“โมถ่าย” จาก..สัพพนามคนขี้โม้สู่กองทุนสวัสดิการชุมชน เด็ก ผู้ด้อยโอกาส


ขี้โม้สู่กองทุนสวัสดิการชุมชน เด็ก ผู้ด้อยโอกาส

“โมถ่าย”  จาก..สัพพนามคนขี้โม้สู่กองทุนสวัสดิการชุมชน เด็ก ผู้ด้อยโอกาส

และผู้สูงอายุ แบบยั่งยืน *

 

                ชุมชนโมถ่าย  เดิมทีเป็นที่อยู่อาศัยของกลุ่มคนผู้มีอาชีพหาของป่า ล่าสัตว์ เพื่อการดำรงชีวิต  เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของชุมชนเป็นป่าอุดมสมบูรณ์ มีสัตว์ป่าชุกชุม คนในชุมชนโมถ่ายจะมีความเชี่ยวชาญในการล่าสัตว์และมีความเชื่อมั่นในความเก่งกล้าสามารถของตนเองเป็นอย่างมาก ซึ่งสิ่งที่ได้จากการหาของป่า ล่าสัตว์ ถ้าเหลือจากการดำรงชีพแล้วก็จะนำไปขายหรือแลกสิ่งของในตัวอำเภอ  จึงทำให้คนในชุมชนมีเงินใช้จ่ายอย่างไม่ขาดมือ  ทำให้เกิดการโอ้อวดถึงความเป็นผู้มีอันจะกิน จนได้สัพพนามเรียกขานจากชุมชนละแวกเดียวกันตามสำเนียงภาษาของคนภาคใต้ว่า  “โมตาย” (คนขึ้โม้) ภายหลังมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมบ้านเมือง เกิดการแบ่งเขตจัดตั้งชุมชนขึ้นตามหน่วยงานภาครัฐกำหนด จึงเป็นชื่อมาเป็น “โมถ่าย” ตามสำเนียงเรียกของภาษาไทย  ปัจจุบันตำบลโมถ่ายมีประชากรทั้งสิ้น 3,456  คน  โดยแบ่งการปกครองออกเป็น 6 หมู่บ้าน

                นายเจือ  เวทยาวงศ์  ประธานบริหารกองทุนสวัสดิการชุมชน กล่าวว่า กองทุนสวัสดิการชุมชนโมถ่าย เกิดขึ้นจากการสาเหตุที่ในตำบลมีองค์กรที่จัดการเรื่องทุนอยู่หลายประเภท เช่น กลุ่มออมทรัพย์ เครดิตยูเนี่ยน กองทุนข้าวซ้อมมือ  กลุ่มผู้ผลิตน้ำดื่ม  กองทุนผู้ยากลำบากบ้านป่าอ้อย   แต่ไม่มีกองทุนหรือกลุ่มองค์กรใดที่จัดตั้งขึ้นเพื่อตอบสนองชุมชนในด้านสวัสดิการต่าง ๆ ให้กับชุมชนเลย  ดังนั้นจึงเป็นจุดทำให้เกิดการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชน เด็ก  ผู้ด้อยโอกาสและผู้สูงอายุขึ้น  ซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่  22  ธันวาคม  2542  โดยมีเงินทุนร่วมก่อตั้งครั้งแรก  9,000  บาท  ปัจจุบันมีเงินกองทุนจำนวน  256,300  บาท  มีสมาชิก  425  คน  ดำเนินการภายใต้กรองแนวคิดที่ว่า “ชุมชนควรมีหลักประกัน”  กล่าวคือ การดูแลกันเอง  โดยใช้สถานบันการเงินชุมชนที่ตัวเองมีอยู่ เป็นเครื่องมือสำคัญ  ซึ่งนายเจือ  เวทยาวงศ์ ได้กล่าวต่อไปว่า  “ชาวบ้านได้แนวคิดจากการที่องค์กรไม่ว่าจะเป็นของรัฐและเอกชนในปัจจุบัน  ซึ่งล้วนแล้วแต่มีหลักประกันให้กับคนทำงาน  มีสวัสดิการด้านต่าง  ๆ  มากมาย เช่น ด้านอุบัติเหตุ ด้านการรักษาพยาบาล  อีกทั้งมีเงินเลี้ยงชีพยามที่ทำงานไม่ได้  สิ่งเหล่านี้คือแรงบันดาลใจสำคัญที่ทำให้ชาวชุมชนโมถ่ายลุกขึ้นมาสนใจสวัสดิการชุมชนของภาคประชาชน โดยยึดเอากองทุนสวัสดิการผู้สูงอายุที่มีอยู่ขยายไปสู่สวัสดิการด้านอื่น ๆ ทั้งการศึกษาของเด็กผู้ด้อยโอกาส  สวัสดิการเด็กแรกเกิด  สวัสดิการสำหรับผู้ป่วยและเสียชีวิต  เป็นต้น  ซึ่งสามารถพิจารณาดูรายละเอียดรูปแบบของกองทุนสวัสดิการชุมชนโมถ่ายได้ตามแผนภูมิ ดังนี้            

 

 

 

หากพิจารณาแผนภูมิ กองทุนสวัสดิการโมถ่าย พบว่า  ทางชุมชนสามารถขยายกองทุนสวัสดิการชุมชนได้ครอบคลุมทั่วทั้งตำบล  โดยใช้กลุ่มองค์กรชุมชนขับเคลื่อนกิจกรรมต่าง  ๆ  ของชุมชนโดยการนำเอาผลกำไรมาร่วมสมทบกองทุนซึ่งเกิดจากผลประกอบการของกลุ่มปีละ  15,000  บาท  อีกทั้งกองทุนผู้สูงอายุเดิมก็มีเงินอยู่ก้อนแรกจำนวน  15,000  บาท  จากสมาชิกร่วมสมทบอีก  21,600  บาท  นอกจากนั้น กระบวนการขับเคลื่อนกองทุนยังมีงบประมาณสนับสนุนจากอนามัยตำบล  เป็นเงินจำนวน  5,400  บาท  ในส่วนขององค์การบริหารส่วนตำบลได้กำหนดไว้ในแผนงบประมาณโดยได้ให้การสนับสนุนอีกปีละ  20,000  บาท  และมีงบประมาณจากการแก้ไขปัญหาความยากจนภาคประชาชนของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.)  ร่วมสมทบกองทุนอีกจำนวน  5,000  บาท

                ในปี  พ.ศ. 2549  เป็นการยืนยันรูปธรรมการจัดสวัสดิการชุมชนภาคประชาชนโมถ่าย  ได้อย่างชัดเจน ซึ่งพบว่า ทางกองทุนได้ให้การช่วยเหลือศพผู้เสียชีวิต  จำนวน  11  ศพ  เป็นเงิน  66,000  บาท  ช่วยเหลือเด็กเรียนดีแต่ยากจน  2  ทุน  เป็นเงิน  2,000  บาท  ในปีดังกล่าวยังให้การช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสอีก  6  ราย  และผู้เจ็บป่วยอีกจำนวน  7  ราย   อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาภาพรวมของการจัดสวัสดิการชุมชนของบ้านโมถ่าย  ตั้งแต่ปี  2542-2549  พบว่า กองทุนสวัสดิการชุมชนโมถ่ายสามารถจัดสวัสดิการให้กับภาคประชาชนได้หลากหลายประเภท  โดยแสดงตามตาราง  ดังนี้

 

ประเภทสวัสดิการชุมชน

จำนวนสมาชิกที่ได้รับความช่วยเหลือ (ราย)

จำนวนเงิน (บาท)

    สวัสดิการเด็กแรกเกิด

   สวัสดิการกรณีเสียชีวิต

   สวัสดิการค่ารักษาพยาบาล

   สวัสดิการผู้สูงอายุ

   สวัสดิการคนพิการ

   ของขวัญประจำปี

5

37

50

1

10

80

2,500

222,000

9,000

3,000

54,000

40,000

 

 

 

*  อุดมศักดิ์  เดโชชัย   อาจารย์หลักสูตรการพัฒนาชุมชน  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

หมายเลขบันทึก: 377901เขียนเมื่อ 22 กรกฎาคม 2010 18:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท