แนวคิดภาวะผู้นำแบบควันตัม


ภาวะผู้นำเป็นสิ่งที่อยู่ในตัวของแต่ละบุคคล

แนวคิดภาวะผู้นำแบบควันตัม                                                                                                                                                                   

  รองศาสตราจารย์สุเทพ  พงศ์ศรีวัฒน์*

        ยังไม่มีนิยามที่ชัดเจนของคำว่า ภาวะผู้นำแบบควันตัม หรือ  Quantum leadership  แต่สามารถทำความเข้าใจได้ด้วยวิธีอธิบายความ โดยคำว่า Quantum leadership หรือ ภาวะผู้นำแบบควันตัม  นั้น มาจากมุมมองที่อุปมาเปรียบเทียบกับทฤษฎีทางฟิสิกส์สมัยใหม่คือ หลักวิชา Quantum Physics ที่อธิบายเรื่อง แสง (light)  ว่ามีคุณสมบัติเป็นได้ทั้ง สสารและพลังงาน  (Light is a particle and a wave)  ซึ่งต่างไปจากวิชาฟิสิกส์แบบเก่า(Newtonian Physics) ซึ่งเชื่อว่า แสงเป็นสิ่งที่เราสามารถมองเห็นและสังเกตได้โดยตรง ทำนองเดียวกับที่เราเชื่อว่า ภาวะผู้นำเป็นสิ่งที่อยู่ในตัวของแต่ละบุคคล (Leadership is in the individual)  แล้วก่อให้เกิดการกระทำที่ส่งผลต่อสิ่งต่างๆรอบตัวเรา ซึ่งเราสามารถที่จะสังเกตและมองเห็นได้และเป็นภาวะผู้นำแบบปัจเจกบุคคล(Individual leadership)  ส่วนแนวคิดของ ภาวะผู้นำแบบควันตัม (Quantum leadership)  มีฐานความเชื่อสำคัญที่ต่างไปจากเดิมก็คือ เชื่อว่า “ภาวะผู้นำเป็นสิ่งที่อยูในตัวของแต่ละบุคคล (Leadership is in the individual)  และ ภาวะผู้นำเป็นสิ่งที่อยู่ในชุมชน (Leadership is in the community) ด้วย”  ซึ่งเป็นภาวะผู้นำแบบยึดชุมชนเป็นฐาน(Community-based leadership) เพียงแต่ว่า ภาวะผู้นำที่อยู่ในชุมชนนั้นเป็นสิ่งที่ยากที่จะมองเห็นได้โดยตรง จำเป็นต้องใช้การสรุปลงความเห็นจากปรากฏการณ์หรือบริบทต่างๆที่เกิดขึ้นจริงในชุมชนนั้นเป็นสำคัญ  มุมมองใหม่ในการมองภาวะผู้นำเช่นนี้ มีความสำคัญยิ่งต่อการเป็นนักพัฒนาทางสังคมที่มีประสิทธิผล  ที่ต้องทำงานร่วมกับประชาชนในชุมชนเพื่อมุ่งหวังก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ดีขึ้น

แนวคิด ภาวะผู้นำแบบควันตัม(Quantum leadership)  สามารถประยุกต์ใช้ในองค์การที่เป็นแบบทางการ(Formal organization) ได้เช่นกัน โดยยึดหลักการของวิชาควันตัมฟิสิกส์เป็นหลักอุปมาเปรียบเทียบเช่นกัน  จึงทำให้บทบาทของผู้นำต้องเปลี่ยนแปลงไปจากการเป็นผู้กำกับสั่งการ(Directing) ไปเป็นผู้สร้างสรรค์บรรยากาศที่เอื้อให้ผู้ร่วมงานมีส่วนร่วมและมีอิสระในการปฏิบัติงานได้ด้วยตนเอง  ส่งผลให้องค์การนั้นสามารถปรับเปลี่ยนไปสู่การเป็นองค์การที่ขับเคลื่อนตนเองได้ (Self-organization) ในประเด็นนี้  บทบาทของ ผู้นำแบบควันตัม (Quantum leaders) จะ ต้องทำให้วิสัยทัศน์ร่วม(Shared vision) เกิดความชัดเจน  ส่งเสริมและพัฒนาความเป็นผู้นำตนเอง


 

 

 

หมายเลขบันทึก: 374090เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2010 20:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤษภาคม 2012 16:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท