โสภณ เปียสนิท
นาย โสภณ เปียสนิท ตึ๋ง เปียสนิท

หลักธรรมคำคม18


ชีวิตของคนก็เป็นเช่นนี้ การรอคือความหวัง มีความหวังทำให้การดำรงชีวิตอยู่มีคุณค่า
หลักธรรมคำคมข้อคิดชีวิตรักจากแดจังกึม 18
โสภณ เปียสนิท
........................................
“หลังจังกึมจากไป ทั้งหัวหอม ทั้งใบหอมในแปลงผักต่างพากันสั่นไหวตามสายลมที่พัดมา ตนเองก็ถูกทอดทิ้งมิต่างจากหัวหอมใบหอมเหล่านี้ แต่ด้วยยังหวังว่าอาจได้เห็นจังกึมอีก จึงไม่อาจจากไปได้” (แดจังกึม/หน้า139ล่ม3)

 

                “ความรักทำให้คนตาบอด” คำคมนี้เป็นจริงเสมอ สำหรับปุถุชน มากบ้างน้อยบ้างต่างกันไป จองโฮแม้เห็นจังกึมจากไป ยังมีความหวังว่าเธออาจกลับมาจึงเฝ้ารอ ชีวิตของคนก็เป็นเช่นนี้ การรอคือความหวัง มีความหวังทำให้การดำรงชีวิตอยู่มีคุณค่า
มนุษย์นั้นสูดดื่มพลังฟ้าผ่านจมูกรับพลังดินผ่านอาหารเข้าทางปาก รับเข้ามาเปลี่ยนเพื่อก่อกำเนิดพลังชีวิต จิตใจนั้นเป็นธาตุหยาง(แดจังกึม/หน้า142ล่ม3)

 

                การดำรงชีวิตของคนเกี่ยวข้องกับธรรมชาติ โดยรับธาตุดินน้ำลมไฟจากธรรมชาติมาเป็นส่วนหนึ่งของตน แล้วถ่ายเทธาตุเหล่านั้นกลับคืนสู่ธรรมชาติ จิตใจของคนกลั่นธาตุเหล่านั้นให้ดีขึ้น หรือด้อยคุณภาพลง ถ้าคิด พูด ทำในทางดี ช่วยกลั่นธาตุให้ดีขึ้น โลกก็ร่มเย็นมีสุขขึ้น ถ้าคิดพูดทำในทางไม่ดี กลั่นธาตุธรรมให้หยาบขึ้น โลกก็ร้อนมีทุกข์โทษภัยพิบัติต่างๆมากขึ้น
“ได้ยินท่านแพทย์บอกว่า ยานั้นอยู่ที่หัวใจ หัวใจของผู้เทียบยา หัวใจของผู้ต้มยา และหัวใจของผู้ทานยา หากตัวใจของคนทั้งสามมิได้หลอมหลอมรวมกัน ต่อให้เป็น โอสถสวรรค์ก็ไม่มีประโยชน์ ...” (แดจังกึม/หน้า152ล่ม3)

 

                เนื้อความนี้ให้ความสำคัญจิตใจมาก เปรียบได้กับหลักธรรมของพระพุทธศาสนาที่ว่า “ทุกอย่างนั้นมีใจนำหน้า ใจประเสริฐที่สุด สำเร็จด้วยใจ...” การรักษาใจให้ดี มีส่วนช่วยทั้งตนเองและผู้อื่น หน้าที่ของคนที่เกิดมาในโลกนี้คือ การรักษาใจของตน แล้วคุณผู้อ่านรักษาใจของท่านอย่างไร
“จงลบความอาฆาตแค้นที่กำลังรบกวนจิตใจของเจ้าอยู่” (แดจังกึม/หน้า159ล่ม3)

 

                “หลักธรรมมีอยู่ว่า “ฆ่าความโกรธได้อยู่เป็นสุข” ฆ่าความโกรธไม่ได้ใจก็เป็นทุกข์ การรักษาใจของเรา คือการไม่ให้ความโกรธเกิดขึ้น หรือถ้าเผลอโกรธแล้วก็รีบฆ่าเสีย ละเสียไม่ให้อยู่ในใจ อย่าสนับสนุน ส่งเสริมเติมต่อให้ไฟความโกรธเผารนจิตใจ ไม่อย่างนั้นถือว่า ท่านไม่รักษาจิตของตัวเอง ฝึกตัวเองให้โกรธมากเข้า ๆ ที่สุดก็กลายเป็นคน “เสียจริต” เท่านั้นเอง
“แต่หากเจาใช้ความโกรธเกลียดขึ้นนำหน้า มิต้องเอ่ยถึงจับคนเหล่านั้นมีแต่เจ้าต่างหากที่ถูกจับไปก่อน” (แดจังกึม/หน้า159ล่ม3)

 

                จิตใจที่หมกมุ่นอยู่กับความโกรธแค้น คือสาเหตุแห่งการทำสิ่งผิดได้มากมาย จังกึมค่อย ๆ เรียนรู้สิ่งนี้จากประสบการณ์และคนรอบตัวที่เป็นคนดี ทำให้ขัดเกลาตนเองสงบระงับได้ในระดับหนึ่ง ทำให้คุณภาพของจิตดี มีประสิทธิภาพ ส่งเสริมให้การศึกษาของจังกึมก้าวหน้าไปในทางที่ถูกต้อง
“การเกลียดผู้ที่ควรโกรธเกลียดนั้นเป็นวิถีปุถุชน แต่หากต้องการเป็นสุดยอดแพทย์หญิง จำต้องผ่านด่านนี้ให้ได้ถูกต้อง ครานี้จงเปลี่ยนเป็นเซียนเทพ” (แดจังกึม/หน้า159ล่ม3)

 

                ข้อความนี้ สอนผู้อ่านให้รู้จักลดละความโกรธ ตามแนวทางของจังกึม บุคคลที่พัฒนาตัวเองจากชนชั้นไพร่ก้าวสู่บุคคลชั้นขุนนางสูงสุดแห่งวังหลวงได้ เกิดเป็นคนหนึ่งชาติ ได้ศึกษาทางวิชาการได้สูงสุด ศึกษาทางธรรมคือ เรื่องราวของการกล่อมเกลาจิตใจของตน ให้ลดละเลิก “โลภ โกรธ หลง” ให้บรรเทาเบาบางลงทีละน้อยระหว่างการก้าวเดินของชีวิต ถือว่า ชีวิตของจังกึม เป็นแบบอย่างให้เราทุกคนได้ใคร่ครวญ
“หากมนุษย์ยึดติดกับอารมณ์เกินไป ย่อมส่งผลเปลี่ยนแปลงต่อชะตาและสุขภาพของตน หากสะสมแค้นเคืองและโกรธเกลียดไว้มาก จะเริ่มจากตับเสื่อม จึงเริ่มไปยังม้ามและกระเพาะ เนื่องเพราะโอจังยุกบู (อวัยวะสำคัญในร่างกาย) ล้วนมีชีวิตของตนเอง” (แดจังกึม/หน้า159ล่ม3)

 

                คำนี้น่าเชื่อถืออย่างยิ่ง ยึดถืออารมณ์ใดชะตาชีวิตย่อมเป็นไปตามอารมณ์นั้น ถืออารมณ์โกรธไว้ การพบปะผู้คนย่อมเสียไป จิตใจเสื่อมถอย ร่างกายทรุดโทรม นอนไม่หลับ ขาดการผักผ่อน แม้ยามหลับก็ไม่เป็นสุข โรคร้ายรุมล้อม ภูมิคุ้มกัน (immune system) บกพร่อง เปรียบง่าย ๆ เหมือนกับจุดไฟเผาตนเองตลอดเวลา แน่นอนว่า ต้องทำให้ชะตาของตนเปลี่ยนแปลงแน่นอน
“การส่งเสริมความดีกผู้อื่น ย่อมเท่ากับสร้างเสริมความดีให้แก่ตน” (แดจังกึม/หน้า159ล่ม3)

 

                คำจริงเป็นสิ่งมีค่า แม้ว่าทำได้ยาก การส่งเสริมความดีผู้อื่นเป็นเรื่องของคนดี คนดีทำความดีได้ง่าย คนดีทำความชั่วได้ยาก คนไม่ดีทำความไม่ดีได้ง่าย คนไม่ดีทำความดีได้ยาก วิธีการเป็นคนดีไม่ยาก พยายามส่งเสริมสนับสนุนความดีของผู้ที่ทำความดีไว้เสมอ บ่อยเข้า นานเข้า จะเกิดความเคยชิน และทำความดีได้ง่ายโดยไม่รู้ตัว
“การส่งเสริมความดีแก่ผู้อื่นแม้เป็นเรื่องยาก แต่ยิ่งส่งเสริมแก่ผู้ที่ควรโกรธเกลียดนั้น มิใช่ยากลำบากหรอกหรือ?” (แดจังกึม/หน้า180)

 

                การส่งเสริมความดีเป็นเรื่องยากแล้ว คนที่เราโกรธไปทำความดี เรายิ่งสิ่งเสริมความดีของเขาได้ยากขึ้นอีกชั้นหนึ่ง เหนือขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง แต่เรื่องยากมักเป็นสิ่งที่มีค่า คนเราจึงควรเร่งรัดพัฒนาตน ทำในสิ่งที่ยากให้ได้ เพื่อว่าจะได้ทำตนให้สมกับที่เกิดเป็นมนุษย์ กับเขาชาติหนึ่ง
“เพียงมองปราดเดียวจังกึมทราบทันทีว่าต้องเป็นอัจฉริยะเป็นผู้ที่โดดเด่นกว่าผู้อื่นอย่างแน่นอน” (แดจังกึม/หน้า182)

 

                จีนมีหลักแห่งการดูโหงวเฮ้ง ดูใบหน้าของคนว่าเป็นคนที่ควรแก่หน้าที่การงานอย่างใด ใครซื่อสัตย์ ใครเป็นคนโกง มีคำคมอยู่ว่า “ดวงตาเป็นหน้าต่างของดวงใจ ดวงตาเป็นเช่นไร ดวงใจเป็นเช่นนั้น” เป็นเพราะหลักการนี้ที่จังกึมมอง “อึนบี” เพื่อนหญิงร่วมรุ่นศึกษาแพทย์มาด้วยกัน เมื่อสามารถมองคนได้ทะลุถึงแก่นใจว่าเป็นคนอย่างไร ทำให้เราวางตัวเองได้ถูกต้อง
“นับแต่ฤดูที่รวงข้าวเริ่มออกดอกผล จนเปลี่ยนเป็นยามใกล้สุกงอมพร้อมเก็บเกี่ยว จังกึมได้แต่ซุกร่างในกองตำรา ไม่เพียงตำรา ไม่เพียงจองโฮ ครานี้ใช้ชีวิตจนลืมกระทั่งตัวตนไปแล้ว” (แดจังกึม/หน้า183)

 

                อีกครั้งที่นิยายเรื่องนี้เน้นถึงคุณธรรมหลัก คือความเพียร และความรักในความรู้ ให้ผู้อ่านได้จดจำ มีไหมที่นักศึกษาคนใด นักการศึกษาคนใด ตั้งใจศึกษาด้วยความวิริยะอุตสาหะถึงเพียงนี้ คำว่า “ซุกร่างในกองตำรา” คำนี้ช่างน่ารักน่าหลงใหล น่าเอาเป็นแบบอย่างนัก
“การได้รักผู้คน การได้รับกำลังใจจากความรักที่มอบให้วันเวลาเหล่านั้นได้ผ่านเลยไป ราวเมฆหมอกล่องลอยในฝันชั่วข้ามคืน” (แดจังกึม/หน้า184)

 

                แม้จะรักหลงใหลในความรู้เพียงใด แต่ความเป็นปุถุชนคนธรรมดา ทำให้จังกึมยังคงครุ่นคิดถึงความรัก คนรักเหมือนผู้อื่น ข้อใดคือความแตกต่างระหว่างผู้ประสบความสำเร็จ และผู้ที่ไม่ประสบความสำเร็จ ข้อแตกต่างคือ ผู้ประสบความสำเร็จ มักตัดความรู้สึกเหล่านั้นได้ทันท่วงที มิใช่หลงใหลได้ปลื้มจนเสียงานหลัก
“ฤดูหนาวก็ผ่านไป พื้นดินปกคลุมด้วยหิมะขาวโพลนเวลานั้นเริ่มถูกแสงแดดอันอบอุ่นของฤดูใบไม้ผลิสาดส่องลงทั่ว” (แดจังกึม/หน้า184)

 

                ถ้อยคำเรียบง่ายที่เห็นนี้ สร้างภาพในจินตนาการได้อย่างชัดเจน แม้ในจิตของผู้ที่ไม่เคยเห็นหิมะ แต่อ่านข้อความแล้วสามารถสัมผัสได้ในความรู้สึก นึกถึงคำกวีของนักเขียนร่วมสมัยชื่อดังท่านหนึ่ง (ขออัยจำชื่อไม่ได้) เขียนไว้ว่า "หิมะขาวราวคลีสำลีคลุม" ไพเราะนัก
หมายเลขบันทึก: 373648เขียนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2010 20:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 00:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

สวัสดีค่ะ

    ขอบคุณมากนะคะ อ่านแล้ว ก็จะพยายามปฏิบัติ ให้ได้ค่ะ

สวัสดี ครับ

ชอบคำคมคำนี้ มาก ครับ

การส่งเสริมความดีของผู้อื่น ย่อมเท่ากับสร้างเสริมความดีให้แก่ตน”

ทำให้มองเห็นอะไรมากมายนักในชีวิต

...

ขอบพระคุณมาก ครับ

เรียนท่านอาจารย์โสภณ

  • คุณยายมารายงานตัวรอบดึกค่ะ วันนี้ไม่ง่วงเลยเพราะนอนกลางวัน อิอิ จะมาชวนอาจารย์ดูบอลด้วยนะคะ คาดว่าจะดูโดยไม่หลับ เพราะนอนอิ่มแล้ว
  • ขอบคุณมากมายสำหรับคำคมที่กินใจอ่านแล้วได้อรรถรสดีมากค่ะ

ร่มโพธิ์ทองร่มเงาต้นนี้ ....

ยืนหยัดยืนหยัดต้านแรงลมฝนทนต่อโลกแร้นแค้นมาได้ เพราะรากแก้วที่หยั่งลึกลงดินสู่น้ำดินจากธรรมชาติ เมื่อรากหยั่งลึกลงสู่น้ำดิน หมายถึงการดำดิ่งสู่จิตที่เป็นธรรมชาติ จิตที่เป็นธรรมะ ธรรมมะ คือธรรมชาติ นี้คือสัจจะ นี้คือความจริง การหยั่งลึกลงสู่ผืนแผ่นดินดีแล้ว ต่อให้ไม้ใหญ่ขาดน้ำหล่อเลี้ยงนานนับสิบปี หรือเกิดความแห้งแล้งภัยพิบัติจากโลกวัตถุดิบจากภายนอก ต้นโพธิ์ทองต้นนี้ยังคงทนอยู่ได้ เพราะรากแก้วได้หยั่งลึกลงสู่ผืนดิน หยั่งลึกลงสู่น้ำในดิน อันเป็น น้ำ ที่หล่อเลี้ยงจิตใจให้ดีงาม ให้คงอยู่ ให้รู้สึกนึกรักแผ่นดิน ให้รู้จักรากของแผ่นดิน ด้วยน้ำ ธรรมะ ธรรมชาติ ที่เกิดดจากสัจจะจากความพอเพียง....

(ขอสวัสดีครับอาจารย์โสภณ เป็นความรู้สึกหนึ่งที่เกิดขึ้นในใจ กระผมขอฝากเรื่องความเป็นรากแก้วที่ทรงคุณค่าอย่างสูงยิ่ง เพราะท่านได้ช่วยให้เกิดปัญญา ด้วยการให้ความรู้ สู่ใจธรรมะ ขอฝากคาราวะว่า ท่านคือรากแก้วหนึ่งของต้นไม้ใหญ่ต้นนี้ขอรับ)

เรียนคุณกานดา

พระสรรเสริญว่า ปฏิบัติบูชาเหนือกว่าอามิสบูชา

ข้อเขียนของคุณจึงเป็นข้อเขียนของบัณฑิต

เป็นการสั่งสมบุญ สาธุ

เรียนคุณยาย

มองหาคุณยายอยู่ครับ

สำหรับคำคมที่งดงามนั้น ยกให้เป้นความดีของ หนังสือเรื่องนี้ครับ

ซาบซึ้งครับ

คืนวันนี้ คงต้องนอนเตรียมตัวเหมือนคุณยายว่าครับบบบบ

เรียนคุณเนิ่ม

ดูจากภาษาหนังสือที่คุณเขียนมา สละสลวยเหมือนเล่นดนตรี มีแววว่าจะเป็นนักเขียนดังในอนาคตครับ

ขอทำตัวเป็นปลา เอ๊ะไม่ใช่ปลาซิ หมึกพอล ทำนายดังว่าครับ

คุณแสงแห่งความดี

เพียงแต่ชื่อก็เยี่ยมแล้วครับ

คำคมที่ยกมาถือว่า เป็นการเลือกได้ดีเยี่ยม ถูกต้อง ที่ปัจจุบันอาจหาได้ยากครับ

สวัสดีค่ะ คำคมอ่านแล้วชอบมากค่ะน่าติดตามในตอนต่อไปมาก

กล่าวกันว่า ทุกคนชอบความดีงามเหมือนกัน

บางคนชอบมาก บางคนชอบน้อย

ขึ้นอยู่กับความดีในตัว ของแต่ละคน

ทีแรกนึกว่า เป็นนักศึกษาที่สอนอยู่ที่นี่ครับ

  • ขออ่านข้อคิด ชีวิตรัก แดจังกึมต่อ ค่ะ
  • ชอบ(แดจังกึม/หน้า159เล่ม3) ที่กล่าวถึงอารมณ์ที่คนเรายึด มักบังเกิดสู่ชะตาชีวิต ตามอารมณ์นั้นๆ

เรียนคุณอุ้มบุญครับ

อ่านเรื่องนี้แล้ว เข้าใจคำว่า "ชีวิตคือการต่อสู้" ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท