ต่าย
นาย เอกสิทธิ์ ต่าย เสียงห้าว

สมุนไพรไทย


ถอนพิษ

พืชถอนพิษ

ว่านหางจระเข้

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aloe vera (L.) Burm.f. ชื่อพ้อง : Aloe barbadensis Mill

ชื่อสามัญ : Star cactus, Aloe, Aloin, Jafferabad, Barbados วงศ์ : Asphodelaceae ชื่ออื่น : หางตะเข้ (ภาคกลาง) ว่านไฟไหม้ (ภาคเหนือ)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 0.5-1 เมตร ลำต้นเป็นข้อปล้องสั้น ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนรอบต้น ใบหนาและยาว โคนใบใหญ่ ส่วนปลายใบแหลม ขอบใบเป็นหนามแหลมห่างกัน แผ่นใบหนาสีเขียว มีจุดยาวสีเขียวอ่อน อวบน้ำ ข้างในเป็นวุ้นใสสีเขียวอ่อน ดอก ออกเป็นช่อกระจะที่ปลายยอด ก้านช่อดอกยาว ดอกสีแดงอมเหลือง โคมเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 6 แฉก เรียงเป็น 2 ชั้น รูปแตร ผล เป็นผบแห้งรูปกระสวย

ส่วนที่ใช้ : วุ้นในใบสด ยางในใบ เหง้า

สรรพคุณ :

* วุ้นในใบสด - บรรเทาอาการปวดศีรษะ - รักษาแผลน้ำร้อนลวก ไฟไหม้ - ถอนพิษ แก้ปวดแสบปวดร้อน แผลเรื้อรัง

* ยางในใบ - ทำยาดำ เป็นยาระบาย

* เหง้า - ต้มเอาน้ำรับประทาน แก้หนองใน

วิธีและปริมาณที่ใช้ :

*บรรเทาอาการปวดศีรษะ เลือกใบว่านหางจระเข้ที่อยู่ล่างสุด ใบสด 1 ใบ (เพราะมีตัวยามากกว่า) ฝานตามขวางใบ หนาประมาณ 1/4 ซม. ใช้ปูนแดงทาตรงเนื้อที่มีลักษณะคล้ายวุ้นสีขาวใสๆ แล้วเอาทางด้านปูนแดงปิดบนขมับ

* รักษาแผลน้ำร้อนลวก ไฟไหม้ ถอนพิษ ปอกเปลือกสีเขียวออก ล้างยางสีเหลืองออกให้หมด ขูดเอาวุ้นใสออกมาทาพอกบริเวณแผลที่ถูกไฟ ไหม้ หรือน้ำร้อนลวกให้ชุ่ม เปลี่ยนวุ้นทุกวันจนกว่าจะหาย ช่วยระงับความเจ็บปวดด้วยและป้องกันการ ติดเชื้อ ช่วยให้แผลหายเร็วและไม่เกิดแผลเป็น

*วุ้นว่านหางจระเข้ ยังใช้ทารักษาผิวไหม้ที่เกิดจากแดดเผาได้

ข้อควรระวัง : ก่อนใช้ว่านทดสอบดูว่าแพ้หรือไม่ โดยเอาวุ้นทาบริเวณท้องแขนด้านใน ถ้าผิวไม่คันหรือแดงก็ใช้ได้

คำสำคัญ (Tags): #สมุนไพรไทย
หมายเลขบันทึก: 377393เขียนเมื่อ 21 กรกฎาคม 2010 11:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 15:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท