อเมริกา : ประธานาธิบดีริชาร์ด เอ็ม. นิกสัน กับการลดความตรึงเครียดทางการเมืองกับรัสเซีย


 

(ประธานาธิบดีริชาร์ด เอ็ม. นิกสัน)

                สหรัฐอเมริกาภายใต้การนำของประธานาธิบดีริชาร์ด เอ็ม. นิกสัน (ประธานาธิบดีลำดับที่ ๓๗)ในช่วงปี ค.ศ. ๑๙๖๙ – ๑๙๗๔  เป็นช่วงที่โลกต้องประสบปัญหาความตรึงเครียดทางการเมืองระหว่างโลกเสรีนิยมโดยมีอเมริกาเป็นผู้นำและโลกคอมมิวนิสต์ที่รัสเซียเป็นผู้นำ เพราะทั้งสองชาติมหาอำนาจต่างก็มีอาวุธร้ายแรงอยู่ในมือ  หากสู้รบกัน (Hot War) จะเกิดผลสูญเสียอย่างสูงสุดอย่างที่โลกไม่เคยประสบมาก่อน ประธานาธิบดีริชาร์ด เอ็ม. นิกสัน จึงมีแผนกับการลดความตึงเครียดทางการเมืองกับรัสเซีย โดยการเดินทางไปเยือนรัสเซีย อธิบายได้ดังนี้

 

สภาพโดยทั่วไป 

                ๑. ทศวรรษที่ ๑๙๕๐ – ๑๙๘๐ ผู้นำรัสเซียคือ นิคิต้า ครุสชอฟ และ ลีโอนิค ไอ. เบรสเนฟ มุ่งดำเนินนโยบาย Cool  War เพราะเกรงกลัวความสูยเสียอันเกิดจากอาวุธร้ายแรง

(นิคิต้า ครุสชอฟ)

(ลีโอนิค ไอ. เบรสเนฟ)

                ๒. อเมริกาและรัสเซีย ต่างก็ปิดบังอาวุธร้ายแรงที่มีในมือ ทำให้หวั่นเกรงซึ่งกันและกัน

 

เป้าหมาย                

                ๑. อเมริกาต้องการให้รัสเซียเลิกสนับสนุนเวียดนามเหนือในสงครามเวียดนาม

                ๒. อเมริกาต้องการให้รัสเซียหวาดระแวงกันเอง

                ๓. เพื่อบรรลุข้อตกลงเรื่อง ประเภท ดารถือครอง และการลดอาวุธร้ายแรง

 

เหตุการณ์ที่นำไปสู่ความสำเร็จ ๖ ประการ 

            ๑. ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับจีน เรื่อง

                ๑.๑ อุดมการณ์ทางการเมืองของรัสเซียที่เปลี่ยนไป

                ค.ศ. ๑๙๕๓ – ๑๙๖๔ ครุสซอฟ ดำเนินนโยบาย Peaceful Coexistence  

                ค.ศ. ๑๙๖๔ – ๑๙๘๒ เบรสเนฟ ดำเนินนโยบาย Détente

                ทั้งสองเป็นนโยบาย Cool War มีหลักการสำคัญคือ การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ของชาติต่างลัทธิการเมือง แต่แข่งขันกันพัฒนาทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีและเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียหายอันเกิดจากอาวุธร้ายแรง

                ค.ศ. ๑๙๖๓ รัสเซียร่มลงนามกับอเมริกาและอังกฤษในสัญญาห้ามการทดลองปรมานูในมหาสมุทร ชั้นบรรยากาศและอวกาศ

                ที่กล่าวมาทำให้จีนมาองว่า รัสเซียทรยสต่ออุดมการณ์คอมมิวนิสต์

๑.๒ เรื่องการปราบปราม

                ค.ศ. ๑๙๖๘ รัสเซียปราบปรามชาวเช็คโกสโลวาเกียอย่างรุนแรง เนื่องการขอแยกประเทศ จีนประณามรัสเซีย

๑.๓ พรมแดน

                รัสเซียลุกล้ำพรมแดนจีนในมณทลซินเกียง เพราะต้องการพื้นที่อบอุ่น

            ๒. รัสเซียหวาดระแวงความสะพันธ์ระหว่างอเมริกากับจีน เนื่องจากการที่ประธานาธิบดีนิกสันไปเยือนจีนในเดือน ก.พ. ๑๙๗๒

            ๓. อเมริกาต้องการใช้ความสัมพันธ์กับรัสเซียให้มีผลทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจ

                    ๓.๑ ต้องการให้รัสเซียกับจีนหวาดระแวงกันเอง เป็นการบั่นทอนลัทธิคอมมิวนิสต์

                    ๓.๒ ต้องการให้รัสเซียเลิกสนับสนุนเวียดนามเหนือในสงครามเวียดนาม ภาพความสัมพันธ์ของอเมริกากับรัสเซีย จะนำไปสู่การลงนามสันติภาพในสงครามเวียดนามเร็วขึ้น

                   ๓.๓ ต้องการขายผลผลิตทางการเกษตรให้รัสเซีย เช่น ข้าวโพด ข้าวสาลี  ในราคาที่ต่ำกว่าตลาดโลก

             ๔. เบรสเนฟดำเนินนโบยาย Détente เพราะต้องการลดความตึงเครียดทางการเมืองระหว่างโลกคอมมิวนิสต์กับโลกเสรีนิยม เพราะรัสเซียกำลังประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ หวังให้โลกเสรีนิยมช่วงเหลือทางผลผลิตทางการเกษตร วิทยาการเทคโนโลยี และเพื่อนำทรัพยากรธรรมชาติจากไซบีเรียมาใช้

            ๕. ดร. เฮนรี่ คิสซิงเกอร์ ที่ปรึกษาด้านการต่างประเทศของนิกสันเตรียมการ

                 ๕.๑ เจราจาเรื่องการเปิดเผยการถือครอง และจำกัดจำนวนอาวุธร้ายแรงระหว่างอเมริกากับรัสเซีย  ใน The Strategic Arms Limitation Treaty Talk – SALT การประชุมเกิดขึ้น ๓ ครั้ง ในปี ค.ศ. ๑๙๖๙ – ๑๙๗๒

                ๕.๒ เตรียมการให้นิกสันเยือนรัสเซียในเดือน พ.ย. ๑๙๗๒ พบกับเบรสเนฟผู้นำของรัสเซีย

            ๖. การเยือรัสเซียของประธานาธิบดีนิกสันมีขึ้นระหว่าง วันที่ ๒๒ – ๓๑ พ.ย. ๑๙๗๒ ผู้นำของสองชาติได้ร่วมลงในในสัญญา ๓ ฉบับคือ

                ฉบับที่ ๑ The Strategic Arms Limitation Treaty of 1972 – SALT 1

                    ๑. จำกัดจำนวนการถือครองขีปนาวุธต่อสู้ขีปนาวุธ อเมริกามีถือครองมากกว่ารัสเซีย ๔๕๐ ต่อ ๒๐๐ ลูก

                    ๒. ห้ามผลิตอาวุธร้ายแรง ๓ ชนิดในระยะ ๕ ปี (five-year freeze)

                        - จรวดขีปนาวุธยิงข้ามทวีป รัสเซียถือครองมากกว่าอเมริกา ๑,๖๐๗ ต่อ ๑,๐๕๔ ลูก

                       - จรวดขีปนาวุธยิงจากเรือดำน้ำ รัสเซียถือครองมากกว่าอเมริกา ๗๔๐ ต่อ ๖๕๖ ลูก

                       - หัวรบนิวเคลียร์ อเมริกาถือครองมากกว่ารัสเซีย ๕,๗๐๐ ต่อ ๒,๕๐๐ ลูก

                        อเมริกาพอใจในสัดส่วนเพราะมีอาวุธร้ายแรงที่รัสเซียไม่มีและไม่ได้กำหนดในปี ค.ศ. ๑๙๗๒ คือ ยานปล่อยหัวรบนิวเคลียร์ครั้งละหลาย ๆ ลูก

                ฉบับที่ ๒ ข้อตกลงทางด้านการค้าและเทคโนโลยี

                ฉบับที่ ๓ ข้อตกลงทางด้านการแพทย์และการรักาาสิ่งแวดล้อม

                สรุป การเยือนรัสเซียของนิกสัน ทำให้ความตึงเคลียดทางการเมืองของทั้งสองประเทศลดลง โดยเฉพาะ SALT 1 นับว่าเป็นงานชิ้นสำคัญของนิกสันที่ประสบความสำเร็จ

 

บรรณานุกรม

อรพินท์ ปานนาค,รศ. ประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกาในคริตส์ศตวรรษที่ ๒๐. พิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง. ๒๕๕๑.

หมายเลขบันทึก: 378081เขียนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2010 13:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ยินดีครับ....................

โค้งคำนับนั่งอ่านช่วยสานฝัน

สาระดีมีจุดเด่นเป็นสำคัญ

ชอบสร้างสรรค์เสพหาวิชาการ

ขยันเขียนเวียนหามาบันทึก

เริ่องไม่นึกก็ได้เห็นเป็นแก่นสาร

เกิดความคิดติดปัญญาพาเชี่ยวชาญ

ประสบการณ์พบเห็นเป็นบทเรียน

ธนา นนทพุทธ

จักสานอักษรกลอนคิดเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท