อเมริกา : การบริหารประเทศของประธานาธิบดีลินดอน บี. จอห์นสัน กับแผนการต่อสู้ความยากจนของคนในชาติ - The War on Poverty Plan



 

(ประธานาธิบดีลินดอน บี. จอห์นสัน)

                การบริหารประเทศของประธานาธิบดีลินดอน บี. จอห์นสัน ประธานาธิบดีลำดับที่ ๓๖  ในช่วงปี ค.ศ. ๑๙๖๕ – ๑๙๖๙ มุ้งแก้ไขปัญหาสังคมและสร้างความั่นคงให้กับประชาชนภายใต้แผน The Great Society Program ซึ่งสืบทอดงานของอดีตประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนนาดี้ (ประธานาธิบดีลำดับที่ ๓๕)

The War on Poverty Plan

                คือแผนการต่อสู้ความยากจนของคนในชาติ สืบเนื่องจากบทความของ ไมเคิล ฮาร์ริงตัน (Michael Harrington)  ที่ชื่อว่า The Other American : Poverty in the United States ที่ชี้ให้เห็นว่า ในทศวรรษที่ ๑๙๖๐ มีคนจนชาวอเมริกันกว่า ๑ ใน ๕ ของประเทศ  โดย ๓ ใน ๔ เป็นคนผิวขาว เขาแบ่งคนจนเป็น ๖ ประเภทคือ

                ๑. ชาวนาและชาวเหมือนแถบเทือกเขา Appalachian

                ๒. คนผิวดำในสังคมเมองเขตสลัม

                ๓. ชาว Hispanic และ Latino ที่พูดภาษาสเปนที่มาจากอเมริกากลางและอเมริกาใต้

                ๔. คนอเมริกันอินเดียนในเขตสงวน

                ๕. ครอบครัวที่มีสตรีเป็นผู้นำ

                ๖. คนสูงอายุที่ยากจน

                คนเหล่านี้ขาดการศึกษา การรักษาพยาบาล วงจรชีวิตวนเวียนอยู่กับความยากจน และอยู่อย่างสิ้นหวัง แม้จะมีแผน The New Deal Program ของอดีตประธานาธิบดีรูทเวลส์ ที่มีกฎหมายประกันสังคม ปี ค.ศ. ๑๙๓๕ ที่ช่วยคนชรา คนพิการ และคนว่างงาน แต่ก็กำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะเข้าร่วมอย่างเข้มงวด และเอื้อประโยชน์แก่ผู้เสียภาษีพิเศษ

                ประธานาธิบดีจอห์นสันจำนำเรื่องที่ฮาร์ริงตันเขียนและข้อเสนอของอดีตประธานาธิบดีเคนนาดี้เริ่มไว้มาเป็นงานหลักในสมัยเขา

                ในเดือน ม.ค. ๑๙๖๔ ประกาศแผนการต่อสู้ความยากจนของคนในชาติให้หมดไป (The War on Poverty Plan) ให้มีชีวิตที่ดีขึ้นและอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี มุ่งให้ความช่วยเหลือคนยากจนใน ๑๑ รัฐแถบเทือกเขา  เป็นกลุ่มแรก เพราะส่วนใหญ่เป็นเยาวชนอายุระหว่าง ๑๖ – ๒๑ ปี  ซึ่งไร้การศึกษาและไม่มีผู้ปกครอง ในเดือน ส.ค. ๑๙๖๔ รัฐผ่านกฎหมายเปิดโอกาสทางเศรษฐกิจ ปี ๑๙๖๔  (The Economic Opportunity Act of 1964) จัดตั้งสำนักงานเปิดโอกาสทางเศรษฐกิจ (Office of Economic Opportunity – OEO) เป้าหมายคือ

                ๑. ให้ความช่วยเหลือผู้ยากไร้ทุกคนเท่าเทียมกัน

                ๒. ให้ผู้ยากไร้ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ควบคู่ไปกับการศึกษาวิชาชีพ เมื่อจบการศึกษาจะมีหน่วยงานรองรับตามความถนัดที่ได้ฝึกงานมา

                รัฐออก Stamp Food แจกครอบครัวที่มีรายได้น้อยเพื่อให้ได้รับอาหารครบ ๕ หมู่ และเป็นการช่วยเหลือการเกษตรให้มีความมั่นคง

                รัฐผ่านกฎหมายขนส่งมวลชนในสังคมเมือง ปี ๑๙๖๔ (the Urban Mass Transportation) เพื่อผู้ยากไร้จะได้รับความสะดวกในการใช้รถโดยสารเดินทางไปทำงาน

                รัฐผ่านกฎหมาย The Appalachian Regional Development Act of 1965 เพื่อปรับปรุงพื้นที่เชิงเขา Appalachian เพื่อทำการเกษตรและตั้งมั่น รวมทั้งแผน The Community Action Program สนับสนุนผู้ยากไร้ให้มีบทบาททางสังคม ให้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจและแก้ปัญหาที่มีผลกระทบต่อสังคมผู้ยากไร้ โดยรับตั้งทนายให้คำปรึกษาให้กิจกรรมชุมชนเป็นที่ยอมรับต่อสังคมภายนอกและถูกต้องตามกฎหมาย ในปี ค.ศ. ๑๙๖๔ – ๑๙๖๖ รัฐใช้งบประมาณถึง ๑ – ๑.๒ พันล้านดอลล่าร์


บรรณานุกรม

อรพินท์ ปานนาค,รศ. ประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกาในคริตส์ศตวรรษที่ ๒๐. พิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง. ๒๕๕๑.

 

 

หมายเลขบันทึก: 378077เขียนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2010 12:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท