งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนบนเว็บแบบผสมผสาน


งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนบนเว็บแบบผสมผสาน

                        Rovai and Jordan (2004)  ศึกษาความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ระหว่างการเรียนแบบในชั้นเรียนปกติการเรียนแบบผสมผสานและการเรียนออนไลน์เพียงอย่างเดียว  โดยใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่  3  จำนวน 68 คน  และอาสาสมัครอีก 86 คน  แบ่งเป็นผู้เรียนที่เรียนในชั้นเรียนแบบดั้งเดิม 26 คน เป็นอาสาสมัคร 24 คน   ผู้ที่เรียนบนเว็บแบบผสมผสาน 28 คน อาสาสมัคร 23 คนเรียนด้วยวิธีการผสมผสานทั้งแบบในชั้นเรียนปกติและแบบออนไลน์   ผู้ที่เรียนออนไลน์อย่างเดียว 25 คน อาสาสมัคร 21 คน  เรียนผ่านระบบBlackboard และการเรียนแบบออนไลน์  โดยใช้แบบวัด CCS  เป็นครื่องมือวัดลักษณะความเป็นชุมชนในชั้นเรียนในการวัดการติดต่อสัมพันธ์และการเรียนรู้ของผู้เรียน  จาการวิจัยพบว่า  การเรียนบนเว็บแบบผสมผสานนั้นสามารถสร้างความรู้สึกการเรียนรู้แบบเป็นชุมชนการเรียนรู้ได้มากกว่ารูปแบบอื่นๆ  โดยทำให้บรรยากาศการเรียนเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้มากขึ้น  โดยจะเน้นที่การเรียนแบบกระตือรือร้นโดยใช้กระบวนการเรียนแบบร่วมมือและสร้างสังคมแห่งความรู้ความเข้าใจให้เกิดขึ้น

 

                        Pitrik and Mallich (2004) ศึกษาแนวทางในการจัดการเรียนบนเว็บแบบผสมผสานโดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางกับการใช้เทคโนโลยีส่งผลต่อความสามารถของผู้เรียน  จากการศึกษาพบว่า

                        1.  การเรียนการสอนควรที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้  โดยมีเงื่อนไขทางมโนทัศน์ 3 ประการคือ  ความเป็นจริง  (realness)  การยอมรับ  (acceptance)  และความเข้าใจและความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น  (empathic  understanding) 

                        2.  ลักษณะของการจัดการเรียนบนเว็บแบบผสมผสานโดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ช่วยพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน  ดังนี้

                             -  ความมีส่วนร่วมในการเรียนรู้

                             -  ความต้องการในการเรียนรู้ที่มากขึ้น

                             -  การช่วยผู้เรียนให้ประสบผลสำเร็จและเกิดความเชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น

                             -  การกระตุ้นการเรียนรู้โดยการค้นพบของผู้เรียน

                             -  ช่วยให้เกิดการพัฒนาการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน  และผู้เรียนกับเพื่อนร่วมชั้นเรียน

                             -  เพิ่มความสามารถในการเรียนด้วยตนเองของผู้เรียน

 

                        Johnson, McHugo and Hall ( 2006)  ศึกษาวิธีการนำการเรียนการสอนบนเว็บแบบผสมผสานมาใช้ในการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา  จากการวิจัยสรุปแนวทางในการออกแบบกิจกรรมการเรียนไว้ดังนี้  รูปแบบการเรียนการสอนใช้ทรัพยากรออนไลน์  เช่น  เนื้อหาวิชา  งานที่มอบหมาย  เครื่องมือการเรียนแบบร่วมมือ  การประเมินการเรียนการสอนออนไลน์  ร่วมกับการเรียนแบบบรรยายในชั้นเรียนแบบดั้งเดิมที่เน้นการเรียนแบบเผชิญหน้า  เนื้อหาของบทเรียนแบบออนไลน์ (online content) ควรครอบคลุมเนื้อหาที่เรียนในห้องเรียนแบบดั้งเดิมแทนการเรียนแบบเผชิญหน้า  โดยการออกแบบระบบต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมในการเรียนให้ใกล้เคียงกับห้องเรียนแบบดั้งเดิมโดยการถามปัญหา  การมอบหมายงาน  การให้คำปรึกษา  และการทำโครงงาน  จากการวิจัยพบว่า  การเรียนการสอนบนเว็บแบบผสมผสานสามารถพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งในองค์ความรู้ที่เรียนได้มากกว่าการเรียนออนไลน์และการเรียนในห้องเรียนแบบดั้งเดิมเพียงอย่างเดียว  เนื่องจากการเรียนการสอนบนเว็บแบบผสมผสานเป็นการรวมเอาข้อที่ดีที่สุดของวิธีการเรียนในชั้นเรียนแบบดั้งเดิมและระบบการเรียนอิเล็กทรอนิกส์เข้าด้วยกัน  โดยผู้เรียนสามารถผึกปฏิบัติการภายในห้องปฏิบัติการ  และฝึกทบทวนความรู้ในเนื้อหานำไปใช้ในการแก้ปัญหาในการเรียนได้ตามความต้องการของผู้เรียนอย่างอิสระด้วยการเรียนแบบออนไลน์โดยมีติวเตอร์เป็นผู้คอยชี้แนะเมื่อเกิดปัญหา  ซึ่งการเรียนแบบนี้สามารถพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของผู้เรียนได้ด้วยตนเอง

หมายเลขบันทึก: 375086เขียนเมื่อ 14 กรกฎาคม 2010 19:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

แอบมารับความรู้อีกคราครับ ;)

ขออนุญาตเดินตามอาจารย์ไปเรื่อย ๆ นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท