การใช้กระบวนการมีส่วนร่วมแบบ AIC ในการดำเนินงานโครงการเด็กไทยทำได้ในโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ


เด็กไทยทำได้

 

ชื่อผู้ศึกษา       นายนพดลย์   เพชระ

         การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาสภาพและปัญหา  แนวทางการดำเนินงานและผลการ ดำเนินงานโครงการเด็กไทยทำได้ในโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนวัดโคกทราง  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3

         ประชากรที่ใช้ในการศึกษา  จำนวน 73 คน คือ ครูในโรงเรียนวัดโคกทรางจำนวน 6  คน    คณะกรรมการสถานศึกษา(ยกเว้นผู้บริหารและครู)  จำนวน  7  คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6  จำนวน  30  คน  ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  4 – 6  จำนวน 30  คน 

         เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย แบบสำรวจสภาพและปัญหา  แบบบันทึกปัญหาและวิธีการพัฒนา  แบบประเมินโรงเรียนเด็กไทยทำได้ และแบบสอบถามความพึงพอใจ    

ผลการศึกษาพบว่า

         1.  การประชุมตามกระบวนการมีส่วนร่วมแบบ  AIC สรุปว่าสภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการดำเนินงานเด็กไทยทำได้ในโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนวัดโคกทราง  ปีการศึกษา  2551 ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 12  ข้อ และปัญหาในการดำเนินงานคือสถานที่รับประทานอาหารไม่สะอาด  สถานที่เตรียมอาหารพื้นเป็นดินทำให้อาหาร  ปนเปื้อนได้  ไม่มีถังขยะที่มีฝาปิดรวบรวมเศษอาหาร  ไม่มีบ่อดักเศษอาหารและไขมัน   ผู้ปรุงอาหารไม่ใช้ผ้ากันเปื้อนหมวกคลุมผม พื้นผนังส้วมเก่า ชำรุด ไม่เรียบ ทำความสะอาดได้ยาก   ไม่มีอ่างล้างมือเมื่ออกจากห้องส้วม  ไม่มีกระจกส่องดูความเรียบร้อย  ไม่มีถังขยะที่มีฝาปิดบริเวณห้องส้วม  ไม่มีป้ายหรือเครื่องหมายแยกเพศชาย – หญิง    ที่ชัดเจน  ผู้ปกครองไม่ให้ความสำคัญในการดูแลอนามัยในช่องปากของบุตรหลาน      ผู้ปกครองไม่นำบุตรหลานไปรับบริการต่อ ไม่มีอ่างล้างหน้าแปรงฟัน นักเรียนบางคน    ไม่แปรงฟันหลังรับประทานอาหาร และนักเรียนมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการรักษาฟัน 

         2. แนวทางการดำเนินงานโครงการเด็กไทยทำได้ในโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมแบบ AIC สรุปว่าโรงเรียนต้องปรับปรุง การดำเนินงานด้านอาหารสะอาด ปลอดภัย  ด้านสุขาน่าใช้ในโรงเรียน  และด้านเด็กไทยฟันดี(ทันตสุขภาพในโรงเรียน)

        3. แผนปฏิบัติการ  การดำเนินงานโครงการเด็กไทยทำได้ในโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ปีการศึกษา 2552  โรงเรียนวัดโคกทรางประกอบด้วย  โครงการหลัก  3  โครงการ  คือ โครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมสู่มาตรฐานด้านอาหารสะอาดปลอดภัย    มีผู้รับผิดชอบ คือนางจิราพร เกสราโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมสู่มาตรฐานด้านสุขาน่าใช้ในโรงเรียน มีผู้รับผิดชอบคือนายวุฒิชัย  นิตย์วิมล และโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมสู่มาตรฐานด้านด้านเด็กไทยฟันดี(ทันตสุขภาพในโรงเรียน)  มีผู้รับผิดชอบ  คือ นางปราณี  คดีพิศาล 

        4. ผลการดำเนินงานโครงการเด็กไทยทำได้ในโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ

           4.1. ผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการตามขั้นตอนของกระบวนการ AICโรงเรียนผ่านการประเมินมาตรฐานโรงเรียนเด็กไทยทำได้   จากศูนย์อนามัยที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช  โรงเรียนได้รับการรับรองเป็นโรงเรียนแกนนำเครือข่ายเด็กไทยฟันดี  จากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข โรงเรียนวัดโคกทราง(สมาชิกเครือข่ายเด็กไทยฟันดีอำเภอชะอวด) ได้รับเกียรติบัตรรางวัล  รองชนะเลิศอันดับ 1 การดำเนินงานเครือข่ายเด็กไทยฟันดี จังหวัดนครศรีธรรมราช โรงเรียนนำครูอนามัยและนักเรียนแกนนำเข้ารับการอบรม จำนวน 2 ครั้งครูอนามัยร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้  จำนวน  3 ครั้ง  ผู้บริหารโรงเรียนร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้  จำนวน 1  ครั้ง โรงเรียนปรับปรุงการดำเนินงาน ได้มาตรฐาน “ อาหารสะอาด ปลอดภัย ”  โรงเรียนมีห้องสุขาที่สะอาด เพียงพอ  ปลอดภัยและมีสุขอนามัย   ได้มาตรฐาน      “  สุขาน่าใช้

ในโรงเรียน”   โดยปรับปรุงพื้นปูด้วยกระเบื้องและทาสี โรงเรียนมีสถานที่ แปรงฟันและนักเรียนมีอนามัยช่องปากที่ดี ไม่มีปัญหาฟันผุ สามารถดูแลสุขภาพช่องปากตนเองได้มาตรฐาน “เด็กไทยฟันดี(ทันตสุขภาพในโรงเรียน)”   

          4.2.  ผลการประเมินโรงเรียนของบุคคลภายนอกตามเกณฑ์มาตรฐานกรมอนามัยโรงเรียนวัดโคกทรางผ่านการประเมินมาตรฐานอาหารสะอาดปลอดภัย  มาตรฐานสุขาน่าใช้ในโรงเรียนและมาตรฐานเด็กไทยฟันดี(ทันตสุขภาพในโรงเรียน)”  จากคณะกรรมการที่สาธารณสุขจังหวัด แต่งตั้งขึ้นทุกมาตรฐาน

         4.3. ผลการสอบถามความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการดำเนินงานโครงการเด็กไทยทำได้ในโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ  โดยภาพรวม มีความเห็นว่าการดำเนินงานตามโครงการเด็กไทยทำได้ในโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนวัดโคกทราง ปีการศึกษา  2552  มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด (เฉลี่ย  4.66)  หรือร้อยละ  93.20

หมายเลขบันทึก: 379391เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2010 20:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2012 21:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท