การจัดการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจังหวัด....
เมื่อพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 3 ) พ.ศ. 2553 พระราชบัญญัติระเบียบบริหาราชการกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553 และ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 ได้ลงในประกาศกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2553 ทำให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 23 กรกฎาคม 2553 โดยดำเนินการให้แล้วเสร็จตามระเบียบกฎหมายภายใน 90 วัน จึงทำให้มีกลุ่มได้เสียผลประโยชน์คือ
1.ชาวมัธยมศึกษา มีความยินดีกันทั่วหน้ากัน ที่จะได้กลับมาเป็นเลือดเนื้อของมัธยมศึกษา จะได้มีโอกาสบริหารแบบมัธยมศึกษาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเคยกลายพันธ์เป็นลูกผสมมา 7 ปี มีความอึดอัดขัดข้องหมองใจหลายประการด้วยกัน และเป็นความดีที่ชาวมัธยมศึกษาเป็นคนเก่ง รู้จักเลือกคนดีและเก่ง มาเป็นผู้นำทางการศึกษามัธยมศึกษา เช่น ท่านวิทยา บริบูรณ์ทรัพย์ นายก สบ.มท. ที่เกาะติด ตามการศึกษามาตั้งแต่เริ่มมีการรวมกรมสามัญศึกษา สปช. กรมวิชาการศึกษา สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ มาเป็นสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เคยได้ยินท่านพูดในวงสัมนาของ สบ.มท. ว่า "เรายังมีช่องทาง" แล้วท่านก็มุ่งมานะพยายาม ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ทราบข่าวเคลื่อนไหวมาตลอด นี้คือ ความสำเร็จของท่าน และทีมงาน ชาวมัธยมศึกษาควรที่ให้โล่ห์เกียรติคุณในฐานะผู้นำการศึกษามัธยมศึกษา คนอื่นคิดอย่างไรไม่ทราบ แต่ผมแล้ว ท่านวิทยา บริบูรณ์ทรัพย์ คือ อัศวินม้าขาว ของชาวมัธยมศึกษา
2. ชาวประถมศึกษา เมื่อเริ่มต้นมีความอบอุ่นดี มีความตื่นเต้นที่จะมีเพื่อนร่วมการพัฒนาทางการศึกษา อย่างน้อยได้ใช้ทรัพยากรร่วมกัน วันดีคืนดี ก็ร่วมกันแลกเปลี่ยนผู้บริหารสถานศึกษา หรือ ครู จากผู้อำนวยการโรงเรียนประถมศึกษาเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมศึกษา หรือรองผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมศึกษา ซึ่งเคยอยู่โรงเรียนที่มีนักเรียนจำนวนมากๆก็อยากเปลี่ยนบรรยากาศ ก็ไปเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนประถมศึกษานักเรียนไม่เกินร้อยบ้าง ก็ดีเหมือนกัน แต่เมื่อพระราชบัญญัติ 3 ฉบับบังคับใช้แล้ว โอกาสมีน้อยมาก หรือในอนาคตอาจจะมีก็ได้ ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาบางเขตเคยบ่นให้ฟังว่า "หากแยกโรงเรียนมัธยมศึกษาออกไปก็ดีเหมือนกันได้ลดภาระการบริหาร ผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมศึกษาปกครองก็ยาก หัวดื้อ ไม่เหมือนผู้อำนวยการโรงเรียนประถมศึกษา พูดเชื่อฟังง่าย ไม่ดื้นรั้น ทุกอย่างแล้วแต่เขตสั่งอย่างเดียว" แต่เท่าที่ประเมินโดยการพูดคุยกัน ชาวประถมศึกษาเขาก็ต้องการวัฒนธรรมแบบ สปช. สปอ. หรือกลุ่มโรงเรียนเหมือนเดิม เพราะมีความอบอุ่น บริหารจัดการก็สะดวก และมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล คิดว่า ในอนาคตชาวประถมศึกษาต้องมีความเคลื่อนไหวเพื่อที่จะนำเอาระบบเดิมที่ดีอยู่แล้ว กลับมาอีกครั้งแน่นอน เช่น สำนักงานเขตพื้นที่อำเภอ....ฯลฯ ผลจากการบังคับใช้ตามกฎหมาย 3 ฉบับคงไม่กระทบอะไรมากมากนัก เพราะโครงสร้างยังปกติสุขอยู่ เพียงแต่ขาดผู้ร่วมชะตากรรมไปเท่านั้นเอง
3. ก.ค.ศ.(คณะกรรมการข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา) ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้ง แต่งตั้ง เมื่อพระราชบัญญัติ 3 ฉบับมีผลบังคับใช้ ต้องมีการสรรหาใหม่ ซึ่งเพิ่งได้รับการแต่งตั้ง มา 4-5 เดือน เป็นการกระทบสิทธิส่วนบุคคล คิดว่า ถ้าเราจำคำท่านพุทธทาสได้ว่า" อย่ายึดมั่นว่า ตัวกู ของกู ความทุกข์จะไม่บังเกิด " จึงวิงวอนให้ ก.ค.ศ. ที่พวกเราได้เลือกไป แล้ว มาให้เราเลือกกันอีกครั้งคงไม่เป็นไร อย่าไปสร้างเงื่อนไขทางกฎหมายเลย ที่ผ่านมาการศึกษาของเราเลอะเทอะอยู่แล้ว เมื่อพวกท่านกลับมาเข้ากระบวนเลือกตั้งใหม่ พวกท่านก็ได้รับการเลือกตั้งอีกเช่นเดิม ถ้าคิดว่า ท่านเข้าใจครู ทำเพื่อครู และตั้งใจทำงาน เพื่อครู แต่อย่างน้อยท่านยังมีอำนาจอยู่ 180 วันตามบทเฉพาะกาลของ พ.ร.บ.
ไม่มีความเห็น