โสภณ เปียสนิท
นาย โสภณ เปียสนิท ตึ๋ง เปียสนิท

19.งดเว้นจากบาป


“ทราบข่าวว่าอาจารย์บังคับให้นักศึกษาสวดมนต์ใช่หรือไม่”

งดเว้นจากบาป

โสภณ เปียสนิท

...........................    

                   “ทราบข่าวว่าอาจารย์บังคับให้นักศึกษาสวดมนต์ใช่หรือไม่” ประธานกรรมการสืบหาข้อเท็จจริงถามอาจารย์สุภา อาจารย์ใหม่ภาควิชาภาษาอังกฤษ “เปล่าค่ะ แต่ให้เป็นคะแนนความประพฤติ 5 คะแนนถ้าสวดมนต์ตามบทที่กำหนดได้” ประธานถามต่อ “อ้าว แล้วการสวดมนต์เกี่ยวข้องกับการสอนวิชาภาษาอังกฤษตรงไหน” กรรมการผู้หญิง วุฒิปริญญาโทจากออสเตรเลียกล่าวเสริม “นั่นซี ไม่เห็นเกี่ยวข้องกับรายวิชาตรงไหน” กรรมการหญิงอีกคนจบปริญญาเอกจากอเมริกากล่าวอย่างมั่นใจ “ดิฉันตรวจสอบจากคอร์สเอาต์ไลน์แล้วไม่พบข้อกำหนดเกี่ยวกับการสวดมนต์ใดๆเลย สอนนอกหลักสูตร”

                     อาจารย์สุภากล่าวแทรกขึ้นว่า “ขออนุญาตชี้แจงหน่อยได้ไหมคะ” กรรมการหญิงสองคนแย่งกันกล่าวว่า “อย่างนี้ถือว่าสอนผิดแน่นอน” ประธานพูดอย่างให้ความกรุณา “ให้โอกาสคุณสุภาชี้แจงสักหน่อยนะ” กรรมการหญิงผู้ทรงคุณวุฒิดีกรีจากต่างประเทศยิ้มอย่างสมเพชในแนวคิดของอาจารย์สุภา “คือ...” อาจารย์ผู้สอนภาษาอังกฤษเรียบเรียงความคิดให้เป็นระบบก่อนการชี้แจงครั้งสำคัญ เธออาจโชคดีหากพระรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์ดลบันดาลให้คณะกรรมการเห็นด้วยกับแนวคิดของเธอ หรืออาจโชคร้ายหากคณะกรรมการเห็นว่า การสอนให้นักศึกษาสวดมนต์เป็นความผิดพลาด เธอต้องถูกลงโทษ

                    สุภากล่าวอธิบายว่า “ใจของคนเหมือนถ้วยหรือแก้ว ความรู้เหมือนน้ำ ครูเหมือนคนเทน้ำ อุปกรณ์การสอนเหมือนเครื่องอำนวยความสะดวก” อาจารย์หญิงทำหน้าเอือมระอา “แล้วมันเกี่ยวอะไรกับการสวดมนต์” เธอแสดงภูมิรู้อันสูงส่ง อาจารย์สุภากล่าวต่อ “ก่อนแต่งตัวทาแป้งเราต้องอาบน้ำก่อน ก่อนศึกษาเล่าเรียนควรปรับใจให้พร้อม” “แล้วยังไง”

                     อาจารย์หญิงปริญญาเอกแสดงอาการรำคาญเต็มที่ “หากถ้วยแก้วมีน้ำเสียเต็มแล้ว หรือ รั่วชำรุด ผู้สอนควรเติมความรู้คือน้ำใหม่ทันทีหรือควรจะปรับปรุงถ้วยแก้วให้มีความพร้อมแล้วค่อยเติมน้ำ และที่สำคัญเรื่องแบบนี้ควรบอกให้นักศึกษาเข้าใจด้วยหรือไม่” ประธานฯ เริ่มมองตามที่อาจารย์สาวกล่าว แต่ยังถือทิฐิ “แต่มันไม่มีในหลักสูตร” อาจารย์สาวทำหน้าเศร้ากล่าวว่า “ใช่ ไม่มีในหลักสูตร แต่เราก็เพิ่มให้เขาได้ เพราะเป็นสิ่งจำเป็น” อาจารย์หญิงปริญญาต่างประเทศทั้งสองแสดงความเห็นแย้งอย่างเต็มที่ สุดท้ายอาจารย์สุภาถูกตักเตือนและห้ามให้นักศึกษาสวดมนต์อีก เป็นอันว่า ผู้บริหารการศึกษามองว่า การสอนเสริมหลักการทางพุทธศาสนาในระบบการศึกษาเป็นความผิดพลาด

                    เมื่อทราบผลการสอบข้อเท็จจริงอาจารย์สุภารู้สึกผิดหวัง เธอเชื่อมั่นในหลักการทางพระศาสนา เพราะพ่อแม่สอนให้ปฏิบัติตั้งแต่เล็ก “เว้นจากบาป ทำบุญ ทำใจให้บริสุทธิ์” ชีวิตการเป็นครูอาจารย์เธอเคยมีหวังว่าจะมีโอกาสสั่งสอนให้นักศึกษาดำเนินชีวิตตามหลักการนี้ด้วย จิตที่มีคุณธรรมนั้นอ่อนโยนพร้อมรองรับการศึกษา จิตที่ไร้คุณธรรมเหมือนถ้วยแก้วรั่วชำรุดไม่พร้อมรองรับความรู้ หลังจากการสอบข้อเท็จจริงประธานฯ เคยมาแสดงความเห็นใจเธอสองสามครั้ง แต่ที่จำเป็นต้องตัดสินเช่นนั้นเพราะเป็นความเห็นของกรรมการเสียงข้างมาก เธอได้โอกาสคุยกับท่านประธานฯ อย่างเป็นกันเอง

                    ประธานเริ่มต้นถามอย่างเป็นกันเอง “เหตุใดเธอจึงเน้นเรื่องการสวดมนต์” เธอยิ้มผ่อนคลาย “การสวดมนต์ทำให้จิตนิ่งสงบ เหมือนปรับถ้วยแก้วให้พร้อมสำหรับรองรับน้ำ สวดมนต์บ่อย สวดมาก สวดประจำทำให้ปัญญาดี ความจำดี” “พระสอนไว้หรือ” “ใช่สิคะ พระสอนไว้ เรื่องแบบดิฉันไม่กล้าพูดเองหรอก” “ฉันแก่แล้วไม่ค่อยรู้หลักธรรมมีหลักการง่ายๆไหม” “พระสอนไว้สามหลัก เว้นบาป ทำบุญ ทำใจให้บริสุทธิ์ แค่นี้เองจำง่าย” “โอ้...เหมือนง่าย แต่คงต้องขยายความกันนาน”

                    สุภานิ่งคิดหาทางอธิบายให้ง่ายที่สุด “เว้นบาปคือพยายามถือศีล 5 เป็นเบื้องต้น” “โอ้โห แค่นี้ก็แสนยากแล้ว” “ถือแบบง่ายก่อนซิค่ะ” “ถือง่ายๆ อย่างไร” “พระสอนว่าให้ถือเป็นช่วงเวลา” “เช่นหากหาเวลาอื่นไม่ได้ก็สมาทานรักษาศีลก่อนนอนว่า “ข้าพเจ้าขอตั้งใจรักษาศีล5 คือ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ผิดในกาม ไม่พูดเท็จ ไม่ดื่มเหล้า ตั้งแต่เวลานี้จนถึงเวลา 8.00 น. วันพรุ่งนี้” ทำได้แค่นี้ถือว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดี” ประธานยิ้ม “เออ อย่างนี้ค่อยง่ายหน่อย รักษาศีลตอนนอนหลับ แต่ว่ามันจะได้บุญหรือ” อาจารย์สุภาอธิบายช้าๆ “พระสอนให้เริ่มง่ายๆแบบนี้” “เรียกว่าหาวิธีถือศีลให้ได้” “ใช่” “ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับตนเอง” “บางคนเริ่มถือศีลที่ละข้อ สองข้อก็ได้”

                    ประธานแสดงสีหน้าครุ่นคิด “มีแง่คิดเรื่องการเว้นบาปอีกหรือไม่” “พระสอนว่าบาปมาจากกิเลส กำจัดบาปคือต้องกำจัดกิเลส “บาปย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ทำบาป” “ทำบาปเองย่อมเศร้าหมองเอง” “ใครไม่ทำบาปคนผู้นั้นบริสุทธิ์” “บาปคือทุกข์ใช่ไหม” “ใช่ บาปคือทุกข์ บาปทำให้ใจของผู้กระทำเสียคุณภาพ ขุ่นมัวเศร้าหมอง รับทุกข์ทรมาน” ประธานถามว่า “เมื่อสักครู่ว่าบาปคือกิเลส” “ใช่ งดเว้นบาปคือ งดเว้นจากกิเลส” “งดเว้นอย่างไร” “ต้องเว้นจากโลภะ คือความโลภ ต้องกำจัดด้วยการทำทาน โทสะ ต้องกำจัดด้วยเมตตา โมหะ ความหลง ต้องกำจัดด้วยภาวนา”

                    “ถ้าจะถามง่ายๆ ว่า เหตุใดต้องเว้นบาปกำจัดกิเลส จะตอบว่าอย่างไร” ประธานแสดงความอยากรู้หลักการ อาจารย์สุภานิ่งคิด แล้วตอบแบบสบายๆ “ของเสียเน่าบูดแตกหักบิ่นชำรุดเรายังต้องซ่อมแซมปรับปรุงแก้ไข จิตก็เช่นกัน เศร้า หมอง ขุ่น โกรธ พยาบาท อาฆาต แค้น โลภ หมกมุ่น วุ่นวาย ขัดข้อง อยากได้ อยากเด่น ต่ำทราม เหลวไหล เรียกว่า บาป เราต้องปรับปรุงแก้ไขก่อนที่มันจะครอบงำเรา”

                    ประธานแสดงความสงสัย “บาปในศาสนาอื่น กับบาปในศาสนาพุทธต่างกัน” “ข้อนี้จริง บาปในศาสนาที่มีพระเจ้า เกิดจากการผิดคำสั่งสอนของพระผู้เป็นเจ้า สืบทอดสู่ลูกหลานได้โดยสายเลือดจากบรรพบุรุษ” “เออ นี่ไงข้อแตกต่าง” “ยังมีอีก บาปของศาสนาอื่นไถ่บาปได้ บาปของพุทธศาสนาไถ่บาปไม่ได้ ตัดกรรม แก้กรรมไม่ได้ แต่บรรเทาเบาบางได้ ด้วยการทำบุญ ตามคำสอนในพระสูตรเรื่องเกลือ” “เอ เรื่องเกลือคือย่างไร ผมไม่เห็นรู้เรื่องเลย” “ท่านสอนว่า น้ำหนึ่งแก้ว ใส่เกลือหนึ่งกำ น้ำเค็ม คือบาปให้ผล น้ำหนึ่งขัน ใส่เกลือหนึ่งกำ น้ำกร่อย แสดงว่าบาปให้ผลน้อยลง น้ำหนึ่งแท็งค์ ใส่เกลือหนึ่งกำ น้ำจืดสนิท บาปไม่ให้ผล ถึงขั้นตอนนี้ถามว่า เกลือหมดไปแล้วหรือยัง ตอบว่ายังอยู่ รอวันที่น้ำระเหยหมดไป ความเค็มย่อมปรากฏอีกได้” “ผมพอเข้าใจคำว่า ตัดกรรม แก้กรรมขึ้นมาบ้างแล้ว”

                      ประธานถามอย่างดวงตาเห็นธรรม “ทำอย่างไรจึงกล่าวได้ว่าดำรงชีวิตอย่างฉลาด” “ก็หลัก 3 อย่างที่พระสอนไว้นั่นเอง ต้องเว้นบาปทำบุญให้มากเข้าไว้ เหมือนเติมน้ำให้มากที่สุด บาปย่อมไม่มีโอกาสให้ผล” “เว้นจากบาปนั้น ผมเห็นว่าทำได้ยาก เพราะบางคนไม่รู้ บางคนไม่ระวัง” “ยากเพราะขาดสำนึก ต้องฝึกให้มีเทวะธรรมคือ ต้องมี หิริและโอตตัปปะประกอบด้วย” “คืออะไร รู้สึกว่าเป็นคำวัดมากจนผมไม่ค่อยจะรู้จัก” “เทวะธรรม คือคุณธรรมที่ทำให้เป็นเทวดา ใครทำได้จิตใจจะพัฒนาเทียบชั้นกับจิตของเทวดา” “แล้วอะไรนะ หิริ โอตตัปปะ” “หิริ รู้สึกละอายใจเมื่อทำบาป โอตตัปปะ รู้สึกเกรงกลัวผลของบาป”

                     ประธานกรรมการมีสีหน้าครุ่นคิด “ผมพอเข้าใจอาจารย์มากขึ้นในเรื่องการให้คะแนนพฤติกรรมแก่นักศึกษา 5 คะแนน” “เข้าใจอย่างไรค่ะ” อาจารย์สุภาถามอย่างรวดเร็ว “เพราะอาจารย์เชื่อว่าจิตของนักศึกษาควรได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้น” “ข้อนี้ถูกต้องแล้วค่ะ” “อาจารย์อยากให้นักศึกษาเป็นคนเก่งด้วย และเป็นคนดีด้วย” “ข้อนี้ก็ถูกอีกค่ะ” ประธานยิ้มอย่างภูมิใจที่ความคิดของตนได้รับการยอมรับ “แล้วอาจารย์มีเหตุผลอย่างอื่นอีกหรือไม่” “มีค่ะ การทำบาปทำได้ง่ายเหมือนเดินตามน้ำ การทำดีทำได้ยากเหมือนเดินทวนน้ำ สถานศึกษาทุกระดับต้องให้ความรู้แก่เยาวชนทั้งสองด้าน” “เรียกว่าต้องรับผิดชอบ” “ตัวอย่างมีให้เห็นมากมาย เยาวชนคนเก่งกลายเป็นคนโกง ที่สำคัญคนเก่งโกงได้แนบเนียน โกงได้มากกว่าคนไม่เก่งด้วยซ้ำ”

                       ประธานมีสีหน้าเข้าใจ “เอ...ผมชักเห็นด้วยกับอาจารย์มากยิ่งขึ้น” “ทุกวันนี้คนเก่งแต่โกงมีมากมายจนบ้านเมืองจะพังอยู่แล้ว เพราะการศึกษามุ่งเน้นความเป็นเลิศทางวิชาการมานานหลายทศวรรษ ดิฉันเห็นว่าควรกลับมามุ่งเน้นสร้างคนดีจะถูกต้องกว่า” “ถูกต้องกว่าอย่างไร” “เป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ โรงเรียนสัตยาไส ที่ลพบุรี ของ ดร. อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา ท่านทำให้ดูแล้ว ได้ผลจริง ประเทศเวียตนามสร้างหลักสูตรปราบคนโกงตั้งแต่ระดับมัธยมจนถึงระดับมหาวิทยาลัย สนองความต้องการของประเทศแล้ว”

                พูดเสร็จอาจารย์สุภาพนมมือไหว้ประธานคณะกรรมการกล่าวคำลาอย่างนอบน้อม แล้วเดินออกจากห้องไปอย่างเงียบๆ ทิ้งประธานให้อยู่กับความคิดคำนึงอันหน่วงหนัก

หมายเลขบันทึก: 374153เขียนเมื่อ 12 กรกฎาคม 2010 00:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มีนาคม 2012 10:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (27)

สวัสดีค่ะ

     มาชวนไปเยี่ยมบันทึกที่พี่น้องGTKได้เจอกันค่ะที่นี่นะคะ...http://gotoknow.org/blog/0815444794/373325

                                                             มาตายี

 

  • สวัสดีครับท่านอาจารย์โสภณ
  • อ่านบันทึกแล้วสะท้อนถึงระบบการศึกษาของประเทศเราครับ โดยเฉพาะคุณครูที่มีดีกรีวุฒิปริญญาสูงๆ มักมองแต่เรื่องหลักสูตรทางวิชาการ และคนกลุ่มนี้ก็มักจะเป็นกรรมการหลักสูตรต่างๆ ด้วย มีน้อยคนที่มีแนวคิดแบบอาจารย์สุภา ประเทศเราถึงมีแต่คนเก่ง แต่คนที่ดี มีคุณธรรม หาได้ไม่มากนัก เช่น ถ้าเราถามว่าผู้หลักผู้ใหญ่บ้านเราใครบ้างที่เป็นคนเก่ง เราตอบได้อย่างรวดเร็วและมากมาย แต่ถ้าถามว่าผู้หลักผู้ใหญ่บ้านเราใครบ้างที่เป็นคนดี มีศีลธรรม อาจต้องคิดนาน บางครั้งอาจจะตอบได้ไม่เต็มปากนัก และนับคนได้
  • ตอนผมเรียนมัธยมมีอาจารย์ที่สอนวิชาคณิตศาสตร์ท่านหนึ่ง ก่อนเริ่มเข้าเนื้อหาในบทเรียน อาจารย์มักจะเอาเรื่องราวต่าง ๆ ในชีวิตมาพูด มาสอนเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินชีวิต เมื่อผมจบมา วิชาคณิตศาสตร์แทบจะไม่ได้ใช้ แต่สิ่งที่อาจารย์สอนเรื่องการดำเนินชีวิต ผมยังจำได้และนำมาใช้ทุกวันนี้ครับ
  • บางครั้งอาจถึงเวลาที่อาจต้องมีการปรับปรุงระบบการสอนของบ้านเราครับ ปัญหาคือผู้บริหารที่มีอำนาจจะมีวิสัยทัศน์ในเรื่องนี้หรือไม่

ผมรอดแล้ว ผมสอนนอกบทเรียน สอนเรื่องศีลธรรมในวิชาภาษาอังกฤษด้วย สอนมนุษย์ไม่ได้สอนหนังสืออย่างเดียวครับ

มาชม

เป็นเรื่องเล่าดีจังนะครับผม...

เรียนคุณมาตายี (ชื่อเหมือนพม่าเลยนิ)

ไปเยี่ยมชมมาแล้วแต่ยังไม่แสดงความคิดเห็นครับผม

สำหรับคุณชำนาญ

ขอเพิ่มเติมแนวคิดครับ

ส่วนประกอบของการศึกษา 4 factors

ความรู้ knowledge มีพอควร

ผู้ให้ความรู้ lecturer มีความรู้ด้านวิชาการพอควร ไปถึงมาก พร้อมสุตมยปัญญา จินตมยปัญญา แต่ขาดภาวนามยปัญญา

วิธีการให้ความรู้ medhodology มีพอควร

ที่รองรับความรู้ learner ไม่ค่อยได้รับการพัฒนา ไม่เอาใจใส่

เหมือนอะไร

เหมือน1. ครู+เทน้ำคือความรู้+ใส่ถ้วยคือนักศึกษา+โดยวิธีการต่างๆ

แนวคิดปัจจุบัน คือเทใส่ความรู้เข้าไป ถ้วยจะเอียง ตะแคง คว่ำ หรือรั่ว ไม่มีใครให้ความสำคัญ

เอาพอเห็นแนวคิดนะครับ

ไชโยมีพวกเเล้ว อ.ขจิตเห็นนี้ด้วย

ส่วนท่านอาจาย์ ยูมิ (ชื่อเหมือนญี่ปุ่นเลย)

มาเป็นกำลังใจให้เสมอเลยนะครับ

  • นักศึกษาอะไรครับ
  • งง งง
  • วันนี้วันจันทร์ที่ 12 กค. 53 สอนนักศึกษากจอ.
  • เอามาจากจากท่ามะกาวิทยาคม

กจอ. การจัดการอุตสาหกรรม ครับท่านอาจารย์

ส่วนนักศึกษาของท่านอาจารย์จากท่ามะกากำลังเรียนอะไรกันครับ วิจัยหรือภาษาอังกฤษครับ

เรียนท่านอาจารย์ที่นับถือ

   เรื่องนี้มีแง่คิดอยู่ในตัวนะคะ แล้วแต่ใครจะคิดได้ค่ะ

เรียนคุณยาย

ดีใจที่คุณยายตามมาอ่านถึงนี่เลย

สวัสดีค่ะท่านอาจารย์โสภณ

อ่านบันทึกของท่านอาจารย์แล้วมีประโยชน์มากเลยค่ะ ในฐานะที่ตอนนี้ดิฉันเป็นนักศึกษาฝึกสอนอยู่ การจัดระบบการศึกษาแบบบูร

ณาการโดยไม่เน้นในบทเรียนมากนักช่วยเสริมความรู้ให้แก่นักเรียนได้ดีเลยค่ะ กลับก่อนนะค่ะ ว่างๆๆหนูจะแวะเยี่ยมใหม่

ด้วยความเคารพค่ะ

เรียนน้องภัทรีพร

(เรียกว่าน้องดูเท่หน่อย)

วันข้างหน้าอีกยาวไกล อ่านหนังสือเข้าไว้ ทำงานหนักเข้าไว้ เรียนหนักเข้าไว้ ด้วยใจรักนะ

ที่เหลือชีวิตมันก้าวเดินไปเอง

สวัสดีค่ะท่านอาจารย์โสภณ

ขอบคุณท่านอาจารย์ที่ชี้แนะค่ะ

หนูจะนำข้อคิดดีๆๆจากท่านอาจารย์ไปปฏิบัตินะค่ะ

ด้วยความเคารพ ขอบคุณค่ะ

ถ้าดีมาก่อน เก่งก็จะตามมา และมีความสุขในตอนท้าย นะคะ

จริงครับครูอิ๊ด

เรื่องการพัฒนาปัญญานั้น ผมยืนยันได้ สมัยก่อน เหมือนว่าเรื่องการศึกษาของกระผม ไม่ค่อยจะกระดิกเท่าใด

หลังจากทำความดี สวดมนต์ นั่งสมาธิเป็นประจำ วันละนิดวันละหน่อย 30 กว่าปี เอ....ดูเหมือนว่าจะฉลาดขึ้นเล็กน้อย พระท่านสอนว่า สวดมนต์ภาวนาทำให้ปัญญาดีครับ ชาวพุทธเชื่อหรือไม่?

จริงร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะจากความดีที่ทำเดี๋ยวนี้แม่ค้าที่ตลาดรู้จักครูอิ๊ดเกือบหมดแล้วค่ะ

อ้าว อย่างไร คงต้องอธิบายแล้วครับว่า ทำความดี แล้วชาวบ้านร้านตลาดจึงรู้จักครูอิ๊ด อธิบายความสัมพันธ์กันหน่อย

เรียน ท่านอาจารย์เข้าเยี่ยม บล็อก ซื่อกินไม่หมดนะคะ

อ้าว แล้วกัน เราไปเสียก่อน เลยต้องกลับไปใหม่อีกครั้งหนึ่งซินี่

  • แวะมาทักทายยามดึกครับท่านอาจารย์
  • ราตรีสวัสดิ์ครับ

ง่วงแล้วคะ ขอแวบไปหากาแฟก่อนนะคะ คืนนี้คงส่งอาจารย์แค่นี้ ตรวจงานเด็กยังไม่เสร็จเลย

เรียนคุณกิตติพัฒน์

ดอกไม้สวยจังครับ

ดูเหมือนว่าแต่ละคน ทำงานกันดึกนะ หรือเล่นเน็ทดึก ยังไม่แน่ใจ หรือว่า ทั้งเล่นทั้งทำงาน

  • เข้ามาอ่านบันทึกนี้ ท่านอาจารย์ของเรา เหมือนท่านประธานในเนื้อเรื่องเลย กำลังสอบสวนบรรดาท่านอาจารย์ที่เผลอเข้ามาบันทึกนี้ 
  • สงสัยพยาบาลคงต้องถอยไปนอกห้องเสียก่อนแล้วนี่......เพราะกลัวโดนสอบ
  • ก่อนไปขอมอบดอกไม้ไว้ให้ท่านประธานทีนะคุณยาย

เรียนคุณอุ้มบุญครับ

เพื่อเพิ่มอรรถรสในการอ่าน เปลี่ยนความรู้สึก ปรากฏว่าในความเป็นจริง ตามสมมติที่เขียนขึ้น "สุภา" คือโสภณนั่นเอง เพียงแต่เลี่ยงให้พ้นๆ ตัวเองไปหน่อยเท่านั้น

  • ขอเป็นกาแฟครึ่งถ้วยค่ะอาจารย์
  • จะได้เติมเต็มได้
  • น้อมรับด้วยความยินดีค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท