คำอาราธนาต่างๆ


เอกสารประกอบการอบรมนักศึกษาผู้ทำหน้าที่พิธีกรทางศาสนา เรื่อง มารยาทชาวพุทธและศาสนพิธี รวบรวมและเรียบเรียงโดย อาจารย์ญาณภัทร ยอดแก้ว โปรแกรมวิชาสังคมศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

คำอาราธนาต่างๆ ในที่นี้ คัดสรรมาเฉพาะคำที่ใช้ในพิธีกรรมทั่วไป  เช่น  การไหว้พระ อาราธนาศีล  อาราธนาพระปริตร  การอาราธนาธรรม(ซึ่งใช้ในคราวที่มีการแสดงธรรมหรือใช้อาราธนาเวลาพระสวดอภิธรรมในงานศพ)  การถวายสังฆทานและการกรวดน้ำเท่านั้น  คำกล่าวอื่นๆ นอกจากนี้ ผู้สนใจสามารถศึกษาค้นคว้าได้เพิ่มเติมในตำราทางศาสนพิธีทั่วไป

 

คำสักการะพระรัตนตรัย 

 

            อิมินา  สักกาเรนะ  พุทธัง   อะภิปูชะยามิ 

            อิมินา  สักกาเรนะ  ธัมมัง  อะภิปูชะยามิ 

            อิมินา  สักกาเรนะ สังฆัง  อะภิปูชะยามิ 

 

คำบูชาพระรัตนตรัย                      

 

            อะระหัง  สัมมาสัมพุทโธ  ภะคะวา, พุทธัง ภะคะวันตัง  อะภิวาเทมิ.....(กราบ),

            สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,  ธัมมัง นะมัสสามิ......(กราบ)

            สุปะฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สังฆัง นะมามิ......(กราบ)

 

คำอาราธนาศีล  ๕ 

 

          มะยัง  ภันเต, วิสุง วิสุง  รักขะณัตถายะ , ติสะระเณนะ  สหะ, ปัญจะสีลานิ           ยาจามะ 

            ทุติยัมปิ  มะยัง  ภันเต, วิสุง วิสุง  รักขะณัตถายะ, ติสะระเณนะ สหะ, ปัญจะสีลานิ ยาจามะ 

            ตะติยัมปิ  มะยัง  ภันเต, วิสุง วิสุง  รักขะณัตถายะ, ติสะระเณนะ สหะ, ปัญจสีลานิ ยาจามะ

 

 

บทไตรสรณคมน์  

 

                                    พุทธัง   สะระณัง    คัจฉามิ 

                                    ธัมมัง   สะระณัง     คัจฉามิ 

                                    สังฆัง   สะระณัง     คัจฉามิ

            ทุติยัมปิ            พุทธัง  สะระณัง     คัจฉามิ

            ทุติยัมปิ            ธัมมัง  สะระณัง      คัจฉามิ

            ทุติยัมปิ            สังฆัง   สะระณัง     คัจฉามิ

            ตะติยัมปิ          พุทธัง  สะระณัง     คัจฉามิ

            ตะติยัมปิ          ธัมมัง  สะระณัง      คัจฉามิ

            ตะติยัมปิ          สังฆัง   สะระณัง     คัจฉามิ

               

คำสมาทานศีล ๕    

 

            ปาณาติปาตา,  เวระมะณี สิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ

            อะทินนาทานา,  เวระมะณี  สิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ

            กาเมสุ  มิจฉาจารา,  เวระมะณี  สิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ

            มุสาวาทา,  เวระมะณี  สิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ

            สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา,  เวระมะณี  สิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ

 

คำอาราธนาพระปริตร

 

                วิปัตติปะฏิพาหายะ      สัพพะสัมปัตติสิทธิยา

                สัพพะทุกขะวินาสายะ ปริตตัง  พฺรูถะ  มังคะลัง

                วิปัตติปะฏิพาหายะ      สัพพะสัมปัตติสิทธิยา

                สัพพะภะยะวินาสายะ   ปริตตัง  พฺรูถะ  มังคะลัง

                วิปัตติปะฏิพาหายะ      สัพพะสัมปัตติสิทธิยา

                สัพพะโรคะวินาสายะ   ปริตตัง  พฺรูถะ  มังคลัง

 

 

คำอาราธนาธรรม

 

พฺรัหมา จะ  โลกาธิปะตี สะหัมปะติ

กัตอัญชะลี อันธิวะรัง  อะยาจะถะ

สันตีธะ  สัตตาปปะระชักขะชาติกา

เทเสตุ ธัมมัง  อะนุกัมปิมัง  ปะชัง

 

คำถวายสังฆทาน (ประเภททั่วไป)

 

อิมานิ มะยัง  ภันเต, ภัตตานิ, สะปะริวารานิ, ภิกขุสังฆัสสะ,  โอโณชะยามะ, สาธุ โน ภันเต, ภิกขุสังโฆ, อิมานิ, ภัตตานิ, สะปะริวารานิ, ปฏิคคัณหาตุ, อัมหากัง, ทีฆะรัตตัง, หิตายะ, สุขายะ.

 

(คำแปล) ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ภัตตาหาร กับทั้งบริวารเหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับภัตตาหาร กับทั้งบริวารเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญฯ

 

คำถวายสังฆทาน (ประเภทอุทิศผู้ตาย)

 

อิมานิ   มะยัง ภันเต,มะตะกะภัตตานิ,สะปะริวารานิ,ภิกขุสังฆัสสะ, โอโณชะยามะ, สาธุ โน   ภันเต, ภิกขุสังโฆ, อิมานิ, มะตะกะภัตตานิ,  สะปะริวารานิ,  ปะฏิคคัณหาตุ,    อัมหากัญเจวะ,  มาตาปิตุอาทีนัญจะ,  ญาตะกานัง,  กาละกะตานัง,  ทีฆะรัตตัง,  หิตายะ, สุขายะ.

(คำแปล) ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายมตกภัตตาหาร กับทั้งบริวาร เหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับมตกภัตตาหาร กับทั้งบริวารเหล่านี้ ของข้าพเจ้า ทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายด้วย แก่ญาติของข้าพเจ้าทั้งหลาย มีมารดาบิดา เป็นต้น ผู้ทำกาละล่วงลับไปแล้วด้วย สิ้นกาลนานเทอญ ฯ

 

(* มตกภัตตาหาร อ่านว่า  “มะ-ตะ-กะ”   “มตกะ”  แปลว่า  ผู้ตาย  มตกภัตร หมายถึง  ภัตรเพื่อผู้ตาย)

 

วิธีกรวดน้ำและคำกรวดน้ำ


          เมื่อจะกรวดน้ำเพื่ออุทิศส่วนบุญ ต้องคำนึงถึงประเพณีที่มีมาแต่โบราณกาลด้วยวิธีนิยม ทำกันดังนี้ คือ เริ่มต้นเตรียมน้ำสะอาดใส่ภาชนะไว้พอสมควร จะเป็นคณฑี ขวดเล็ก แก้วน้ำ หรือขัน อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ พอพระสงฆ์เริ่ม อนุโมทนาด้วยบท  ยถา... ก็เริ่มกรวดน้ำ โดยตั้งใจ นึกอุทิศส่วนบุญ มือขวาจับ ภาชนะน้ำริน ใช้มือซ้ายประคอง แล้วว่าบทกรวดน้ำในใจไปจนจบบท ยถา....  ให้เทน้ำจนหมดภาชนะ  เมื่อพระสวดบท สัพพีติโย...ให้นั่งประนมมือรับพร

 

          การหลั่งน้ำกรวด ถ้าเป็นพื้นดินควรหลั่งลงในที่สะอาดหมดจด ถ้าอยู่บนเรือนหรือสถานที่ ที่ไม่ใช่พื้นดิน ต้องหาภาชนะอื่นที่สมควร เช่น ถาดหรือขัน เป็นต้น  รองน้ำกรวดไว้เสร็จแล้วจึงนำไป เทลงดินตรงที่สะอาด อย่าใช้กระโถนหรือภาชนะสกปรกรองเป็นอันขาด เพราะน้ำที่กรวดเป็น สักขีพยานในการทำบุญของตนว่าทำด้วยใจสะอาดจริง ๆ

          คำกรวดน้ำที่นิยมว่ากันในเวลากรวดทั่ว ๆ ไป มีอยู่ ๓ แบบ คือ แบบสั้น แบบย่อ และแบบยาว ในที่นี้ขอยกตัวอย่างเฉพาะแบบสั้นซึ่งเป็นคำอุทิศของพระเจ้าพิมพิสาร ดังนี้

 

อิทัง   เม  ญาตีนัง   โหตุ  สุขิตา  โหนตุ  ญาตะโย ฯ  (ว่า ๓ จบ)

 

(คำแปล)ขอบุญนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้าเถิด   ขอญาติทั้งหลายจงเป็นสุข ๆ เถิด ฯ

 

หมายเลขบันทึก: 379322เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2010 16:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 22:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ทำไมไม่มีคำอาราธนาน้ำละครับ

อาจารย์เป็นชาวพุทธที่ทำหน้าที่ได้ดีเยี่ยมเลยค่ะ

อาจารย์แต่หนูเคลียดมากเลยใกล้เวลาจะโดนทายมาทุกวัน

หนูไม่รู้จะทำใจได้ป่าวถ้าโดนทายไป

ผมได้ไปงานบุญหลายๆที่แต่ละที่มีการอาราธนาไม่เหมือนกันอย่างเช่นพระคุณเจ้าท่านสวดสมัยบางที่พิธีกรนำพระจะกล่าวนำว่า วิปะติปัตติพาหายะสัพพะสัมปัตติสิทธิยาสัพพะทุกขะวินาสายะมะหาสะมะยะสุตรตังพรูถะมังคะลัง แต่บางที่ก็อาราธนาพระปริตธรรมดาอย่างไหนถูกต้องครับหรือ พระสวดธรรมจักร บางที่ขึ้นด้วย วิปะติปัตติหายะ แต่ลงท้ายด้วยคำว่า ธรรมจักรกับปะวัฒนะสุตรตังพรูถะมังคะลัง แต่บางที่ก็อาราธนาพระปริตธรรมดา แล้วอันไหนมันถูกต้องละครับ

ผมมองว่า พิธีกรรมต่างๆ เป็นเรื่องของพราหมณ์ หาใช่พุทธไม่ แต่ที่ต้องทำก็เพื่อความสบายใจของทุกฝ่าย และไม่เดือดร้อนอันใด

ขอส่งข้อมูลมาให้พิจารณา  ข้อมูลที่ได้จากการเข้ารับการอบรมหลักสูตรบาลีใหญ่และพระไตรปิฏกสัญจร รุ่นที่ 14  ของวัดมเหยงคณ์   จังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยพระอาจารย์ใหญ่พระมหาสมปอง  มุทิโต  เถระ     ผอ.สถาบันบาลีใหญ่และพระไตรปิฏก   วัดวิหารธรรม      จังหวัดอุดรธานี   ต่อไปนี้เป็นคำอาราธนาที่ถูกต้องตรงตามพระไตรปิฏกเล่มที่33  พระสุตตันตปิฏก  อปทานภาด 2  พุทธวงค์  1.รตนจังกมนกัณฑ์      พรหฺมา จ โลกาธิปตี สหมฺปตี               กตญฺชลี อนธิวรํ อยาจถ      "สนฺตีธ สตฺตาปฺปรชกฺขชาติกา              เทเสหิ ธมฺมํ อนุกมฺปิมํ ปชํ"                            คำอ่านที่ถูกต้องตามพระไตรปิฏก พระ-หฺมา  จะ  โลกาธิปะตี  สะหัมปะตี             กะตันชะลี   อะนะธิวะรัง   อะยาจะถะ สันตีธะ   สัตตาป ปะระชัก ขะชาติกา                เทเสหิ   ธัมมัง   อะนุกัมปิมัง   ปะชัง                            คำที่อาราธนาผิด 

-พฺรหฺมา (พระ-หะมา ไม่ออกเสียงหะออกมาชัด เสียงสั้นในคอ ) ไม่ใช้ พรหมมาหรือพรัมมา ม มีสระอาเป็นตัวสะกดแล้วจึงนำมาสะกดอีกเป็นพรหมมาหรือพรัมมาไม่ได้ ผิดบาลีไวยากรณ์-กตณฺชลี (กะตันชะลี) ไม่ใช่ กตฺอญฺชลี (กัตอันชะลี ) น่าจะคัดลอกมาผิดหรือในขั้นตอนการเรียงตัวอักษรที่จะพิมพ์แล้วต้องกลับหน้าไปหลังด้วยจึงทำให้อาจเรียงตำแหน่งพิมพ์สับสนผิดได้ ซึ่งเป็นการพิมพ์ผิดๆมาตั้งแต่ครั้งแรก ก็เลยพิมพ์ผิดตามๆกันมา-อนธิวรํ (อะนะธิวะรัง) ไม่ใช่ อนฺธิวรํ (อันธิวะรัง) อาราธนาผิดจะได้บาปอกุศลเป็นของแถมโดยไม่รู้ตัว อะนะ แปลว่า ผู้ไม่มีใครประเสริฐยิ่งกว่า อัน แปลว่า ผู้มืดบอด จึงเท่ากับไปอาราธนาให้ผู้มืดบอดแสดงธรรม-เทเสหิ ไม่ใช่ เทเสตุ ในที่นี้พระพรหมทูลอาราธนาต่อพระพุทธเจ้า
หิ แปลว่า ท่าน (เป็นบุคคลที่ 2) ตุ แปลว่า เขา(เป็นบุคคลที่ 3) จึงอาราธนาผิด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท