สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ + ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา


สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ + ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา

"สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ +

ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา"

นับจากที่รัฐได้มีการปรับเปลี่ยนการบริหารจัดภาครัฐ ปรับเปลี่ยนโครงสร้าง ปฏิรูปการศึกษาใหม่ โดยมีการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ขึ้นกับระบบราชการนั้น...

ทำให้เห็นว่าปัจจุบันเป็นช่วงรอยต่อของการเปลี่ยนแปลงซึ่งเปลี่ยนจากระบบเก่าให้เป็นระบบใหม่ โดยทำให้เรื่องการบริหารทรัพยากรบุคคลดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ปัจจุบัน...ถ้าพูดถึงเรื่องการบริหารงานบุคคลในระบบเดิมนั้น...การวัดผลงาน จะมองไม่ค่อยเห็นว่ามีระบบคุณธรรม โปร่งใส มองที่ผลงานที่เป็นผลลัพธ์ไม่ค่อยชัดเจน...ภาครัฐจึงคิดปรับเปลี่ยนเรื่องการบริหารทรัพยากรบุคคลขึ้นมาใหม่ เพื่อให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและข้าราชการปฏิบัติงานอย่างมีคุณภาพ...สำนักงาน ก.พ. ซึ่งทำหน้าที่เป็นองค์กรกลางเกี่ยวกับเรื่องการบริหารทรัพยากรบุคคล...จึงได้กำหนดมาตรฐานความรู้ความสามารถ ทักษะและสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนเพื่อให้ส่วนราชการใช้เป็นแนวทางดำเนินการกำหนดความรู้ความสามารถ ทักษะและสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับตำแหน่ง ดังนี้...

มาตรฐานความรู้ความสามารถ ทักษะและสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ + ข้าราชพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา

มาตรฐานด้านความรู้ความสามารถที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่งทั่วไป วิชาการและอำนวยการ ประกอบด้วย

ความรู้ความสามารถที่ใช้ในการปฏิบัติงาน

ความรู้เรื่องกฎหมายและกฎระเบียบราชการ

มาตรฐานด้านทักษะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่งประเภททั่วไป วิชาการและอำนวยการ ประกอบด้วย

การใช้คอมพิวเตอร์

การใช้ภาษาอังกฤษ

การคำนวณ

การจัดการข้อมูล

มาตรฐานด้านสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่งประเภททั่วไป วิชาการและอำนวยการ ประกอบด้วย

สมรรถนะหลัก

สมรรถนะทางการบริหาร

สมรรถนะเฉพาะตามลักษณะงานที่ปฏิบัติ

สมรรถนะหลัก แบ่งเป็น 5 สมรรถนะ ได้แก่

การมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Achievement Motivation)

คำจำกัดความ : ความมุ่งมั่นจะปฏิบัติหน้าที่ราชการให้ดีหรือให้เกินมาตรฐานที่มีอยู่ โดยมาตรฐานนี้อาจเป็นผลการปฏิบัติงานที่ผ่านมาของตนเอง หรือเกณฑ์วัดผลสัมฤทธิ์ที่ส่วนราชการกำหนดขึ้น อีกทั้งยังหมายรวมถึงการสร้างสรรค์พัฒนาผลงานหรือกระบวนการปฏิบัติงานตามเป้าหมายที่ยากและท้าทายชนิดที่อาจไม่เคยมีผู้ใดสามารถกระทำได้มาก่อน

(พฤติกรรมที่วัดแบ่งได้เป็นระดับที่ 0 - 5 )

บริการที่ดี (Service Mind)

คำจำกัดความ : ความตั้งใจและความพยายามของข้าราชการในการให้บริการต่อประชาชน ข้าราชการหรือหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

(พฤติกรรมที่วัดแบ่งได้เป็นระดับที่ 0 - 5)

การสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ (Expertise)

คำจำกัดความ : ความสนใจใฝ่รู้ สั่งสม ความรู้ความสามารถของตนในการปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยการศึกษา ค้นคว้าและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง จนสามารถประยุกต์ใช้ความรู้เชิงวิชาการและเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ากับการปฏิบัติราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์

(พฤติกรรมที่วัดแบ่งได้เป็นระดับที่ 0 - 5)

การยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรมและจริยธรรม (Integrity)

คำจำกัดความ : การดำรงตนและประพฤติอย่างถูกต้องเหมาะสมทั้งตามกฎหมาย คุณธรรม จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพและจรรยาข้าราชการเพื่อรักษาศักดิ์ศรีแห่งความเป็นข้าราชการ

(พฤติกรรมที่วัดแบ่งได้เป็นระดับที่ 0 - 5)

การทำงานเป็นทีม (Teamwork)

คำจำกัดความ : ความตั้งใจที่จะทำงานร่วมกับผู้อื่น เป็นส่วนหนึ่งของทีม หน่วยงานหรือส่วนราชการ โดยผู้ปฏิบัติมีฐานะเป็นสมาชิก ไม่จำเป็นต้องมีฐานะหัวหน้าทีม รวมทั้งความสามารถในการสร้างและรักษาสัมพันธภาพกับสมาชิกในทีม

(พฤติกรรมที่วัดแบ่งได้เป็นระดับที่ 0 - 5)

สำหรับสมรรถนะทางการบริหาร + สมรรถนะเฉพาะตามลักษณะงานที่ปฏิบัติ ผู้เขียนจะนำมาแจ้งให้ทราบในตอนต่อไปค่ะ...

จากที่ผู้เขียนได้ผ่านประสบการณ์ด้านการทำงานบุคคลมาตลอดจึงทำให้สังเกตเห็นว่า... สมรรถนะหลักที่รัฐได้นำมาเป็นแนวทางให้ข้าราชการ + เจ้าหน้าที่ของรัฐ ได้ปฏิบัตินี้...ในความเป็นจริง...เมื่อก่อนหน้านี้...พวกเราก็ได้ดำเนินการอยู่แล้ว...เพียงแต่ยังไม่เป็นรูปธรรม...แต่ในครั้งนี้...จากที่ผู้เขียนได้ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสมรรถนะที่รัฐได้กำหนดนั้น...จะทำให้เห็นความเป็นรูปธรรมมากขึ้น...แต่อาจจะทำให้ผู้ถูกประเมินต้องหาหลักฐานแสดงความมีสมรรถนะ...(เรียกว่าต้องเก็บร่องรอยของพฤติกรรมของตนเองไว้ประกอบ)...จึงจะเรียกว่าเป็นรูปธรรมอย่างแท้จริง...บางส่วนราชการอาจทำในลักษณะเป็นโปรแกรมสำเร็จรูปให้กับบุคลากรก็ได้ + พร้อมทั้งแนบหลักฐานร่องรอยของพฤติกรรมประกอบ...

เห็นไหมค่ะว่า...ความรู้ + สมรรถนะ + ทักษะ ข้างต้น...จะเป็นตัวนำพาข้าราชการ + เจ้าหน้าที่ของรัฐ...ไปสู่สากลค่ะ...(ตามยุทธศาสตร์ การพัฒนาระบบราชการไทย พ.ศ. 2551 - 2555 ค่ะ)...

"เรียกว่า เป็นเครื่องมือของยุทธศาสตร์ การพัฒนาฯ ก็ว่าได้ค่ะ"...

แต่อย่าลืม!...ว่า ส่วนราชการต้องปฏิบัติอย่างจริงจังค่ะ...

จึงจะทำให้เห็นผล...มิใช่ทำเหมือนแบบเดิม...อย่างไรก็ได้...

ไม่เข้มข้น + ไม่ถอดใจเสียก่อน...บอกได้เลยว่า...

ระบบใหม่วัดเรื่องผลงานดีกว่าเดิมแน่นอนค่ะ...

"ขึ้นอยู่กับ ผู้นำ + ผู้ปฏิบัติ ร่วมกันอย่างจริงจัง"...

ต้องการเห็น... "คน" มีความสำคัญที่สุดใน 4 M อย่างจริงจัง

เสียทีค่ะ...ไม่ต้องการเห็นตามที่ทฤษฎีหรือนักวิชาการบอก...

ต้องการเห็นผลการปฏิบัติมากกว่า...

ประเทศไทยจะได้พัฒนาขึ้นไปกว่าปัจจุบันค่ะ...

(ขึ้นอยู่กับส่วนราชการว่าจะปฏิบัติได้หรือไม่...คอยติดตามต่อไปค่ะ)

ถ้าปฏิบัติกันอย่างแท้จริงแล้ว...ในอนาคตคงเห็นผลงานของคนที่มี

คุณภาพ...คล้ายกับ เรื่อง "ยีราฟคอสั้น กับยีราฟคอยาว" นะค่ะ...

หมายเลขบันทึก: 374520เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2010 09:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 เมษายน 2016 16:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท