แนวคิดของรัฐไทยกับกฎหมายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร


บทความชิ้นนี้จึงถูกเขียนขึ้นเพื่ออธิบายภาพรวมของกฎหมายไทย และ แนวคิดของกฎหมายต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการจัดการปัญหาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยเน้นที่การจัดการเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อตรวจสอบว่า รัฐไทยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเครือข่ายสังคมออนไลน์ในกี่ลักษณะ เพื่อนำไปสู่การพัฒนากฎหมายที่ควรจะเป็นในอนาคต

 

       นับแต่ประเทศไทยมีกฎหมายที่มีผลต่อการจัดการเรื่องสื่อฉบับแรกตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๗๓ เป็นต้นมา จนกระทั่งสังคมปัจจุบันก้าวเข้าสู่ยุคเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งในทางข้อเท็จจริงแล้ว สังคมไทยเริ่มคุ้นชินกับคำว่าอินเทอร์เน็ตตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๖ และประเทศไทยได้บังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารฉบับแรกในปี พ.ศ.๒๕๔๔ กล่าวคือ พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.๒๕๔๔ ต่อมาเมื่ออินเทอร์เน็ตก้าวเข้าสู่ยุค เว็บ ๒.๐ เป็นยุคของเครือข่ายสังคมออนไลน์ จึงมีคำถามเกิดขึ้นว่า กฎหมายไทยที่มีอยู่เพียงพอต่อการจัดการปัญหาเครือข่ายสังคมออนไลน์หรือไม่

           ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม

หมายเลขบันทึก: 378069เขียนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2010 12:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 เมษายน 2012 08:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
สมเกียรติ วรปัญญาอนันต์
(๑)ประเด็นเรื่องทรัพย์ ในแง่บ่อเกิดของกฎหมาย ก่อนที่จะใช้ ปพพ. มาตรา ๔ วรรคสอง ต้องใช้มาตรา ๔ วรรคหนึ่งก่อน และในปพพ. มีบทบัญญัติเรื่องทรัพย์ ทั้งในบรรพ ๑ และบรรพ ๔ รวมทั้งกฎหมายอื่นๆ ควรนำไปพัฒนาเค้าโครงในรายละเอียดต่อไป
(๒)กฎหมายประเพณี มีทั้งองค์ประกอบภายนอกและองค์ประกอบภายใน ถ้าไม่ครบยังไม่เป็นกฎหมายประเพณี โดยมีศีลธรรมเป็นรากเหง้าของกฎหมาย ประเด็นนี้ควรนำไปพัฒนาต่อ
(๓)โครงในด้านต่างๆ ที่เสนอมาน่าจะมีความหมายครอบคลุมแล้ว แต่ต้องนำมาปรับกับกฎหมายไทยปัจจุบันก่อน รวมทั้งการศึกษาในแง่กฎหมายเปรียบเทียบ ประวัติศาสตร์กฎหมาย และนิติศาสตร์เชิงคุณค่า รวมทั้งนิติปรัชญา
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท