เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ


เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ

"เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ"

เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ประกอบด้วย...

ลักษณะสำคัญขององค์กร สภาพแวดล้อม ความสัมพันธ์และความท้าทาย ซึ่งมี 7 หมวด ดังนี้

1. การนำองค์กร

2. การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์และกลยุทธ์

3. การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

4. การวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้

5. การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล

6. การจัดการกระบวนการ

7. ผลลัพธ์การดำเนินการ

การบริหารจัดการองค์กรของส่วนราชการดังกล่าวข้างต้น...ขึ้นอยู่กับผู้นำหรือผู้บริหารสูงสุดที่จะนำพาองค์ให้ไปสู่ความสำเร็จได้อย่างเป็นระบบ...สามารถตอบโจทย์เรื่องการบริหารจัดการภายในหน่วยงานว่า...เป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี หรือไม่...และเป็นการวางแผนถึงเรื่องอนาคต ซึ่งแผนที่ทุกคนในองค์กรมีส่วนร่วมในการวางแผนนั้น ต้องเป็นการวางแผนที่มีความเป็นไปได้ และทุกคนในองค์กรนั้นต้องการที่จะเห็นหรือให้เป็น...ไม่ใช่แผนที่เมื่อประมาณ 20 กว่าปีที่แล้วที่ได้วางไว้แล้วก็เก็บไว้บนหิ้งบูชา...ไม่ได้เดินตามแผนที่วางไว้เสมือนการสร้างวิมานไว้ในอากาศ ไม่เห็นผลสำเร็จอย่างจริงจัง..

เปรียบเทียบกับการวางแผนในเรื่อง PMQA จะเป็นการวางแผนที่ทุกคนในองค์กรได้ร่วมกันคิด ร่วมกันวิเคราะห์ ว่าหน่วยงานของเราปัจจุบันอยู่ ณ จุด ๆ ไหน แล้วเราต้องการให้หน่วยงานของเราเป็นอย่างไรในอนาคต การคิด การทำใด ๆ ต่อไปนี้เกิดประโยชน์ คุ้มค่ามากน้อยเพียงใด...และแผนที่ทุกคนที่ร่วมกันวางเป้าหมายไว้นั้น...ต้องเป็นความจริง + เกิดผลสัมฤทธิ์ที่แท้จริง...

สำหรับผู้บริหารที่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง ยอมรับสภาพที่รัฐกำลังต้องการให้เป็น...เชื่อได้ว่าองค์กรหรือหน่วยงานนั้น จะมีการปรับเปลี่ยนไปได้เร็วกว่าองค์กรอื่นที่ไม่คิดจะเปลี่ยนแปลง รอเวลา ไม่ต้องการเปลี่ยน...สุดท้ายองค์กรหรือหน่วยงานนั้น...ก็จะเหนื่อยที่จะต้องมาทำตามที่รัฐให้ทำ...จะไม่สามารถแข่งขันกับองค์กรหรือหน่วยงานของรัฐที่มีผู้นำองค์กรสามารถรับสภาพการเปลี่ยนแปลงในการทำงานของรัฐได้...เพราะองค์กรที่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงจะมีสภาพการเตรียมความพร้อมที่ดีกว่า + บุคลากรในหน่วยงานก็จะไม่เหนื่อย เนื่องจากมีข้อมูล + ได้ดำเนินการเตรียมความพร้อมบ้างแล้ว...จึงทำให้เห็นการเปรียบเทียบกันระหว่างผู้นำองค์กรที่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงได้...กับผู้นำที่ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง...

ในอนาคต...ผู้เขียนมีความคิดเห็นว่า...ถ้าทุกคนมีความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงอยู่ในใจของทุกคนแล้ว...ไม่ว่ารัฐ ประเทศ หรือโลกเกิดการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกิดขึ้น จะมากหรือน้อยก็ตาม...คนที่เปิดใจพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกขณะจิต...จะสามารถต่อสู้อยู่บนโลกใบนี้ได้อย่างไม่วิตกกังวลว่าจะเกิดอะไรขึ้น + มีความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา...จะทำให้ได้เปรียบกับผู้ที่ไม่ยอมรับรู้ หรือยอมรับการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่จะเกิดขึ้น...ซึ่งจะทำให้เห็นถึงภูมิคุ้มกัน หรือการมีภูมิต้านทานการเปลี่ยนแปลง...ทำให้เห็นถึงเรื่องของการแข่งขันกันระหว่างหน่วยงานเกิดขึ้น...

...แล้วบุคลากรและองค์กรของท่านล่ะค่ะ...

มีความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นหรือยัง ?...

หมายเลขบันทึก: 379894เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2010 22:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 เมษายน 2016 13:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท