ศาสตร์ คืออะไร ? อะไร คือศาสตร์ ? What is Science ?


ศาสตร์ คืออะไร ? อะไร คือศาสตร์ ? What is Science ?

ศาสตร์ คืออะไร ? อะไร คือศาสตร์ ? What is Science ?

                ศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์ (Science) มีความหมายที่แตกต่างกันโดยแยกเป็น 3 ลักษณะ คือ

  1. ศาสตร์ หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือกฎที่จัดไว้อย่างเป็นระบบ
  2. ศาสตร์ หมายถึง สาขาวิชาหรือสาขาความรู้ต่างๆ เช่น เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ และดาราศาสตร์ แต่วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เศรษฐศาสตร์ สังคมวิทยา สังคมศาสตร์ เกษตรและวิศวกรรมจัดเป็นวิทยาศาสตร์ประยุกต์
  3. ศาสตร์ หมายถึง กระบวนการและกิจกรรมที่ทำให้ได้ความรู้ที่สามารถทดสอบได้

โดยจะประกอบด้วย  การสังเกตปรากฏการณ์  การตั้งสมมุติฐาน  การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล

การสรุปผล

ศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์ เป็นได้ทั้งในส่วนที่เป็นสาขาวิชา และตัวความรู้ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ทำให้มนุษย์เกิดการเรียนรู้ตามกระบวนการขั้นตอนการเรียนรู้ ทำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ เพราะเป็นการเรียนรู้จากกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งแท้ที่จริงแล้วเป็นการบวนการเดียวกับการวิจัย Research process นั้นเอง

                ความรู้หรือสิ่งที่จะจัดเป็นศาสตร์มีลักษณะดังนี้

              1. มีองค์ความรู้ Body of knowledge เป็นเรื่องเฉพาะตัว ซึ่งองค์ความรู้คือมวลสาระที่จัดไว้เป็นระบบ หมวดหมู่ จากรูปธรรมไปสู่นามธรรม และจัดอย่าง่ายๆไม่ซับซ้อน ประกอบด้วย

                                - ข้อเท็จจริงFact

                                - มโนทัศน์ Concept

                                - ข้อเสนอ Proposition

                                - สัจพจน์ Axiom or Postulate

                                - ทฤษฎี Theory

                                - กฎ Law

                มวลสาระต่างๆ เหล่านี้ไม่ได้หมายความว่าทุกศาสตร์จะมีครบถ้วน ขึ้นอยู่กับความก้าวหน้าและการสั่งสมองค์ความรู้หรือการทดลองทดสอบข้อค้นพบของศาสตร์นั้นๆ ในศาสตร์ที่มีความก้าวหน้ามากจะมีมวลสาระความรู้ในระดับสูงๆ มาก คือในส่วนที่เป็นทฤษฎีและเป็นกฎที่ค้นพบ และในขณะเดียวกันในศาสตร์ใดที่มีความล้าหลังจะมีมวลสาระความรู้ในระดับต่ำ เป็นเพียงข้อเท็จจริง และมโนทัศน์ ซึ่งมวลสาระที่เป็นองค์ความรู้นี้ต้องสามารถตรวจสอบความถูกผิดได้ ไม่ว่าจะโดยเชิงประจักษ์ Empirical หรือเชิงวิตรรก Rational

                2. มีศัพท์เฉพาะตัว Technical term ซึ่งคำศัพท์เฉพาะในแต่ละศาสตร์เป็นสิ่งที่มีลักษณะเด่นและจำแนกศาสตร์ออกจากกัน เป็นประโยชน์ในการใช้สื่อความรู้ให้มีความเข้าใจตรงกัน ศาสตร์ใดมีการคิดค้นบัญญัติศัพท์เฉพาะของตนมากเท่าใดจะแสดงถึงความความรู้ความก้าวหน้าของศาสตร์ดังกล่าวด้วย

                3. มีวิธีการค้นคว้าความรู้เฉพาะตัว Method of inquiry knowledge ในแต่ละศาสตร์ต้องมีวิธีการนำความรู้มาใช้เพราะลักษณะมวลสาระความรู้ของแต่ละศาสตร์มีความแตกต่างกันทั้งลักษณะความรู้ และประโยชน์ในการนำไปใช้เพื่อค้นคว้า เพื่อให้ความรู้ในศาสตร์ของตนเองพอกพูนอยู่เสมอ วิธีการที่นำมาใช้อาจก่อให้เกิดความน่านเชื่อถือของความรู้ที่ค้นคว้ามาได้มีความแตกต่างกัน กล่าวคือ

บางวิธีอาจก่อให้เกิดความน่าเชื่อถือต่ำ มักเรียกกันว่าทำให้ได้ความรู้ที่มีความเป็นอัตวิสัยหรือเป็นอัตนัย Subjectivity ขาดความตรง Invalidity  ขาดความเที่ยง Unreliability  แต่ในขณะที่อีกวิธีหนึ่งทำให้ความรู้มีความเป็นวัตถุวิสัยหรือเป็นปรนัย Objectivity มีความตรง validity มีความเที่ยง reliability สูง ซึ่งศาสตร์ใดใช้วิธีการสั่งสมความรู้ในลักษณะแรกมักมีความก้าวหน้าน้อย  ซึ่งเรียกว่าศาสตร์ออ่น Weak science  ในทางตรงกันข้ามถ้าศาสตร์ใดใช้วิธีการสั่งสมความรู้ตามลักษณะหลังจะมีความก้าวหน้ามาก ซึ่งจะเรียกว่าศาสตร์แข็ง Strong science การสั่งสมความรู้ของแต่ละศาสตร์จะได้จากการสังเกต สำรวจ สัมภาษณ์ ตรวจสอบเอกสาร ซาก หลักฐาน การทดลอง เป็นต้น

                จากที่เราพบเห็นว่ามีคำว่า ศาสตร์ ต่อท้ายในสาขาวิชาต่างๆ นั้น ทั้งนี้เป็นเพราะวิชาการแต่ละสาขามีคุณลักษณ์แห่งความเป็นศาสตร์ครบถ้วนทั้งสามประการ ส่วนประกอบขององค์ความรู้ในศาสตร์ล้วนแต่ได้มาจากการสั่งสมความรู้จากสองวิธีคือ วิธีการเชิงประจักษ์ Empirical หรือวิธีการเชิงวิตรรก Rational  จากรายละเอียดการศึกษาที่กล่าวมาทั้งนั้นถือได้ว่าเป็นพื้นฐานที่ก่อเกิดระเบียบวิธีวิจัยเชิงประจักษ์ Empirical หรือเชิงวิตรรก Rational  และระเบียบวิธีวิจัย คือกระบวนการนำมาซึ่งความรู้ของศาสตร์ หรือศาสตร์เป็นผลผลิตของการวิจัยนั้นเอง

                ประเภทของศาสตร์

                จัดตามลำดับความเกี่ยวเนื่องในการพัฒนามนุษย์ชาติจำแนกเป็น 4 ระดับ ได้แก่

  1. ศาสตร์หรือวิธีการเชิงประจักษ์ Empirical level
  2. วิทยาการหรือศาสตร์ระดับปฏิบัติ pragmatic level
  3. วิทยาการหรือศาสตร์ระดับปทัสถาน Normative level
  4. วิทยาการหรือศาสตร์ระดับคุณค่า Meaning or purposive level

จัดกลุ่มศาสตร์โดยพิจารณาจากปรากฏการณ์ที่ศาสตร์นั้นๆ มุ่งศึกษาโดยจำแนกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

                กลุ่มที่ 1 วิทยาศาสตร์ธรรมชาติหรือธรรมชาติศาสตร์ Natural science มุ่งศึกษาปรากฏการณ์ธรรมชาติ ในส่วนที่เกี่ยวกับสรรพสิ่งต่างๆ ยกเว้นปรากฏการณ์ทางพฤติกรรมมนุษย์ ตัวอย่างของศาสตร์นี้ได้แก่ ชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ และดาราศาสตร์ เป็นต้น

               กลุ่มที่ 2 สังคมศาสตร์ Social science มุ่งศึกษาพฤติกรรมระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ หรือปรากฏการณ์เกี่ยวกับการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ ตัวอย่างเช่น สังคมศาสตร์ นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ เป็นต้น

                กลุ่มที่ 3 มนุษย์ศาสตร์ Humanities science ศึกษาปรากฏการณ์ของมนุษย์ในส่วนที่เป็นปัจเจกบุคคล ในเรื่องของคุณค่า ความงาม ความสุนทรีย์ การใช้เหตุผลทำนองนี้ เป็นต้น เช่น ภาษาวรรณกรรม ศิลปะ ดนตรี

               จะเห็นได้ว่าในแต่ละศาสตร์จะจัดตามลักษณะของปรากฏการณ์ที่มุ่งศึกษา และในแต่ละศาสตร์อาจจะมีความเกี่ยวข้องเกี่ยวพันกันอยู่ไม่แยกจากกันโดยยังต้องอาศัยความรู้ทั้งสองหรือสามศาสตร์ประกอบกัน  แต่ในบางครั้งเราจะพบว่ามีการแบ่งศาสตร์ออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ ศาสตร์บริสุทธิ์ pure science และศาสตร์ประยุกต์ Applied science โดยศาสตร์บริสุทธิ์มุ่งศึกษาปรากฏการณ์ในธรรมชาติเพื่อให้เกิดความรู้เป็นหลัก ในขณะที่ศาสตร์ประยุกต์ มุ่งศึกษาปรากฏการณ์ในธรรมชาติ และนำความรู้ที่ได้รับมาใช้ตอบสนองประโยชน์สุขของมนุษย์เป็นสำคัญ

               เป้าหมาของศาสตร์

                ศาสตร์มีเป้าหมาย 4 ประการ เรียงลำดับจากเป้าหมายต่ำจนกระทั่งถึงระดับสูง ได้แก่ เพื่อ 1. บรรยาย 2. อธิบาย 3. ทำนาย 4. ควบคุมปรากฏการณ์ในธรรมชาติหรือปรากฏการณ์ที่มุ่งศึกษา โดยแต่ละเป้าหมายมีลักษณะดังนี้

                1. เพื่อบรรยายหรือพรรณนา Description ปรากฏการณ์หมายถึงการบอกเล่าคำถามว่าใครหรือสิ่งใด Who  What  Where  When  How  ซึ่งการตอคำถามดังกล่าวนี้ได้จากการสังเกตปรากฏการณ์อย่างรอบครอบ แล้วนำสิ่งที่ได้จากการสังเกตมาเรียบเรียงอย่างตรงไปตรงมา ตามที่สัมผัสและรับรู้

                2. เพื่ออธิบาย Explanation ปรากฏการณ์ หมายถึง การบอกว่าปรากฏการณ์นั้นๆ เกิดขึ้นเพราะเหตุใด นั้นคือคำถาม Why หรือการบอกเชิงสาเหตุ และผลของปรากฏการณ์นั้นๆ การอธิบายเชิงสาเหตุและผลที่มีความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์ใดนั้นต้องมีปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ทำให้สังเกตเห็นและพรรณนาได้ในระดับหนึ่ง จึงสามารถตอบคำถามอธิบายเชิงสาเหตุและผลนั้นได้

                3. เพื่อทำนาย Prediction หมายความว่า การบอกหรือคาดคะเนได้ว่าถ้ามีปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นแล้วจะมีปรากฏการณ์ใดตามมา นั้นคือการบอกในลักษณะว่า ถ้า If.. แล้ว Then.. ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนคือสิ่งที่เป็นสาเหตุ ส่วนปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามหลังคือสิ่งที่เป็นผล การที่จะทำนายสิ่งใดได้อย่างแม่นยำต้องขึ้นอยู่กับการค้นพบอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์ที่เป็นเหตุและปรากฏการณ์ที่เป็นผลได้ก่อนแล้ว มีความเข้าใจในเหตุและผลที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจนจึงอธิบายและทำนายได้แม่นยำ

                4. เพื่อการควบคุม Control หมายถึง การทำให้เกิดหรือไม่เกิดปรากฏการณ์ใดๆ ตามที่มนุษย์ นักวิจัย หรือนักทดลอง ต้องการ เป้าหมายนี้จะเกิดได้ต่อเมื่อสามารถอธิบายและทำนายได้ว่าปรากฏการณ์ใดจะทำให้เกิดปรากฏการณ์ใด กล่าวโดยสรุปว่าการที่ได้ผลสิ่งใดมานั้นต้องขึ้นอยู่กับเหตุ และถ้าเมื่อใดไม่ต้องการให้เกิดผลใดขึ้นก็ต้องดับเหตุนั้นเสียเพื่อไม่ให้เกิดผลตามมา ซึ่งเหตุและผลจะเป็นตัว Control ซึ่งกันและกัน เป้าหมายของศาสตร์นี้คือศูนย์รวมของศาสตร์ต่างๆ  เพราะในเป้าหมายนี้สิ่งที่ตามมาคือ การตอบสนองประโยชน์สุขของมวลมนุษย์และสังคมโดยรวมนั้นเอง

                ศาสตร์ใดมีความก้าวหน้ามากจะมีองค์ความรู้ที่บรรลุเป้าหมายสูงๆ ได้แก่ การทำนายและควบคุม ได้มาก  ในทำนองเดียวกัน ศาสตร์ใดมีองค์ความรู้แค่การพรรณนาอธิบาย หรืได้เฉพาะการพรรณนาปรากฏการณ์ ซึ่งเป็นเป้าหมายแรกๆ ของศาสตร์ แสดงว่าศาสตร์นั้นยังมีความก้าวหน้าไม่มากนัก จะเห็นว่าศาสตร์ด้านธรรมชาติหรือวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ จึงมีความก้าวหน้ากว่าศาสตร์อื่นๆ เพราะมีองค์ความรู้ขั้นควบคุมปรากฏการณ์ในธรรมชาติได้มาก มีการนำความรู้ไปใช้สนองความต้องการมนุษย์ ในนามของเทคโนโลยี หรือที่เรียกว่าวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ในขณะที่ศาสตร์ด้านสังคมศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์ มีความก้าวหน้าถึงเป้าหมายสูงสุดค่อนข้างยาก ศาสตร์ด้านมนุษย์ถูกจัดว่ามีความออ่น หรือมีความก้าวหน้าน้อยที่สุด ซึ่งตรงกันข้ามกับวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ

                สุรปได้ว่า ระเบียบวิธีวิจัยเป็นสิ่งที่ใช้ศึกษาเพื่อค้นคว้าหาความรู้ความจริง แล้วสั่งสมเป็นองค์ความรู้ของศาสตร์แต่ละสาขาหรือศาสตร์ คือผลผลิตของการวิจัยและองค์ความรู้ของศาสตร์จะนำไปใช้เพื่อเป้าหมาย 4 ประการ ซึ่งเป็นเป้าหมายของการวิจัยนั้นเอง จะเห็นว่าผลการดำเนินการวิจัยของเรื่องจะทำให้ได้ความรู้ ความจริง ตามเป้าหมายใดเป้าหมายหนึ่ง หรือมากกว่าหนึ่งเป้าหมาย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการวิจัยแต่ละครั้งและขึ้นอยู่กับเทคนิคการวิจัยแต่ละประเภทเป็นสำคัญ เช่น งานวิจัยเชิงบรรยาย Description research จะทำให้ได้ความรู้ความจริงในลักษณะการพรรณนาหรือบรรยาย กระบวนการ ขั้นตอนการดำเนินการวิจัยและผลที่ได้จากการดำเนินการ จะทำให้ได้ความรู้ความจริงในลักษณะเป็นการพรรณนาหรือบรรยาย และงานวิจัยเชิงทดลอง Experimental research จะทำให้ได้ความรู้ความจริง ในลักษณะอธิบาย ทำนาย  และควบคุม นั้นเอง

               

                                            ที่มา...ปรัชญาวิจัย Philosophy of Research.  

                                 รัตนะ  บัวสนธ์ . สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  2552.

หมายเลขบันทึก: 375370เขียนเมื่อ 15 กรกฎาคม 2010 15:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 มิถุนายน 2012 19:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

พยายามทำความเข้าใจแล้วเขียนด้วยภาษาของเรา จะได้เข้าใจง่ายขึ้น และอ่านตำราอื่นเพิ่ม

อ.ค่ะ รบกวนถามอาจารย์ค่ะ ศาสตร์ทางการศึกษามีอะไรบ้างค่ะ หา googlำ ไม่ได้คำตอบค่ะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท