ศุภัชณัฏฐ์ หลักเมือง
นาย ศุภัชณัฏฐ์ หลักเมือง (เอ) หลักเมือง

แนะนำเครืองมือการทำงานกับชุมชน


เครื่องมือการทำงานกับชุมชน

เครื่องมือการทำงานกับชุมชน

       วันนี้ ผมนำเครื่องมือ 1 เครื่องมือ หรับการทำงานกับชุมชนมาฝากครับ เป็นเทคนิคที่ผมนำไปใช้ทำงานในพื้นที่แล้วได้ผลดี เลยนำมาฝากเผื่อพวกเราเครือข่ายคนทำงานนำไปใช้ครับ    (แต่ขออภัย สำหรับการอ้างอิงเอกสารและผู้เขียนครับผมจำไม่ได้ว่าได้มาจากไหนครับ... แต่หวังว่าเพื่อประโยชน์ต่อคนทำงานลังคมท่านคงให้อภัยนะครับ)

แผนที่เดินดิน

หมายถึง การเดินสำรวจดูด้วยตา และจดบันทึกทางกายภาพ สิ่งแวดล้อมของชุมชนและสิ่งต่าง ๆ ที่พบเห็นลงบนบันทึก เพื่อเข้าใจถึงความหมายทางสังคม (Social Meaning) และหน้าที่ทางสังคม (Social Function) ของพื้นที่ทางกายภาพ (Physical Space) เป็นเครื่องมือชิ้นแรกที่สำคัญที่จะนำไปสู่ความเข้าใจชุมชน ด้วยวิธีการง่ายๆ และใช้เวลาไม่นานมาก

เป้าหมาย  1. ทำให้มองเห็นภาพรวมของชุมชนได้ครบถ้วน
                2. ได้ข้อมูลมากและละเอียดในระยะเวลาสั้น
                3. ได้ข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือมากกว่าเพราะได้จากการสังเกตด้วยตนเอง
                4. นำไปสู่ความเข้าใจในมิติอื่นๆ ตามมา

วิธีการและข้อแนะนำ

1. อาจนำแผนที่เก่าที่เคยทำไว้มาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานเบื้องต้น แล้วตรวจสอบว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร           ใส่รายละเอียดเพิ่มเติม

2. ให้ความสำคัญกับการสร้างความคุ้นเคยกับชาวบ้านในชุมชนควบคู่กับการเขียนแผนที่ แวะทักทายชาวบ้านระหว่างการทำ

3. ถ้าเป็นหมู่บ้านที่มีระยะห่าง ไม่ควรนั่งรถยนต์ทำแผนที่ อาจใช้รถจักรยาน หรือจักรยานยนต์ แต่ต้องหมั่นจอดแวะทักทายชาวบ้าน

4. ต้องเดินสำรวจให้ทั่วถึง โดยเฉพาะบ้านคนจน บ้านผู้ทุกข์ยากที่อยู่ชายขอบของชุมชน บ้านของผู้ที่แยกตัวอย่างโดดเดี่ยวในชุมชน

5. มองพื้นที่ทางกายภาพแต่ตีความให้เห็นถึงพื้นที่ทางสังคม

6. ถ้าทีมงานมีหลายคน ไม่ควรแยกเขียนแล้วนำมาต่อกัน ควรเดินสำรวจร่วมกันทั้งทีม

7. หมั่นสังเกตและพูดคุยแลกเปลี่ยนกันในทีมระหว่างเดินสำรวจว่าพื้นที่ที่เห็นบอกเรื่องราวอะไรที่สำคัญของชุมชน ซึ่งถือว่าเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่สำคัญ

8. ข้อมูลบางอย่างไม่สามารถสังเกตได้ด้วยตาเพียงอย่างเดียว (อาจเป็นภาพลวงตา) จำเป็นต้องสอบถามจากเจ้าของบ้านญาติ เพื่อนบ้าน หรือบุคคลอื่นเพื่อประกอบการพิจารณาเพิ่มเติม

9. ข้อมูลบางอย่างไม่สามารถสอบถามจากเจ้าของบ้านได้โดยตรง จำเป็นต้องสอบถามคนในชุมชนเพิ่มเติม หรืออาศัยการสังเกตเพิ่มเติมด้วยตนเอง

10. ข้อพึงระวัง เมื่อให้ชาวบ้านนำทาง ข้อมูลอาจจะมีอคติจากผู้พาเดิน เช่น ไม่ต้องการให้พบเห็นสิ่งที่คิดว่าสร้างความเสื่อมเสียต่อชุมชน

11. พยายามเขียนข้อสังเกต เช่น ความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างคนในชุมชน หน้าที่ทางสังคมของพื้นที่ต่าง ๆ

หมายเลขบันทึก: 376562เขียนเมื่อ 18 กรกฎาคม 2010 21:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 เมษายน 2012 15:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เรียนท่านอาจารย์ศุภัชณัฏฐ์

  เป็นคำแนะนำที่ดีมากๆเลยค่ะ ขอบคุณสำหรับบันทึกดีๆนี้นะคะ

ขอบคุณครับ... คุณยายที่แวะมาเยี่ยม ... เครื่องมือแผนที่เดินดินนี้ สามารถนำไปใช้ได้กับทุกท่านครับที่ลงพื้นที่ทำงานกับชุมชน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท