17 OPD เด็กป่วยขอลดโลกร้อนอีกคน


สุดท้ายจะเห็นว่าการเอาใจใส่แม้เรื่องเล็กๆน้อยๆก็ช่วยลดโลกร้อนได้เช่นกัน อย่างเช่นเรื่องเล่านี้ไงคะ

     ส่วนเพื่อนอีกคนที่มาเล่าเรื่องในเวทีเรื่องเล่า จากบันทึกที่แล้ว   คือ ผ่อง (คุณผ่องศรี  หาญยอดสุธา)  หัวหน้างาน แผนกผู้ป่วยนอก   คนนี้เล่าในแนวของการ PDCA  ทำไปปรับไป   เพื่อพัฒนางาน

ผ่องศรี  หาญยอดสุธา

น้องจันทร์ฉายกำลังทำหน้าที่  Notaker อย่างเต็มที่

      ที่มาของเรื่องเล่าเพราะ  ที่คลินิกผู้ป่วยนอกจะมีเด็กทารกที่มีปัญหาว่ามีติ่งสะดือยื่นออกมา  หลังจากที่สายสะดือหลุดแล้วมาพบแพทย์บ่อยๆ   ซึ่งแพทย์จะให้การรักษาด้วยวิธีจี้สะดือโดยการใช้เกล็ด Silver Nitrate จี้บริเวณติ่งสะดือ   และการจี้ต้องระวังไม่ให้ Silver Nitrate สัมผัสกับผิวหนังเด็ก   จึงป้องกันโดยใช้วาสลินทาบริเวณรอบๆสะดือแล้วปูสี่เหลี่ยมเจาะกลางที่ปราศจากเชื้อโรค(ผ้าที่ผ่านการ sterile แล้ว )    โดยต้องมีข้อควรระวังคือ

1. การจี้ต้องระวังไม่ให้เกล็ดของ  Silver Nitrate สัมผัสหรือกระเด็นถูกผิวหนังของเด็ก เพราะจะทำให้ผิวหนังไหม้ดำ (Burn)

2. ระวังไม่ให้ผ้าสี่เหลี่ยมเจาะกลางเลื่อนไปมา  เพราะจะถูเอาวาสลินหลุดออกจากบริเวณรอบสะดือ

วิธีการจี้ด้วย Silver Nitrate

      เพื่อการเกิดปัญหา เกิดรอยไหม้หลังจี้สะดือ   จึงได้ล้อมวงคุยกันในแผนกว่าจะทำอย่างไรดี

     PLAN :

      ปรับเปลี่ยนผ้าสี่เหลี่ยมเจาะกลางที่ใช้ปูรอง โดยช่องเจาะกลางมีขนาด 1 นิ้ว x 1 นิ้ว (ผ้าสี่เหลี่ยมเดิมช่องเจาะกลางมีขนาดประมาณ 2.5 นิ้ว x 2 นิ้ว)

ข้อดี :

        1. ป้องกัน Silver Nitrate ที่อาจกระเด็นและไปสัมผัสกับผิวหนังหน้าท้องเด็ก ซึ่งจะทำให้ผิวหนังไหม้ดำ

       2. ปริมาณวาสลินที่ใช้ทาน้อยลง

ผ้าเจาะกลางที่ปรับขนาดให้เล็กลง

    DO :

       การจี้สะดือเด็กทารกใช้ผ้าสี่เหลี่ยมเจาะรูตรงกลางที่ทำใหม่ใช้เฉพาะ case จี้สะดือ

 

    CHECK :

       1. ติดตามผลการจี้สะดือเด็กทุกครั้ง สังเกตผิวหนังบริเวณรอบสะดือมีรอยไหม้หรือไม่

       2. ผ้าสี่เหลี่ยมเจาะรูตรงกลางที่ทำขึ้นใหม่มีความเหมาะสม ไม่เลื่อนเช็ดถูเอาวาสลินออก 

     ACT :

      ผิวหนังหน้าท้องบริเวณรอบสะดือของเด็กไม่พบการไหม้ดำหลังจากการจี้สะดือ   จึงใช้เป็นแนวทางปฏิบัติต่อไปในการทำหัตถการจี้สะดือเด็

         นอกจากนี้ ยังเป็นการค้นหาตัวชี้วัดเพื่อพัฒนางานเพิ่มด้วย คืออัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ป้องกันได้จากการทำหัตถการ (เกณฑ์ 0)

ทุกคนสนใจ ตั้งใจฟัง

        นับเป็นอีกเรื่องเล่าที่น่ายกย่อง    ผู้เขียนมองว่านอกจากจะช่วยลด BURN แล้ว  ยังช่วยลดโลกร้อนได้อีกทาง  เพราะ

  • ประหยัดทรัพยากร  เช่น วาสลิน   ยารักษาต่างๆ

  • ประหยัดงบประมาณของชาติ  เพราะไม่ต้องเสียค่ารักษา จากผลข้างเคียงของการทำหัตถการของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

  • ประหยัดเวลาของพ่อแม่  ไม่ต้องเสียเวลามาคอยดูแลรักษาลูก

  • ฯลฯ

       สุดท้ายจะเห็นว่าการเอาใจใส่แม้เรื่องเล็กๆน้อยๆก็ช่วยลดโลกร้อนได้เช่นกัน  อย่างเช่นเรื่องเล่านี้ไงคะ

พี่ต้อยและพี่อัม ขอบคุณเรื่องเล่าดีจากผ่อง

ด้วยของกำนัล(นะไม่ใช่ของผู้ใหญ่)เล็กๆน้อยๆ

ขอบคุณค่ะ

หมายเลขบันทึก: 376468เขียนเมื่อ 18 กรกฎาคม 2010 13:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

น่าสนใจตั้งหลายเรื่องนะเนี่ย..ประหยัดได้ตั้งหลายอย่าง แบบนี้เป็นตัวอย่างให้กับหน่วยงานอื่นๆได้คิดค้นบ้างนะคะ...ปี้เขี้ยวคงอิ่มกับอาหารมื้อตอนแล้วเนาะ อิอิ..น้องกำลังหม่ำ...ตื่นสายอิอิ

ปี้เขี้ยวคงอิ่มรำมื้อตอนแล้วกะเจ๊า เห็นภาพแล้วเสียวจังค่ะ ตอนแรกคิดว่าเป็นแค่สะดือจุ่นๆ ชื่นชมแม่หญิงไนติงเกล ลดโลกร้อนนะคะ ... ปี้เขี้ยวคงยุ่งโครงการไร้พุง ปูก็ได้ไปเดินลดพุงทุกเช้าเย็นเลยค่ะ คิดถึงหลายเจ๊า

P

กิ๋นข้าตอนแล้ว

กำลังเล็งว่าข้าวแลงจะกินหยัง  อิอิ

P

พอดีปีนี้ ผองเอาแต้เจ้า

เปิ่นใคร่อยากหื้อ ศูนย์อนามัยเป็นต้นแบบไร้พุงเจ้า  อิอิ

เลยอิดหน้อยเจ้า

สวัสดีค่ะ

ผิวเด็กบอบบาง พยาบาลหาทางระวัง ทนุถนอม ลดบาดเจ็บ ลดโลกร้อนด้วย ชื่นชมค่ะ

ฮาตรงของกำนัล ไม่ใช่ผู้ใหญ่นี่ละ ฮ่าๆๆ คิดได้ไงเนี่ยพี่ ดูแล้วสงสารเด็กน้อยครับ แต่ลดโลกร้อนได้ด้วยดีจริงๆๆ

P

บางครั้งเรื่องเล็กๆน้อยๆ

ถ้าเราใส่ใจ  ก็เอามาพัฒนางานได้ดีค่ะ

 

P

อิอิ  ขำๆค่ะ

แต่ที่แน่ๆ  แม่หมอ นน

จะมาเยี่ยม KM ที่ทำงานพี่ศุกร์นี้ค่ะ

ผู้ใหญ่สะดือจุ่นจี้ได้มั๊ยครับ

เมื่อวานพาลูกไปจี้สะดือมา รอยไหม้เต็มท้องเต็มขาเลยค่ะ แย่มากเลยไม่ขอบอกชื่อโรงบาลนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท