจะขอความกรุณาจากอาจารย์ขอไฟล์แบบเต็มได้มั้ยค่ะ...

                           ขอบคุณค่ะ

สามารถหาไฟล์ฉบับเต็มได้ที่ "วารสารวิชาการสาธารณสุข" ในเว็บของสำนักวิชาการสาธารณสุขของกระทรวงสาสุขที่ www.moph.go.th ครับหรือใช้Google searchก็ได้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท