เมืองน่าอยู่


การมีส่วนร่วมของชุมชน

เคยรับราชการครู  เป็นข้าราชการครูที่ได้ชื่อว่า  เป็นเจ้าเป็นนาย...เป็นพ่อครูแม่ครู..ที่  ไปไหนมีคนยกมือไหว้..ดูๆสูงส่ง..มีเกียรติ(ในทัศนคติของคนทั่วไปสมัยนั้น) ...จู่ๆเกิดความรู้สึกว่า..สิ่งที่ทำในโรงเรียนไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์อะไรมากมาย...เพราะปัจจุบันโรงเรียนเปลี่ยนไป...จากเป็นแหล่งให้ความรู้  อบรมบ่มนิสัยบุตรหลาน...กลายมาเป็น...ที่ทำมาหากินของคนที่มีอาชีพครู..แต่ไม่ใช่ครูมืออาชีพ...และไม่ได้มีความเป็นครูอย่างแท้จริง...ความเป็นครูปัจจุบัน..คือ..เงินวิทยฐานะเท่านั้น...เด็กจะเป็นอย่างไรคือสิ่งที่แก้ตัวไปเฉพาะหน้า...จึงหันเหชีวิตมาสัมผัสงานท้องถิ่น..แม้จะไม่นาน..แต่กำลังมีความรู้สึกว่า...ท่ามกลางเสียงและทัศนคติที่คิดว่า  ท้องถิ่นต่ำต้อยนัก  ไม่ใช่เจ้าใช่นาย...แต่..ดิฉันกลับพบสิ่งหนึ่งที่ซ่อนอยู่..คือ..การให้แก่ชุมชนท้องถิ่นในด้านต่างๆอย่างมากมายมหาศาล..บางทีคนในท้องถิ่นเองไม่รู้เลยด้วยซ้ำ...และพบว่า   นี่คือการสร้างประโยชน์และเป็นประโยชน์ต่อสังคมอย่างแท้จริง  สัมผัสได้  รู้สึกได้

สำนักงานเทศบาลของดิฉันเป็นสำนักงานที่ทำงานเยอะมาก  เป็นสำนักงานที่ไม่เคยได้อยู่นิ่งหรือสบายๆเลย..เรียกได้ว่า  พนักงานทุกคนต้องขยันเท่านั้นจึงจะอยู่ได้  และผลการปฏิบัติเช่นนี้เป็นประจำทำให้เทศบาลได้รับรางวัลอย่างมากมาย  แต่นั่นก็เป็นเพียงผลพลอยได้เท่านั้น  สิ่งสำคัญที่เทศบาลได้คือ  การพัฒนาท้องถิ่นของตนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ซึ่งทำให้ชุมชนเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน  นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งของกิจกรรมดีๆที่ทางเทศบาลดำเนินการโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนที่ได้รับผลสำเร็จในระดับประเทศมาแล้ว

เรื่องเล่าความสำเร็จ

โครงการ  “ร่องคำเมืองน่าอยู่”

              โครงการร่องคำเมืองน่าอยู่  เป็นโครงการที่เทศบาลตำบลร่องคำจัดทำขึ้น  โดยดำเนินโครงการมาตั้งแต่ปี 2548  มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ชุมชนในเขตเทศบาลตำบลร่องคำมีสภาพแวดล้อมที่สะอาด  เป็นระเบียบเรียบร้อย  มีภูมิทัศน์ที่สวยงาม  น่าอยู่  อย่างยั่งยืน  ตามที่ได้ประกาศเจตนารมณ์ในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นของตนเองให้ได้มาตรฐานทั้ง 5 ด้าน  ได้แก่  การเป็นเมืองปลอดภัย  เมืองสะอาด  เมืองวัฒนธรรม  เมืองคุณภาพชีวิต  และเมืองธรรมาภิบาล  โดยมีการกำหนดนโยบายเพื่อความเป็นเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน ชัดเจน และมีการวางแผนการดำเนินงาน  ปฏิบัติงานอย่างจริงจัง  ยั่งยืน  ตลอดจนการจัดสรรงบประมาณอย่างเพียงพอและต่อเนื่อง

แนวคิดการดำเนินงาน

  มุ่งสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและพัฒนาสิ่งแวดล้อมของเมืองด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคมโดยประชาชนมีส่วนร่วมคิด  ร่วมทำ  ร่วมตัดสินใจ  ร่วมประเมินผล  ร่วมรับผิดชอบ  และรับผลประโยชน์ร่วมกัน  การพัฒนาจะยึดพื้นที่เป็นหลัก  คนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา  การดำเนินโครงการจะมุ่งเน้นให้ประชาชนในชุมชนได้มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาความสะอาด  ความเป็นระเบียบเรียบร้อย  ตลอดจนปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในชุมชนให้สวยงาม

กลวิธีการดำเนินงาน

เทศบาลตำบลร่องคำได้สนับสนุนงบประมาณเป็นเงินอุดหนุนชุมชน  ผ่านคณะกรรมการชุมชนที่เทศบาลแต่งตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงาน  เพื่อให้ประชาชนได้นำเงินอุดหนุนไปพัฒนาปรับปรุงชุมชนตามความต้องการของตนเอง  มีการจัดการประกวดและมอบรางวัลชุมชนน่าอยู่  โดยการกำหนดตัวชี้วัดและมีตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนร่วมเป็นคณะกรรมการประเมิน  เป็นการสร้างแรงจูงใจและรางวัลในการปฏิบัติงาน  ซึ่งโครงการดังกล่าวประสบความสำเร็จในการพัฒนาเป็นที่น่าพอใจ  และมีผลงานเป็นที่ประจักษ์จนได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1  ในการประเมินเทศบาลน่าอยู่อย่างยั่งยืนระดับประเทศ ประจำปี 2550   สำหรับเทศบาลขนาดเล็ก และมีคะแนนเป็นอันดับที่ 1 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  จากการประกวดของสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย  กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมและมูลนิธิสิ่งแวดล้อมไทย

ตลอดระยะเวลาที่ดำเนินโครงการและรางวัลที่ได้รับ  ทำให้ประชาชนในชุมชนมีความภาคภูมิใจและเต็มใจที่จะเป็นส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของตนเอง  เป็นการสร้างความสมัครสมานสามัคคี  ความปรองดองให้เกิดขึ้นในชุมชน/สังคม นอกจากการจัดทำโครงการร่องคำเมืองน่าอยู่แล้ว  เทศบาลตำบลร่องคำยังได้จัดซื้อต้นลีลาวดี  เพื่อให้ประชาชนนำไปปลูกในพื้นที่ของตนเองและพื้นที่ว่างเปล่าในชุมชน  และจ่ายค่าตอบแทนแก่ผู้บำรุงรักษา  ตลอดจนจ้างเหมาบริการบุคคลภายนอกในการทำความสะอาด  ปรับปรุงสภาพแวดล้อมชุมชน อีกด้วย  ทำให้ชุมชนมีสภาพแวดล้อมที่สวยงามน่าอยู่อาศัย  นอกจากการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมแล้ว  เทศบาลตำบลร่องคำยังได้มีการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ  สังคม  อนามัยและจิตใจควบคู่กันอีกด้วย   ทำให้ประชาชนในชุมชนมีสุขภาพแข็งแรง  มีคุณภาพชีวิตที่ดี  มีความสุขนำไปสู่  “สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน(Green and Happiness Society)”และพร้อมที่จะสรรค์สร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืนและถาวร

ปัจจัยสู่ความสำเร็จ

       จากความสำเร็จของโครงการร่องคำเมืองน่าอยู่ดังกล่าว  เกิดจากหลายปัจจัย  ได้แก่

       4.1  ความมุ่งมั่นของผู้บริหาร  ตลอดจนพนักงานเทศบาลและประชาชนในอันที่จะร่วมกันพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง

       4.2  ความสมัครสมานสามัคคีของประชาชนในการร่วมพัฒนา

       4.3  งบประมาณที่ดำเนินโครงการ  ตลอดจนงบประมาณอุดหนุนชุมชนมีเพียงพอและพอเพียงต่อการปฏิบัติงาน

       4.4  การดำเนินโครงการฯมีการจัดประกวดเพื่อสร้างแรงจูงใจและกำลังใจในการปฏิบัติงาน

       4.5  พนักงานเทศบาลมีส่วนร่วมในการพัฒนาร่วมกับประชาชนในชุมชน

 

  

         ชุมชนออกร่วมพัฒนาหมู่บ้าน....หลังพัฒนาร่วมรับประทานอาหาร

 

                                  สวนสาธารณะที่พักผ่อนหย่อนใจ

 

                                   ชุมชนน่าอยู่...เศรษฐกิจพอเพียง

 

                           กลองเส็งคู่บ้าน            ........งดงามอารยธรรม

คำสำคัญ (Tags): #มหาสารคาม22
หมายเลขบันทึก: 374852เขียนเมื่อ 14 กรกฎาคม 2010 05:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

แหม..อ่านเรื่องราวเห็นภาพแล้วน่าอยู่จริงๆคะ

มาส่งเสริม ความน่าอยู่ จริงๆค่ะ เป็นกำลังใจให้นะคะ  ขอบคุณมากค่ะ

น่าอยู่จริงๆ ด้วยพี่ไก่ ผู้บริหาร และชาวบ้าน ตำบลร่องคำเห็นบันทึกนี้คงภูมิใจไม่น้อยเลยเน๊อะพี่ที่มีบุคลากรที่มุ่งมั่นและตั้งใจในการพัฒนาบ้านของตัวเองแบบที่เรียกว่า ทำงานด้วยหัวใจน่ะ...ขอให้ท้องถิ่นไทยจงเจริญ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท